บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

การใช้งานและอ่านค่ามัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeter)

LINEで送る

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!

◼ การใช้งานอนาล็อกมัลติมิเตอร์(Analog Multimeter) เบื้องต้น
 มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters)
 การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง
◼ การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ
◼ การวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง


 

การใช้งานอนาล็อกมัลติมิเตอร์(Analog Multimeter) เบื้องต้น

 มัลติมิเตอร์(Multimeter) เกิดจากคำ 2 คำผสมกัน นั่นคือ Multi ซึ่งแปลว่า หลากหลาย มากมาย ส่วน Meter หมายถึง เครื่องวัด เมื่อนำสองคำมารวมกันคือ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ซึ่งสามารถวัดได้หลายค่า เช่น ค่าแรงดัน(Voltage) ค่ากระแส (Current) ค่าความต้านทาน(Resistance) บางรุ่นสามารถวัด frequency,ค่า Diod หรือค่าอื่นๆภายในเครื่องเดียวได้ด้วย

การแสดงผลของมัลติมิเตอร์แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters) กับ มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeters) เพื่อให้เหมาะสมกับการทดลองเรื่องนั้นๆ ซึ่งมัลติมิเตอร์แต่ละเครื่องจะมีรายละเอียดปลีกย่อยและข้อควรระมัดระวังในการใช้งานแตกต่างกันไปในบทความนี้จะกล่าวถึงการใช้งานของ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters)

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters)

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (analog multimeter, AMM) เป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภทรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณต่อไปนี้

ความต่างศักย์กระแสตรง (DC voltage)-  ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage)-  ปริมาณกระแสตรง (DC current)-  ความต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance)         อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์บางแบบสามารถใช้วัดปริมาณอื่น ๆ ได้อีก เช่น กำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (AF output) การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC current amplification, hFE) กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (leakage current, lCEO) ความจุทางไฟฟ้า (capacitance) ฯลฯมัลติมิเตอร์แบบเข็ม มีลักษณะดังภาพข้างล่าง

หมายเลข 1 indicator Zero Conector มีหน้าที่ตั้งค่าเข็มให้อยู่ตำแหน่ง 0 หรือตำแหน่งอื่นๆที่ต้องการ
หมายเลข 2  Indicator Pointer หรือ เข็มชี้บ่ง มีหน้าที่ชี้บ่งปริมาณต่างๆ
หมายเลข 3 Indicator Scale สเกลต่างที่อยู่บนหน้าปัดของมิเตอ
หมายเลข 4 Continuity Indicating LED ( CONTINUITY ) เป็นหลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความต่อเนื่อง
หมายเลข 5 Range Selector Switch knob ลูกบิดปรับเลือกค่าที่ต้องการวัด
หมายเลข 6 0-ohms adjusting knob /0- centering meter ปุ่มปรับตั้งค่าความต้านทานให้อยู่ตำแหน่ง 0 หรือตำแหน่งที่ต้องการ
หมายเลข 7 Measuring Terminal  + เทอร์มินอลไฟบวก
หมายเลข 8 Measuring – COM เทอร์มินอลไฟลบ หรือ common
หมายเลข 9 Series Terminal Capacitor OUTPUT ใช้วัดค่าแรงดันกระแสสลับ
หมายเลข 10 Panel หรือ หน้าปัดมิเตอร์
หมายเลข 11 Rear Case หรือ กรอบมิเตอร์

scale

1.) Resistance ‭(OHMS) scale หรือ สเกลวัดความต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม
2.) สเกลกระแสและแรงดันทั้ง AC และ DC
3.) 0-centerig (NULL) +/- DCV scale
4.) สเกลวัดแรงดัน AC 2.5 volt.
5.) สเกลวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (hFE) มีสีน้ำเงิน
6.) สเกลสำหรับทดสอบแบตเตอร์รี่ 1.5 V 0.25A.
7.) สเกลวัดกระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (LEAK, ICEO, Ll) มีสีน้ำเงิน
8.)  สเกลวัดความต่างศักย์ระหว่างปลายขณะวัดความต้านทาน (LV) มีสีน้ำเงิน
9.) สเกลวัดกำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (dB) มีสีแดง
10.) Continuity Indicating LED ( CONTINUITY ) เป็นหลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความต่อเนื่อง
11.คือกระจกเงาเพื่อทำให้การอ่านค่าบนสเกลที่แสดงด้วยเข็มชี้ของมิเตอร์ถูกต้อง ที่สุด การอ่านค่าที่ถูกต้องคือตำแหน่งที่เข็มชี้ของมิเตอร์จริงกับตำแหน่งเข็มชี้ ของมิเตอร์ในกระจกเงาซ้อนกันพอดี

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง

ปรับมัลติมิเตอร์ให้เป็นโวลท์มิเตอร์ก่อน โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตาแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (DCV) (หมายเลขอ้างอิง 7) ซึ่งมี 7 ช่วงการวัดคือ 0-0.1V, 0-0.5V, 0.2.5V, 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V

หลักการนํามัลติมิเตอร์ SUNWA ไปใช้ในการวัดความต่างศักย์

1.เลือกตําแหน่งที่ต้องการวัดความต่างศักย์ และตรวจสอบทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า
2. เสียบสายวัดมิเตอร์สีดําที่ขั้วลบ(- COM) และสายวัดสีแดงที่ขั้วบวก(+)เข้ากับมัลติมิเตอร์
3. ตั้งช่วงการวัดให้สูงกว่าความต่างศักย์ของบริเวณนั้น โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ ตําแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (DCV)
4. นําสายวัดมิเตอร์ไปต่อขนานหรือต่อคร่อมวงจร โดยใช้หัววัดแตะกับจุดที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าทางขั้วบวก (+) ของมัลติมิเตอร์เสมอ ถ้าวัดสลับขั้วเข็มวัดจะตีกลับต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจากวงจรทันที จากนั้นทําการสลับหัววัดให้ถูกต้อง

5. การอ่านค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ให้อ่านสเกลสีดําที่อยู่ใต้แถบเงิน ซึ่งมีค่าระบุอยู่ใต้สเกล 3 ช่วง คือ 0-10, 0-50 และ 0-250 ค่าที่อ่านได้ต้องสัมพันธ์กับช่วงการวัดที่ตั้งไว้

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่จําเป็นต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางขั้วบวกเหมือนไฟฟ้ากระแสตรง เพราะไฟฟ้ากระแสสลับไม่มีขั้วตายตัว ขั้วแรงดันจะสลับไปสลับมาตลอดเวลา กล่าวคือสามารถต่อโดยให้สายวัดเส้นใดอยู่ข้างใดก็ได้ แต่วิธีวัดค่ายังใช้หลักการเดียวกันกับโวลต์มิเตอร์กระแสตรงก่อนที่จะนํามัลติมิเตอร์ไปวัดค่า ต้องทําการปรับมัลติมิเตอร์ให้เป็นโวลท์มิเตอร์กระแสสลับก่อน

จากนั้นเลือกช่วงการวัดให้เหมาะสม โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตําแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (ACV) (หมายเลขอ้างอิง 10) ซึ่งมี 4 ช่วงการวัดคือ 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V

h3

การวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง

1. เลือกตําแหน่งที่ต้องการวัดกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า
2. เสียบสายวัดมิเตอร์สีดําที่ขั้วลบ (- COM) และสายวัดสีแดงที่ขั้วบวก (+) เข้ากับมัลติมิเตอร์
3. ตั้งช่วงการวัดที่เหมาะสม ในกรณีที่ทราบค่ากระแสในวงจร ควรตั้งช่วงการวัดให้สูงกว่าค่ากระแสที่ทราบ แต่ในกรณีที่ไม่ทราบค่ากระแสในวงจร ควรตั้งช่วงการวัดที่สูงๆ (0-0.25A) ไว้ก่อน แล้วค่อยปรับช่วงการวัดใหม่ ก่อนปรับช่วงการวัดใหม่ต้องเอาสายวัดออกจากวงจรทุกครั้ง และต้องแน่ใจว่าค่าที่จะวัดได้นั้นมีค่าไม่เกินช่วงการวัดที่ปรับตั้งใหม่

4. นําสายวัดมิเตอร์ไปต่อแทรกหรือต่อแบบอนุกรม โดยใช้หัววัดแตะบริเวณที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าทางขั้วบวกของมัลติมิเตอร์ หากเข็มวัดตีเกินสเกลต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจากวงจรทันที แล้วเลือกช่วงการวัดที่สูงขึ้นจากนั้นทําการวัดค่าใหม่
5. อ่านค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร ซึ่งการอ่านต้องสัมพันธ์กับช่วงที่ตั้งไว้

fd

 


 

สินค้าที่แนะนำมัลติมิเตอร์ (Multimeter)

Hioki 3244-60 ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบพกพา (AC/DC 500V)

Hioki 3244-60 ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบพกพา (AC/DC 500V)
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบพกพา สำหรับการงานบำรุงรักษาหรืองานทดสอบทางไฟฟ้า
ACV: 419.9 mV to 500 V (5 ranges) | DCV: 4.199 V to 500 V (4 ranges)

Hioki-3030-10 มัลติมิเตอร์

Hioki-3030-10 มัลติมิเตอร์
Analog Multimeter ที่มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่ดีขึ้น
มัลติมิเตอร์ AC/DC 600V / DC 300mA  / 3MΩ

Hioki DT4200 Pocket Series ดิจิตอลมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า (True RMS)

Hioki DT4200 Pocket Series ดิจิตอลมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า (True RMS)
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบพกพารุ่น Pocket Series
วัดค่าแรงดันไฟฟ้าทั้ง ไฟฟ้ากระแสตรง(DCV) และไฟฟ้ากระแสสลับ(ACV)

Hioki DT4200 Standard Series ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (True RMS)

Hioki DT4200 Standard Series ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (True RMS)
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบพกพารุ่น Standard Series
วัดค่าแรงดันไฟฟ้าทั้ง ไฟฟ้ากระแสตรง(DCV) และไฟฟ้ากระแสสลับ(ACV)
ระดับมืออาชีพในงานอุตสาหกรรม มีอัตราการตอบสนองที่รวดเร็ว

 


 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

Related articles

  • การเลือกใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์การเลือกใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (0)
    เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก! ◼ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ( Digital Multimeter ) ◼ 1. ใช้กับงานไฟฟ้าเเละงานทั่วไป ( Electrical work & General use ) ◼ 2. เน้นใช้งานเกี่ยวกับการวัดอุณหภูมิ ( Air-conditioning / instrumentation ) ◼ 3. เน้นใช้งานเกี่ยวกับการวัดแผงโซล่าเซลล์ ( PV,Power […] Posted in เครื่องวัดไฟ
  • มาทำความเข้าใจ “ดิจิตอลมัลติมิเตอร์” กันเถอะ!! PART I (0)
    เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก! ◼ มัลติมิเตอร์ คืออะไร? ◼ เหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกิน (overload) ที่เกิดจากแรงดันกระตุ้น (Impulse Voltage) ◼ Measurement […] Posted in เครื่องวัดไฟ
  • มาทำความเข้าใจ “ดิจิตอลมัลติมิเตอร์” กันเถอะ!! PART II (0)
    เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก! ◼ ชื่อเรียกของส่วนต่างๆ บนดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดแรงดัน AC (AC Current) ◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดแรงดัน DC (DC Current) ◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นเช็คความต่อเนื่อง (Checking […] Posted in เครื่องวัดไฟ
  • สัญลักษณ์บนเครื่องมัลติมิเตอร์ Hioki all Seriesสัญลักษณ์บนเครื่องมัลติมิเตอร์ Hioki all Series (0)
    เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก! ◼ รูปตัวอย่างจากเครื่องวัดมัลติมิเตอร์ Hioki DT4281 High-end Type (Direct and current clamp input terminals) ◼ Symbols Multimeter ◼ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สัญลักษณ์ต่างๆบนเครื่องมัลติมิเตอร์ บอกถึงฟังก์ชั่นการใช้งานที่เครื่องมัลติมิเตอร์รองรับ […] Posted in เครื่องวัดไฟ, News and Event
  • วัดค่าต่างๆทางไฟฟ้า ( Electrical measuring instrument )วัดค่าต่างๆทางไฟฟ้า ( Electrical measuring instrument ) (0)
    วัดค่าต่างๆทางไฟฟ้า ( Electrical measuring instrument ) ค่าต่างๆทางไฟฟ้าจะทำให้เราทราบสภาพการทำงานของระบบไฟฟ้า จำเป็นต้องมีเครื่องวัดส่วนใหญ่มักติดตั้งที่แผงสวิตช์วัดค่าทางไฟฟ้าสำคัญ ต่างๆ เช่น กระแส ( A ),แรงดัน ( V ), กำลังทางไฟฟ้า ( W ) , ตัวประกอบกำลัง ( P.F. )เป็นต้น […] Posted in เครื่องวัดไฟ
  • อันตรายจากไฟฟ้าอันตรายจากไฟฟ้า (0)
    ในปัจจุบันเราใช้ประโยชน์กับระบบไฟฟ้าอย่างมากมาย ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในเเต่ละวันจะไม่มีการใช้ไฟฟ้าเลย การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าย่อมมีอันตรายแอบแฝงอยู่เสมอ จึงต้องเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าอย่างถูกต้อง อันตรายจากไฟฟ้ามี 2 […] Posted in เครื่องวัดไฟ