บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

ก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

LINEで送る

ก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ก๊าซ กับ แก๊ส เหมือนกันหรือไม่?

  • • ก๊าซ นั้นเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ คือ ก๊าซที่มาจากธรรมชาติซึ่งไม่ผ่านการแปรรูปใด ๆ
  • • แก๊ส คือ ก๊าซธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูป เช่น การใส่กลิ่นลงไป โดยปกติแล้วเราจะได้ยินคำว่า แก๊ส กันทั่วไปไม่ว่าจะเป็น แก๊สหุงต้ม หรือ แก๊สที่ติดในรถยนต์

ลักษณะทั่วไปของ ก๊าซ นั้นส่วนใหญ่จะไม่มีกลิ่น ไม่มีสีและโปร่งใส โดยสถานะของก๊าซจะเป็นไอที่ลอยอยู่ในอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะฟุ้งกระจายไปตามบรรยากาศอย่างรวดเร็ว

ก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิต

ก๊าซในธรรมชาตินั้นมีมากมายหลายชนิด ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตหากเกิดการรั่วไหล ได้แก่ ก๊าซติดไฟ และ ก๊าซมีพิษ
  • ก๊าซติดไฟ (Combustible Gas) คือ ก๊าซที่หากมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงของการจุดติดไฟ จะเกิดการระเบิดหรือติดไฟขึ้น โดยมีองค์ประกอบด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่ เชื้อเพลิง (Fuel), ก๊าซออกซิเจน (Oxygen) และแหล่งจุดไฟ (Ignition Source) ซึ่งก๊าซแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการจุดติดไฟต่างกัน ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการจุดติดไฟของสารไวไฟตั้งแต่ Lower Explosive Limit (LEL) จนถึง Upper Explosive Limit (UEL) ของก๊าซแต่ละชนิด
    Gas Chemical formula Molar mass Specific weight LEL (vol%) UEL (vol%)
    Hydrogen H2 2.01 0.07 4 75
    Methane CH4 16.04 0.55 5 15
    Propane C3H8 44.1 1.52 2 9.5
    iso-Butane (LPG) i-C4H10 58.1 2.01 1.8 8.4
    Benzene C6H6 78.11 2.7 1.2 7.1
    Hydrogen Sulfide H2S 34.4 1.19 4 44
    Carbon monoxide CO 28 0.97 12.5 74

    (ตัวสีแดงกำหนดค่าเป็น %LEL หรือ vol% ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ของก๊าซแต่ละชนิด)

  • ก๊าซมีพิษ (Toxic Gas) คือ ก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายทันที ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนังโดยการสัมผัส หรือ ทางอากาศจากการหายใจหรือสูดดม ซึ่งบางชนิดนั้น “ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในทันที” ที่มีการเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งก๊าซพิษอันตราย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
      1. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่หากรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณที่มาก อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
      2. ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) ถ้าสูดหายใจเข้าไปอาจทำให้หมดสติ ชัก และอาจทำให้เสียชีวิตภายในเวลาแค่ 5 นาที แต่ถ้ารับในปริมาณเล็กน้อย อาจทำให้มึนงง หายใจเร็ว อาเจียน หน้าแดง ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นเร็ว
      3. ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ หรือก๊าซไข่เน่า (Hydrogen sulfide) ซึ่งหากใครได้รับก๊าซพิษประเภทนี้อย่างฉับพลันและในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการคลื่นไส้ หายใจติดขัด เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน หากรับไปในปริมาณมากอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
      4. ก๊าซน้ำตา (Lachrymator หรือ Tear gas) ซึ่งก๊าซชนิดนี้เป็นอันตรายต่อเส้นประสาทตา ที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบที่ตา มีอาการน้ำตาไหลสมชื่อก๊าซน้ำตา ถ้าความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศสูง อาจทำให้เกิดอาการปวดบวมน้ำ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
      5. ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia) ถ้ารับแอมโมเนียในปริมาณในระดับกลางจะทำให้จาม น้ำตาไหล แสบคอ ไอมีเสมหะ สำลัก หายใจติดขัด เสียงแหบ แต่ถ้าความเข้มข้นสูงอาจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้
ในส่วนของก๊าซที่เป็นพิษต่อร่างกายเรา ถ้าร่างกายได้รับก๊าซนี้มากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งน้อยคนมากที่จะรู้ว่าก๊าซพิษเหล่านี้มีอะไรบ้าง แล้วอันตรายจากก๊าซเหล่านี้ส่งผลอะไรต่อร่างกายของเราบ้าง
โดย “The American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH)” มีการจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีหรือก๊าซต่าง ๆ ไว้ด้วยค่า TLV (Threshold Limit Value) เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับสารเคมีหรือก๊าซเหล่านี้ โดยยังมีการแบ่งย่อยตามลักษณะของการได้รับสารไว้ ได้แก่
    1. TLV-TWA (Time Weighted Average) ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของสารเคมีในอากาศที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน คิดที่ 8 ชั่วโมง/วัน หรือ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์
    2. TLV-STEL (Short Term Exposure Limit) ค่าความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในอากาศที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ในระยะเวลาสั้น ๆ คือ 15 นาที และ ที่ได้รับซ้ำไม่เกิน 4 ครั้ง/วัน (ห่างกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/ครั้ง)
    3. TLV-C (Ceiling Exposure Limit) ค่าขีดจำกัดสูงสุดของสารเคมีในอากาศที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน จะต้องไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ของการทำงาน
โดยมีการกำหนดค่าของสารเคมีหรือก๊าซต่าง ๆ ไว้เป็น PPM (Part Per Million) หรือ 1 ใน 1,000,000 ตัวอย่างก๊าซพิษดังนี้
Name formula Chemical formula TLV-TWA TLV-STEL TLV-C
Ammonia NH3 25ppm 35ppm
Carbon dioxide CO2 5000ppm 30,000ppm
Carbon monoxide CO 25ppm
Hydrogen cyanide CHN 4.7ppm
Hydrogen sulfide H2S 1ppm 5ppm
Isophorone C9H14O 5ppm
Methanol CH4O 200ppm 250ppm

(อ้างอิง ACGIH 2018)

ก๊าซอะไรที่จำเป็นต่อร่างกาย?

นอกจากก๊าซที่ส่งผลเสียและก่ออันตรายต่อสุขภาพและร่างกายของเราแล้ว ก็ยังมีก๊าซที่จำเป็นต่อร่างกายของเราเช่นกัน อย่างที่รู้กันว่า ก๊าซออกซิเจน (O2) นั้นจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ และยังรวมไปถึงพืชและสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกับเราด้วย
โดยทั่วไปนั้นอากาศรอบตัวเราจะมีก๊าซออกซิเจนอยู่ที่ 21% และจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูง-ต่ำจากพื้นดิน ซึ่งหากเป็นบนยอดเขาจุดสูง ๆ ระดับค่าออกซิเจนก็จะลดลง รวมถึง อุโมงค์, เหมืองแร่, หรือท่อต่าง ๆ ร่างกายของคนเราจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในระดับค่าออกซิเจนที่ 21% หากค่าออกซิเจนลดต่ำลงร่างกายจะเริ่มเกิดอาการผิดปกติ และหากค่าออกซิเจนลดต่ำลงน้อยกว่า 6% ทำให้เสียชีวิตได้
อากาศธรรมชาติ
O2 21% อากาศธรรมชาติ
ค่าออกซิเจนต่ำกว่าระดับความปลอดภัย จำเป็นต้องมีการระบายอากาศ
O2 18% ค่าออกซิเจนต่ำกว่าระดับความปลอดภัย จำเป็นต้องมีการระบายอากาศ
มีอาการหายใจถี่ ชีพจรเต้นเร็ว ปวดหัว คลื่นไส้ หูอื้อ
O2 12% – 16% มีอาการหายใจถี่ ชีพจรเต้นเร็ว ปวดหัว คลื่นไส้ หูอื้อ
หน้ามืด มึนงง ไม่มีเรียวแรง ผิวหนังเริ่มมีสีเขียว
O2 9% – 14% หน้ามืด มึนงง ไม่มีเรียวแรง ผิวหนังเริ่มมีสีเขียว
เริ่มหมดสติ มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก อ่อนแรง
O2 6% – 10% เริ่มหมดสติ มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก อ่อนแรง
หมดสติ หยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้นเสียชีวิตใน 6 นาที
O2 ต่ำกว่า 6% หมดสติ หยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้นเสียชีวิตใน 6 นาที

การป้องกันค่าออกซิเจนลดต่ำ

สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องเข้าทำงานในพื้นที่อับต่าง ๆ เช่น เหมืองแร่, ท่อใต้ดิน, อุโมงค์ ผู้ปฏิบัติงานก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องวัดค่าออกซิเจนติดตัวลงไปด้วย หรือมีการตรวจสอบค่าออกซิเจนก่อนที่จะเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
ภาพตัวอย่างการวัดค่าออกซิเจนก่อนปฏิบัติงานและขณะปฏิบัติงาน

ป้องกันก๊าซรั่วได้อย่างไร?

แน่นอนว่าการป้องกันก๊าซรั่วนั้นเราทำได้โดยการคอยตรวจสอบอุปกรณ์ที่บรรจุก๊าซต่าง ๆ เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ แต่หากเกิดการรั่วไหลขึ้นมาเราจะรู้ได้อย่างไร? โดยเฉพาะกับก๊าซบางชนิดที่ไม่มีสีและกลิ่น ซึ่งหากเกิดการรั่วไหลกว่าเราจะรู้ตัวได้อาจเกิดความสูญเสียต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้
ดังนั้นในการป้องกันก๊าซรั่วของอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงมักจะใช้เครื่องวัดค่าความเข้มข้นของก๊าซชนิดนั้น ๆ ที่มีการใช้งานอยู่ ได้แก่ เครื่องวัดค่า LEL เพื่อป้องกันการเกิดระเบิด หรือ เครื่องวัด CO2 เพื่อวัดระดับความเข้มข้นของค่า CO2 ในพื้นที่นั้น ๆ เป็นต้น
ภาพเหตุการณ์โรงงานหมิงตี้ เคมีคอล หลังเกิดสารเคมีรั่วไหลและเกิดระเบิด ไฟไหม้

เครื่องวัดก๊าซมีอะไรบ้าง?

เครื่องวัดก๊าซสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 รูปแบบ คือ
  1. เครื่องวัดก๊าซแบบติดตั้ง (Fixed Gas Detector) เป็นเครื่องแบบติดตั้งอยู่กับที่มักจะนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมตรงจุดที่มีการใช้งานหรือถังบรรจุก๊าซ

  2. เครื่องวัดก๊าซแบบพกพา (Portable Gas Detector) เป็นเครื่องขนาดเล็กเหมาะสำหรับติดไว้กับตัวผู้ปฏิบัติงานเพื่อวัดค่าแบบ Real-Time

มีความสนใจซื้อเครื่องวัดก๊าซ ต้องทำอย่างไร?

การซื้อเครื่องวัดก๊าซนั้น ลูกค้าสามารถแจ้งทางฝ่ายขายของเราได้เลยครับ เพียงแค่ลูกค้าแจ้งความต้องการคือ
  1. ก๊าซที่ต้องการวัดค่า
  2. ประเภทของเครื่องวัด (แบบติดตั้งหรือแบบพกพา)
  3. รูปเครื่องวัดก๊าซที่เคยใช้งาน (ถ้ามี)
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
ขอบคุณครับ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

อ่านบทความเกี่ยวกับก๊าซอื่น ๆ ได้ ที่นี่

เลือกซื้อเครื่องวัดและเครื่องตรวจจับก๊าซ คลิ๊ก

โทร 02-7469933 กด 1 ฝ่ายขาย

Related articles