บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

คู่มือการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV)อย่างปลอดภัย

Battery Electric Vehicle: BEV (รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่) คือรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ทำงานโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวและชาร์จจากแหล่งภายนอก ช่วงแรงดันไฟฟ้าที่ BEV ใช้งานนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การใช้แรงดันไฟฟ้าที่สูงอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน หากไม่มีการตรวจเช็ครถยนต์ไฟฟ้าของคุณให้ใช้งานได้อย่างปกติ เพราะฉะนั้นบทความนี้เราจะพูดถึงขั้นตอนการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย   การปิดระบบ HV (High Voltage) ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ก่อนดำเนินการทดสอบและวัดค่าไฟฟ้า ต้องปิดระบบ High Voltage ของรถโดยถอดปลั๊กหรือสวิตช์ออกจากระบบแบตเตอรี่ก่อนดำเนินการทดสอบหรือตรวจวัด เพื่อความปลอดภัย และอย่าลืมตรวจสอบ DTC (Digital Trouble Codes) เพื่อดูข้อผิดพลาดของเครื่องยนต์  * การถอดชิ้นส่วนไฟฟ้าแรงสูงเป็นงานที่เป็นอันตราย ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่กฎหมายกำหนดพร้อมการฝึกอบรมการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ สำหรับรายละเอียดโปรดปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย     การวัดอุณหภูมิของแบตเตอรี่ HV เพื่อความปลอดภัยในการวัดอุณหภูมิพื้นผิวของแบตเตอรี่ HV เราควรเลือกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส  ในการตรวจสอบนี้ให้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง  เครื่องมือที่ใช้: เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด FT3701 โดย FT3701 เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดที่มีเลเซอร์มาร์คเกอร์สองจุดที่วัดอุณหภูมิพื้นผิวโดยเฉลี่ยภายในวงกลมที่เกิดจากจุดสองจุด        …

Data Logger สำหรับ 4-20 mA

สัญญาณ 4-20mA คืออะไร สัญญาณ 4-20mA (4-20mA analog signal) คือสัญญาณไฟฟ้าแบบอนาล็อกชนิดหนึ่งที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานสำหรับ รับ-ส่งสัญญาณของเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมจำพวก Sensor ต่างๆ โดยหลักการทำงานจะมีดังนี้ หากวัดค่าที่ 0 % เครื่องมือวัดจะส่งสัญญาณออกไป 4 mA หากวัดค่าที่ 25 % เครื่องมือวัดจะส่งสัญญาณออกไป 8 mA หากวัดค่าที่ 50 % เครื่องมือวัดจะส่งสัญญาณออกไป 12 mA หากวัดค่าที่ 75 % เครื่องมือวัดจะส่งสัญญาณออกไป 16 mA และหากวัดค่าที่ 100 % เครื่องมือวัดจะส่งสัญญาณออกไป 20 mA ตามตารางดังต่อไปนี้ โดยปกติแล้วอุปกรณ์ Sensor แบบ Analog ชนิดต่างๆจะมีการจ่ายสัญญาณมาตรฐานมา 2 แบบคือ สัญญาณกระแสไฟฟ้ามาตรฐาน หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ 4-20mA…

โซล่าเซลล์คืออะไร (Solar Cell)

“โซล่าเซลล์” (Solar Cell) เป็นอุปกรณ์หรือแผงที่ใช้ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โซล่าเซลล์ทำงานโดยอาศัยปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (Photovoltaic Effect) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบบนผิวของโซล่าเซลล์ จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในอุปกรณ์นี้โดยไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือชาร์จแบตเตอรี่ได้ หรือใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในการประหยัดพลังงาน. โซล่าเซลล์มักถูกใช้ในการสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ซึ่งเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยังช่วยลดการใช้งานพลังงานจากแหล่งพลังงานอื่นๆ ที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมันหรือถ่านหิน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาของบ้านหรืออาคารและใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่แผงโซล่าเซลล์เก็บไว้ในการสร้างไฟฟ้าเป็นต้น โซล่าเซลล์ก็เป็นส่วนสำคัญของอุปกรณ์ในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power System) หรือที่รู้จักในนาม “ระบบโซลาร์” (Solar System) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนและพลังงานสะอาดในการผลิตไฟฟ้าให้กับบ้านหรือธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก.   ระบบโซลาร์ที่พบบ่อยมักมีส่วนประกอบพื้นฐานต่อไปนี้:  1. แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panels): แผงโซล่าเซลล์คืออุปกรณ์ที่ใช้แปลงแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า มักถูกติดตั้งบนหลังคาของบ้านหรืออาคาร แผงโซล่าเซลล์ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีความสามารถในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นไฟฟ้า. แผงโซล่าเซลล์มีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์และวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นในประเทศไทยมีดังนี้            1.1 แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Cells): มีประสิทธิภาพสูง แต่ราคาสูงกว่า มักมีลักษณะเป็นสีดำและมีการตัดเป็นลูกสูบ.…

อุปกรณ์ที่ใช้ใน Data Center

Data Center คืออะไร Data Center คือสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเซิร์ฟเวอร์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Web Hosting จนถึงระดับ Super Computer สำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการใช้ข้อมูลจำนวนมากๆ และต้องมีความเสถียรอยู่เสมอ ดังนั้น Data Center ที่ดีควรมีการตรวจสอบค่าทางไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดการ Shutdown อุปกรณ์สำหรับตรวจสอบค่าทางไฟฟ้าใช้ใน Data Center   อุปกรณ์ไฟฟ้าและหม้อแปลงกำลัง • แผงควบคุมกำลัง • สวิตช์บอร์ด PD3259 PD3129 เป็นเครื่องวัดลำดับเฟสของไฟฟ้า 3 เฟส แต่หากเป็นรุ่น PD3259 จะสามารถจัดค่าแรงดันไฟฟ้าได้ด้วย IR405Xs เป็นเครื่องทดสอบความเป็นฉนวนของระบบไฟฟ้าโดยมีหน่อยเป็นเมกะโอห์ม (MΩ)   DT42XXs เป็นเครื่องวัดค่าแรงดันไฟฟ้าต่างๆ CM437Xs CM414Xs เป็นเครื่องวัดค่ากระแสไฟฟ้า CM400X เป็นเครื่องวัดค่ากระแสไฟฟ้ารั่วไหล ที่มีค่าน้อยมากๆระดับมิลลิแอมป์ PQ3100 PQ3198 เป็นเครื่องเก็บค่าพลังงานไฟฟ้า และสามารถวิเคราะห์คุณภาพของไฟฟ้าได้ด้วย PW3360 PW3365 เป็นเครื่องเก็บค่าและบันทึกพลังงานไฟฟ้า…

การทดสอบ DC HiPot

เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดการใช้งาน Lithium-ion batteries เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ผู้ผลิต Lithium-ion batteries จึงต้องทดสอบความเป็นฉนวนของ Battery เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ฺBattery ผลิตออกมานั้นมีค่าความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน   การทดสอบ DC HiPot คือการปล่อยแรงดันไฟฟ้าสูงให้กับผลิตภัณฑ์ และตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วที่เกิดขึ้น แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบ HiPot นั้นอาจสูงกว่าแรงดันไฟฟ้าของผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบได้ถึง 10 เท่า(แล้วแต่มาตราฐาน) การปล่อยแรงดันไฟฟ้าจะถูกปล่อยระหว่างอินพุตหลักกับแชสซี (โครงของตัวเครื่องด้านนอก) ของผลิตภัณฑ์  แรงดันไฟฟ้าและเวลาในการทดสอบนั้นขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ และมาตราฐานของผลิตภัณฑ์นั้นๆเป็นตัวกำหนด   คุณภาพของแบตเตอรี่ที่ดีควรได้รับการทดสอบตามมาตรฐานสากล – HIOKI DC Hipot Tester ST5680 DC Hipot รุ่น ST5680 มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานสากล มีประสิทธิภาพตรงตามการทดสอบ DC Hipot และการทดสอบความต้านทานของฉนวนที่หลากหลายในการผลิตแบตเตอรี่คุณภาพสูง ปลอดภัยและเชื่อถือได้   ตรวจสอบประสิทธิภาพของฉนวนด้วยรูปคลื่นและค่าต่างๆ (ฟังก์ชันแสดงรูปคลื่น) ST5680 เป็นเครื่องทดสอบ DC Hipot…

ถ่านชาร์จช่วยลดต้นทุนและ การปล่อย CO2 ได้อย่างไร

อุปกรณ์ HIOKI ช่วยให้สามารถใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบตเตอรี่อัลคาไลน์ เพื่อ “ลดต้นทุน” และ “ลดการปล่อย CO2” HIOKI ขอเสนอการใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ (แบตเตอรี่ NiMH : แบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์, แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้) ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบตเตอรี่อัลคาไลน์ HIOKI ได้ตรวจสอบแล้วว่าสามารถใช้แบตเตอรี่ NiMH ได้อย่างปลอดภัย HIOKI จะช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าและตระหนักถึงสังคมที่ยั่งยืน   การลดค่าใช้จ่าย เครื่อง BT3554-50 สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 24,000 บาทต่อปี เพียงแค่เปลี่ยนจากแบตเตอรี่อัลคาไลน์เป็นแบตเตอรี่ NiMH ราคาเริ่มต้นของแบตเตอรี่ NiMH สูงกว่าแบตเตอรี่อัลคาไลน์ประมาณ 140 บาทต่อก้อน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ใช้งานหลายครั้งต่อวันหรือเป็นเวลาหลายปี การเปลี่ยนจากแบตเตอรี่อัลคาไลน์เป็นแบตเตอรี่ NiMH สามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนเครื่องทดสอบแบตเตอรี่ BT3554-50 จากแบตเตอรี่อัลคาไลน์เป็นแบตเตอรี่ NiMH สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของลูกค้าได้ประมาณ 20,000 บาทต่อปี โดยค่าใช้จ่ายในหนึ่งปีคำนวณจากสมมติฐานว่าแบตเตอรี่ NiMH จะถูกใช้งานเป็นเวลาสามปี ค่าใช้จ่ายคำนวณที่ 20 บาทต่อก้อนสำหรับแบตเตอรี่อัลคาไลน์…

ความต้านทานภายในแบตเตอรี่คือ

ความต้านทานภายใน (Internal Resistance of Battery) หรือ เรียกสั้นๆว่า IR เป็นหนึ่งในพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงความสามารถของแบตเตอรี่ในการรับกระแสไฟฟ้า เมื่อค่าความต้านทานภายในต่ำ แบตเตอรี่จะสามารถรับกระแสไฟได้มาก ในทางกลับกัน แบตเตอรี่ที่มีความต้านทานภายในสูงจะจ่ายกระแสไฟได้น้อยลง ภาพแสดงตัวอย่างวงจรภายในของแบตเตอรี่ แรงดันแบตเตอรี่ถูกกำหนดโดยความต้านทานภายในและกระแสไฟขาออก เช่น สมมติว่าเรามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่เท่ากับ E0 = 10 V ความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ RDC คือ 1 Ω และโหลด R คือ 9 Ω หากความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ RDC คือ 1 Ω และโหลด R คือ 9 Ω แสดงว่าแรงดันแบตเตอรี่คือ 9 V ตามหลักการแล้ว ความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ควรเป็นศูนย์ แต่ในความเป็นจริงแล้วแบตเตอรี่จะมีความต้านทานภายในอยู่เสมอ ความต้านทานภายในยิ่งสูง การสูญเสียพลังงานก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ “ความร้อน” จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสูญเสียพลังงาน และความร้อนนี้ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพด้วยเช่นกัน   การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิตแบตเตอรี่…

ทำไมค่าไฟฟ้าแพง

อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย คิดยังไง? บิลค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป การไฟฟ้าจะแบ่งใช้งานเป็นประเภทที่ 1 และจะมีการแยกย่อยออกไปอีกตามรายละเอียดการใช้งานและประเภทของมิเตอร์ดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1.1 อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน 15 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมงแรก) (หน่วยที่ 1 – 15) หน่วยละ  2.3488 บาท 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25) หน่วยละ 2.9882 บาท 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35) หน่วยละ 3.2405 บาท 65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100) หน่วยละ 3.6237 บาท 50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101…

คำนำหน้าหน่วยSI

ในมาตรฐานการวัดหน่วยต่างๆเราจะใช้คำนำหน้าหรือคำอุปสรรค (Prefix) เป็นการบอกถึงขนาดของหน่วยนั้นๆ ซึ่งตามาตรฐานการวัดแห่งชาติหรือ International System of Units (ระบบ SI) จะมีคำหน้าหน้าดังนี้   Factor Name Symbol 1,000,000,000,000,000,000,000,000 ยอตตะ yotta Y 1,000,000,000,000,000,000,000 เซตตะ zetta Z 1,000,000,000,000,000,000 เอกซะ exa E 1,000,000,000,000,000 เพตะ peta P 1,000,000,000,000 เทระ tera T 1,000,000,000 จิกะ giga G 1,000,000 เมกะ mega M 1,000 กิโล kilo k 100 เฮกโต hecto h 10 เดคา deca da…

Power Factor คืออะไร

ค่า Power Factor (PF) หรือที่เรียกกันว่าค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า คือค่าอัตราส่วนของกำลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานจริงหรือ Active Power (P) ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt : W) หารด้วยค่ากำลังงานที่ปรากฏ หรือ Apparent Power (A) ซึ่งมีหน่วยเป็นวีเอหรือโวลท์-แอมป์ (VA) ส่วนค่า Power Factor จะไม่มีหน่วย และจะมีค่าอยู่ในช่วง 0.01 – 1.00 โดยเขียมสมการณ์ได้ดังนี้   หากเปรียบเทียบค่ากำลังไฟฟ้า กับเเก้วเบียร์ 1 ใบ จากรูป ส่วนที่ 1 เเก้วเต็มใบ ที่มีทั้งเนื้อเบียร์เเละฟองเบียร์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ Apparent Power (A) หรือ กำลังไฟฟ้าที่ปรากฎ  (Input) มีหน่วยเป็น VA หรือ volt-amps ส่วนที่ 2 เนื้อเบียร์  จะเปรียบเทียบได้กับ Active…