บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

การวัดขนาดเกลียวของสกรู

LINEで送る

การวัดขนาดเกลียวของสกรู

579a20fa7f

ส่วนประกอบที่สำคัญของเกลียวที่เราควรรู้จักคือ “Pitch” (พิทช์)
พิทช์ คือระยะห่างระหว่างเกลียว หรือระยะห่างระหว่างยอดฟันเกลียวสองยอดที่อยู่ติดกันนั่นเอง

เราสามารถวัดขนาดเกลียวของสกรูโดยใช้ 2 ระบบ

1. ระบบเมตริก (Metric) หรือ “เกลียวมิล” วัดจากระยะห่างระหว่างเกลียว (pitch) โดยใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร ระบบนี้เป็นระบบที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งเราสามารถเอาไม้บรรทัดมาวัดระยะห่างของเกลียว และอ่านค่าได้ทันทีเลยค่ะ ว่าสกรูตัวนี้มีระยะห่างของเกลียวกี่มิล

2. ระบบอเมริกัน (Inches) หรือ “เกลียวหุน” จะวัดจากการนับจำนวนเกลียวได้กี่เกลียวในระยะหนึ่งนิ้ว การวัดเกลียวแบบนี้มักจะเป็นปัญหากับผู้ที่ไม่คุ้นเคย เราสามารถเทียบขนาดจากนิ้วเป็นหุนได้ดังนี้ค่ะ
1/8″ = 1 หุน
3/16″ = หุนครึ่ง
1/4″ = 2 หุน
5/16″ = 2 หุนครึ่ง
3/8″ = 3 หุน
7/16″ = 3 หุนครึ่ง
1/2″ = 4 หุน
9/16″ = 4 หุนครึ่ง
5/8″ = 5 หุน
11/16″ = 5 หุนครึ่ง
3/4″ = 6 หุน
13/16″ = 6 หุนครึ่ง
7/8″ = 7 หุน
15/16″ =7 หุนครึ่ง
1” = 8 หุน

โดยระยะพิทช์ของระบบเกลียวมิล และหุนนั้นไม่เท่ากัน การที่พิทช์ไม่ท่ากันนั้น ทำให้เกลียวไม่สามารถขันไปตามร่องเกลียวได้ จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องรู้ว่าสกรูที่เราจะใช้นั้นเป็นระบบมิล หรือหุน การที่เราจะรู้ว่าเกลียวของเรานั้นเป็นระบบไหน วิธีทีที่ดีที่สุดก็คือการใช้หัวน็อตที่เราทราบระบบของเกลียว และมีขนาดเดียวกับเกลียวของเรามาขันกันดู ถ้าขันกันเข้าก็แปลว่าเป็นเกลียวระบบเดียวกันกับหัวน็อตตัวนั้น แต่ถ้าขันไปแล้วติดก็แปลว่าเป็นคนละระบบกัน แต่ถ้าไม่มีหัวน็อตให้ลอง อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในการวัดพิทช์ของเกลียวก็คือ หวีเกลียว (Pitch Gauge)

e99ed219d5 Acme Screw Pitch Gage2

หากหวีเกลียวเบอร์ไหนทาบลงบนเกลียวแล้วแนบสนิทพอดี ก็ถือว่าเกลียวนั้นมีระยะเกลียวตามที่ระบุไว้บนหวีเกลียวนั่นเอง โดยหวีเกลียวนั้นจะแบ่งออกเป็นหวีเกลียวสำหรับมิล และหุน ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากว่า เกลียวที่ทาบลงไปนั้นเป็นเกลียวระบบไหน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อหวีวัดเกลียวแบบต่างๆ คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

Related articles