วิธีการวัดค่าความต้านทานดินด้วย เครื่องวัดความต้านทานดิน Earth Resistance Tester
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ Earth Resistance ความต้านทานดิน
◼ ประโยชน์ของการติดตั้งสายความต้านทานดินลงสู่พื้นดิน ( สายกราวด์ )
◼ การติดตั้งสายความต้านทานดิน ( สายกราวน์ )
◼ การวัดค่าความต้านทานดิน มี 2 วิธีดีงนี้
◼ Clamp on Earth Tester FT6381
◼ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Earth Resistance ความต้านทานดิน
การต่อความต้านทานลงดินของระบบไฟฟ้า เป็นข้อกำหนดทางวิศวกรรมไฟฟ้า มีความสำคัญคือ เพื่อป้องกันความเสียหายของระบบไฟฟ้าที่อาจจะเกิดจากฟ้าผ่า หรือไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้งาน เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น จึงจำเป็นจะต้องต่อสายความต้านทานดิน
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด จำเป็นจะต้องใช้เเรงดันเเละกระเเส เพื่อกระตุ้นการทำงานของเครื่องใช้นั้นๆ เมื่อไฟฟ้าเกิดการรั่วไหลจากอุปกรณ์ หรือเกิดการลัดวงจร กระเเสไฟฟ้าที่รั่วไหลจะวิ่งลงความต้านทานที่ต่ำที่สุด ซึ่งร่างกายคนเราจะมีความต้านทานภายในตัวต่ำมาก หากไม่ติดตั้งสายลงดิน กระเเสก็จะวิ่งลงสู่ร่างกายทำให้เกิดอัตรายจากไฟฟ้าช๊อตได้ หรือกระเเสรั่วไหลเหล่านั้นไหลลงสู่อุปกรณ์เครื่องใช้ ทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้
ประโยชน์ของการติดตั้งสายความต้านทานดินลงสู่พื้นดิน ( สายกราวด์ )
- ป้องกันไฟฟ้ารั่วไหลลงสู่ร่างกายมนุษย์ เช่น ไฟดูด ไฟช๊อต
- ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดลงจร
- ป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า
ตัวอย่างเช่น หากไม่มีการต่อสายกราวด์ หรือสายกราวด์เสียหาย ในขณะที่ไฟฟ้าลัดวงจร เเละร่างกายมนุษย์สัมผัสเข้ากับเครื่อง กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านร่างกายก่อนที่จะไหลลงพื้นดิน หากมีการต่อสายกราวด์ ในขณะที่ไฟฟ้าลัดวงจร เเละร่างกายมนุษย์สัมผัสเข้ากับเครื่อง กระแสไฟฟ้าก็จะไม่วิ่งผ่านร่างกาย เเต่จะวิ่งผ่านสายกราวด์ลงสู่ดินเเทน
การติดตั้งสายความต้านทานดิน ( สายกราวน์ )
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ที่พบเห็นพบเห็นได้ทั่วไป คือ
1. การต่อความต้านทานลงดินของระบบไฟฟ้า คือ การต่อจุดนิวทรัล ( Neutral Point ) จุดใดจุดหนึ่งของระบบไฟฟ้าลงสู่ดิน เช่น การต่อจากตู้เบรคเกอร์ หรือเสา
2. การต่อความต้านทานดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือ การต่อส่วนที่เป็นโลหะ หรือตัวถังของอุปกรณ์ ที่ไม่มีกระเเสไฟฟ้าไหลผ่านลงสู่ดิน เช่น ต่อจากตัวถังของเครื่องจักร์,เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น
การวัดค่าความต้านทานดิน มี 2 วิธีดีงนี้
- การปักเเท่งเหล็กลงบนพื้นดิน
การวัดค่าความต้านทานดินเเบบปักเเม่เหล็กลงบนพื้นดิน เป็นการวัดที่ได้ค่าความต้านทานที่เเม่นยำ เเต่ขั้นตอนการวัดค่อนข้างยุ่งยาก
จำลองการวัดด้วย Earth Tester รุ่น FT6031
วิธีการวัดค่าความต้านทานดิน เเบบปักแท่งเหล็กลงบนพื้นดิน
1. หนีบสายสีดำไปยังกราวน์ของอุปกรณ์
2. ปักเเท่งเหล็ก 2 ชิ้นลงบนพื้นดิน โดยเเท่งที่ 1 ห่างจากเเท่งกราวน์ของอุปกรณ์ 5-10 เมตร เเละปักเเท่งเหล็กชิ้นที่ 2 ให้ห่างกับเหล็กเเท่งเเรก 5- 10 เมตร
3. หนีบปากคีบเส้นสีเหลืองเข้ากับเเท่งเหล็กอันที่ 1
4. หนีบปากคีบเส้นสีเเดงเข้ากับเเท่งเหล็กอันที่ 2
5. อ่านค่าตามหน้าจอเเสดงผล
2. การคล้องสายกราวด์
การวัดความต้านทานดินเเบบ การคล้องสายกราวน์ เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดเวลาในการวัด รวมไปถึงง่ายต่อการพกพา
จำลองการวัดด้วย Earth Tester รุ่น FT6031
วิธีการวัดค่าความต้านทานดิน เเบบคล้องสาย
- สามารถคล้องบนสายกราวน์เส้นไหนของระบบก็ได้ ซึ่งเเนะนำให้คล้องสายไกล้กับเเท่งกราวน์ที่ปักลงพื้นดิน
จากรูปเป็นการจำลองความต้านทานดินเป็นสัญลักษณ์ของ Register การต่อกันของสายความต้านทานดินหลายๆเส้น เป็นการต่อเเบบขนาน ( Parallel ) หากสายความต้านทานที่ต่อลงดินมีจำนวนมาก ค่าความต้านทานที่ออกมาจะมีค่าน้อย ซึ่งค่าความต้านทานน้อย กระเเสไฟฟ้าจะไหลผ่านได้ดี
Clamp on Earth Tester FT6381
เครื่องวัดความต้านทานดิน
คุณสมบัติพิเศษ ของเครื่องวัดค่าความต้านทานดิน Clamp on Earth FT6381
- วัดความต้านทานดิน Earth resistance
- วัดไฟฟ้ารั่ว Leak Current
- วัดกระเเสไฟฟ้า Measurement Load Current
- เก็บดูข้อมูลผ่านมือถือ Data transfer to Android
- ดูข้อมูลตามเวลาจริงผ่านมือถือ Real Time data transfer
การวัดค่าความต้านทานดินเเบบปักเเม่เหล็กลงบนพื้นดิน เป็นการวัดที่ได้ค่าความต้านทานที่เเม่นยำ เเต่ขั้นตอนการวัดค่อนข้างยุ่งยาก ส่วนใหญ่จะใช้กับงาน Maintenance หรือ ใช้ตรวจสอบก่อนการติดตั้งสายความต้านทาน เช่น ใช้วัดความต้านทานของเสาไฟฟ้า ส่วนการวัดความต้านทานดินเเบบ การคล้องสายกราวด์ เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดเวลาในการวัด รวมไปถึงง่ายต่อการพกพา ส่วนใหญ่จะใช้กับงานตรวจเช็คสภาพความต้านทานเบื้องต้น เเละใช้ในกาารติดตั้งสายความต้านทานในระบบ เช่น ติดตั้งสายความต้านทานของระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งการวัดค่าความต้านทานดินทั้ง 2 วิธีสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเหมือนกัน ทั้งนี้การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะงานเเละความถนัดของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน
Related Product(s)