บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

รังสีแกมมา

LINEで送る

รังสีแกมมา

เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นที่สุดในสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมีย่านความ ยาวคลื่นประมาณ 0.1nm ถึงน้อยกว่า 10-5 nm ในความเป็นจริงช่วงความยาวคลื่นของรังสีแกมมาส่วนหนึ่งคาบเกี่ยวกับรังสีเอกซ์ ดังนั้น ช่วงความยาวคลื่นที่คาบเกี่ยวกันจะจัดเป็นรังสีชนิดใดย่อมขึ้นกับแหล่งกำเนิดของรังสีดังกล่าว

รังสีแกมมาเป็นกัมมันตภาพรังสี (radioactivity) ที่เกิดจากสภาวะความไม่เสถียรภายในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุที่เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี (radioisotope elements) เบคเคอร์เรล (Antonine

Henri Becquerel, 1852-1908) เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ค้นพบกัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุยูเรเนียม ซึ่งมีรังสีทั้งที่เป็นอนุภาค (รังสีอแอลฟา, รังสีบีตา) และรังสีที่เหมือนกับรังสีเอกซ์ ซึ่งต่อมาเรียกรังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงนี้ว่า รังสีแกมมา (gamma rays)

ปัจจุบัน รังสีแกมมาที่ได้จากไอโซโทปกัมมันตรังสีนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในวงการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม ในทางการแพทย์ใช้รังสีแกมมาทำลายเซลล์มะเร็ง ใช้วินิจฉัยโรคในร่างกาย หรือติดตามการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ใช้สารไอโซโทปของธาตุไอโอดินศึกษาการทำงานของต่อมไทรอยด์ ในทางอุตสาหกรรมเกษตรใช้รังสีแกมมาอาบผลผลิตทางการเกษตร เช่นผลไม้ ให้ปราศจากแมลง และเก็บไว้ได้นาน ก่อนบรรจุส่งออกจำหน่าย ด้วยเหตุที่รังสีแกมมามีพลังงานสูงสามารถทะลุทะลวงวัสดุหนาๆได้จึงใช้รังสีชนิดนี้วิเคราะห์โครงสร้างภายในเช่นเดียวกันกับรังสีเอกซ์ แต่สะดวกกว่ารังสีเอกซ์ตรงที่เครื่องกำเนิดมีขนาดเล็กกว่าเคลื่อนย้ายได้สะดวก ไม่ต้องมีระบบระบายความร้อนเหมือนเครื่องฉายรังสีเอกซ์

วิทยาการทางดาราศาสตร์ใช้รังสีแกมมาวิเคราะห์ อวกาศ ดวงดาว และแกแลกซี เช่นเดียวกับการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ เพื่อดูว่าแหล่งใดในจักรวาลให้รังสีแกมมาออกมา กล้องโทรทัศน์ที่มีเครื่องตรวจจับรังสีแกมมาติดตั้งครั้งแรกกับดาวเทียม Explorer XI และต่อมาติดตั้งในดาวเทียม CGRO ทำให้การศึกษาโครงสร้างดาว และแกแลกซีได้รายละเอียดมากขึ้น เช่น ดูภาพของดวงอาทิตย์ หลุมดำ หรือดาวนิวตรอนได้ลึกขึ้นซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่น
    รังสีแกมมาเป็นรังสีอันตราย การนำรังสีชนิดมาใช้งานต้องระมัดระวังเป็นอันมาก โดยเฉพาะการใช้รังสีแกมมาและการเก็บแหล่งกำเนิดรังสีชนิดนี้ต้องอยู่ในการควบคุมของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด วัสดุที่ใช้กั้นรังสีชนิดนี้เป็นแผ่นตะกั่วหนา หรือกำแพงคอนกรีต ส่วนจะเป็นวัสดุชนิดใดหรือหนาเท่าไรขึ้นกับการออกแบบเพื่อใช้งาน เช่น ถ้าใช้สำหรับวิเคราะห์ หรือเครื่องมือตรวจจับภาคสนามจะบรรจุไอโซโทปที่ให้รังสีแกมมาในกล่องบุด้วยตะกั่วหนาที่มีหน้าต่างปิดเปิดอย่างมิดชิด ส่วนในโรงงานฉายรังสีนิยมเก็บแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาที่ให้ความแรงรังสีสูงไว้ในห้องใต้ดินที่มีระบบป้องกันรังสีเป็นอย่างดี แล้วมีระบบกลไกอัตโนมัติผลักให้แหล่งกำเนิดรังสีดังกล่าวขึ้นมาในห้องฉายรังสีเมื่อต้องการใช้งาน

สามาวัดค่าได้จากเครื่องวัดรังสี สารกัมมันตรังสี Radiation Monitor รุ่น TM-91
ตอบสนองไว ตรวจจับความเข้มข้น รังสีเบตา (Beta) และรังสีแกมมา (Gamma)
ฟังก์ชั่นตั้ง Alarm พร้อมเสียงเตือน


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลิ๊ก

● เลือกซื้อเครื่องวัดรังสีและสารกัมมันตรังสี คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

Related articles

  • O2 Meter เครื่องวัดออกซิเจนในอากาศ สำคัญอย่างไรO2 Meter เครื่องวัดออกซิเจนในอากาศ สำคัญอย่างไร (0)
    เครื่องวัดออกซิเจนในอากาศ คือเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้วัดปริมาณออกซิเจนในอากาศ ว่ามีปริมาณอยู่มากน้อยกว่าเพียงได  […] Posted in เครื่องตรวจจับก๊าซ
  • หลักการทำงานของโพรบ Positector UTG M และ UTG Cหลักการทำงานของโพรบ Positector UTG M และ UTG C (0)
    หลักการทำงานของโพรบ Positector UTG M และ UTG C PosiTector UTG C probes มีตัวแปลงสัญญาณแบบ dual element พร้อมด้วยค่าชดเชย V-Path โดยอัตโนมัติ ความหนาจะถูกกำหนดโดยการวัด t1 (ไม่เคลือบผิว) หรือ t2 (เคลือบ) หารด้วยสองส่วนแล้วคูณด้วยความเร็วของเสียงสำหรับวัสดุนั้น (เหล็ก) ดูรูปที่ […] Posted in เครื่องวัดความหนา, News and Event
  • เราวัดความเข้มแสงอาทิตย์อย่างไรเราวัดความเข้มแสงอาทิตย์อย่างไร (0)
    เราวัดความเข้มแสงอาทิตย์อย่างไร พลังงานจากดวงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ ความสําคัญของดวงอาทิตย์ ไม่ เพียงแต่เป็ นศูนย์กลางของระบบสุริ ยจักรวาล ดวงอาทิตย์ยังเป็ นแหล่งพลังงานสําคัญของโลก พลังงานนีเป็ นต้นกําเนิดของวัฏจักรของสิงมีชีวิต […] Posted in เครื่องวัดแสง
  • เราจะวัดเสียงรบกวนได้ยังไง?เราจะวัดเสียงรบกวนได้ยังไง? (0)
    เราจะวัดเสียงรบกวนได้ยังไง? เป้าหมายหลักของเครื่องวัดระดับเสียงคือการวัดระดับความดันของเสียง โดยทั่วไปจะถูกกำหนดและระบุไว้โดยกฎหมาย อย่างไรก็ตามยังมีเสียงที่มีค่าต่ำกว่าที่กฎหมายระบุอยู่อีกมากมาย แต่มักเป็นเสียงที่ทำให้เกิดความรำคาญ ในหลาย ๆ กรณี […] Posted in เครื่องวัดระดับเสียง, News and Event
  • การประยุกต์ใช้งานเครื่องวิเคราะห์เสียงและไมโครโฟน (NTi XL2)ร่วมกับโปรแกรม LabVIEWการประยุกต์ใช้งานเครื่องวิเคราะห์เสียงและไมโครโฟน (NTi XL2)ร่วมกับโปรแกรม LabVIEW (0)
    เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก! ◼ เครื่องวิเคราะห์เสียงและไมโครโฟน (NTi XL2) ◼ โปรแกรม LabVIEW มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ ◼ Hardware ◼ Software เครื่องวิเคราะห์เสียงและไมโครโฟน (NTi XL2) มีประโยชน์มากมายซึ่งเครื่องวัดเสียง XL2 จาก NTi Audio นั้น […] Posted in เครื่องวัดระดับเสียง
  • UVA และ UVB คืออะไรUVA และ UVB คืออะไร (0)
    UVA และ UVB คืออะไร พลังงานที่ปล่อยมาจากดวงอาทิตย์จะอยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึงเรียกว่า รังสีดวงอาทิตย์ หรือ รังสีแสงอาทิตย์ (Solar Radiation) การกระจายรังสีดวงอาทิตย์ทีตกกระทบเหนือ บรรยากาศของโลก (Extraterrestrial Radiation) เรียกว่า รังสีทีนอกโลก ซึงประกอบด้วย ช่วง คลื่นสั้น […] Posted in เครื่องวัดแสง