PM2.5 counter and Particle counter
PM2.5 counter and Particle counter
ในหลายปีมานี้ เรามักได้ยินคำว่า PM2.5 บ่อย ๆ เมื่อก่อนเราอาจจะยังไม่คุ้นกับคำนี้นัก ลูกค้าและคนทัวไปมีความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการสอบถามกับทางบ.เลกะ มากขึ้น
ในหลายปีมานี้ เรามักได้ยินคำว่า PM2.5 บ่อย ๆ เมื่อก่อนเราอาจจะยังไม่คุ้นกับคำนี้นัก ลูกค้าและคนทัวไปมีความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการสอบถามกับทางบ.เลกะ มากขึ้น
PM2.5 เป็นอนุภาคอากาศขนาดเล็กมาก ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ หากมีจำนวนมาก ๆ ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้อากาศดูมัว PM2.5 จะอยู่ปนกับลมและอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
PM2.5 จะสามารถวัดได้กับเครื่องตรวจวัด PM2.5 โดยเฉพาะเท่านั้น ไม่สามารถวัดและประเมินผลได้จากการใช้เครื่องวัด Particle ทั่วไป ดังนั้น จึงมีการตั้งคำถามว่า เมื่อเป็นฝุ่นละอองเหมือนกัน ทำไมเครื่องวัด particle ทั่วไป จึงไม่สามารถตรวจวัดได้ว่ามีผลกระทบต่อร่างกายเรามากแค่ไหน แล้วเครื่องวัด PM2.5 กับ เครื่องวัด Particle ทั่วไป มันต่างกันอย่างไร
ปัจจุบันนี้ การพยากรณ์อากาศในประเทศญี่ปุ่น มีการประกาศ และแจ้งเตือนในเรื่องฝุ่นละออง PM2.5 เป็นเรื่องปกติ เพื่อให้ป้องกันตัวเอง เพราะในความเป็นจริง อากาศที่ดูไม่ชัด ดูเหมือนหมอกลง หรือ ฝุ่นละอองที่เกาะอยู่ตามรถ ทำให้เรารู้ว่า PM2.5 เริ่มมีปะปนอยู่เยอะในอากาศ แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่ามันเยอะแค่ไหน และปริมาณแค่ไหนที่มีผลกระทบไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายเรา การวัด PM2.5 ด้วยเครื่องวัด PM2.5 จะแสดงผลตามน้ำหนัก ซึ่งจะแสดงเป็นหน่วย μg (micrograms) โดยเครื่องวัด PM2.5 นี้จะไปดูดปริมาณฝุ่นละออง และประมวลผลออกมาเป็นหน่วย μg
สำหรับเครื่องวัด PM2.5 ที่บริษัทเรามีจำหน่ายคือรุ่น METONE-831
METONE-831 สามารถวัดน้ำหนักของ PM2.5 ได้จากการแยกขนาดของฝุ่นละออง โดยเครื่องนี้ เมื่อดูดฝุ่นเข้าไปแล้ว ก็จะแยกตามน้ำหนักของฝุ่นละอองแต่ละขนาด
PM2.5 เป็นคำย่อมาจาก Particulate Matter ซึ่งเป็นอนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศ มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน PM2.5 ซึ่งแยกได้เป็น
Primary particle “อนุภาคหลัก” เช่น ฝุ่นละอองที่ออกมาจากรถยนต์ดีเซล และ Secondary particle “อนุภาครอง” เกิดจากปฏิกิริยาเคมีในชั้นบรรยากาศ ซึ่งประกอบไปด้วยก๊าซต่าง ๆ เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ซัลเฟอร์ ออกไซด์ (SOx) เป็นต้น ขนาดของอนุภาคเหล่านี้จะเล็กมาก ทำให้เข้าไปในปอดของคนเราได้ลึกมากอย่างง่ายดาย จึงส่งผลกระทบให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคมะเร็งปอด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โรคไข้ละอองฟาง (โรคแพ้เกสรดอกไม้) เป็นต้น
PM2.5 จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นมีบทบัญญัติของกระทรวงสิ่งแวดล้อมว่า จะต้องให้แต่ละจังหวัดทำการตรวจวัด PM2.5 และประกาศ แจ้งเตือนให้ใส่หน้ากากป้องกัน เมื่อเกินมาตรฐาน (35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในอากาศ)
ขอยกตัวอย่างข้อมูลของมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศญี่ปุ่น ดังนี้
ค่าเฉลี่ยที่ร่างกายรับฝุ่นละอองต่อวัน เฉลี่ย 15μg / m3 หรือน้อยกว่า ใน 1 วัน และ 35μg / m3 หรือน้อยกว่า ใน 1 ปี (อ้างอิงผลการวิจัยในปี September 2009) จากการวิจัยและค้นพบ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจในประเทศญี่ปุ่น และต่างประเทศ ชี้ว่าผลกระทบของการได้รับฝุ่นเกินปริมาณมาตรฐาน มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และ มะเร็งปอด ได้
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมในเมื่อเป็นฝุ่นละอองเหมือนกัน แต่ใช้เครื่องวัด particle counter ทั่วไป มาตรวจวัดไม่ได้ว่ามีผลกระทบต่อร่างกายเรามากแค่ไหน เราลองมาดูข้อมูลกันว่าทำไม
โดยจะขอเทียบ spec กับรุ่นที่บริษัทเรามีจำหน่าย รุ่น DT-9880 ยี่ห้อ CEM
วีธีการวัดของเครื่อง DT-9880 ก็จะเหมือนกับ METONE-831 คือใช้วิธีการดูดฝุ่นเข้าไปในเครื่องวัดและแยกประเภทของฝุ่นตามขนาด เครื่องวัด 2 รุ่นนี้แทบไม่มีความแตกต่างกันเลย และเครื่องวัด particle counter DT-9880 ก็สามารถวัด PM2.5 ได้เหมือนกัน
แล้วทำไม DT-9880 วัดไม่ได้ว่าฝุ่นละอองเหล่านั้นมันอันตรายแค่ไหน เพราะว่า particle counter ทั่วไป จะประมวลผลของค่าที่วัดได้ ออกมาเป็นหน่วย μm (micrometers) ซึ่งหน่วยนี้จะวัดจำนวนของฝุ่นเท่านั้น ไม่สามารถวัดน้ำหนักของฝุ่นแต่ละประเภท อย่างเครื่อง METONE-831 ได้ จึงใช้ particle counter ทั่วไป วัด PM2.5 ว่ามีลอยอยู่ที่น้ำหนักเท่าไหร่ไม่ได้
ดังนั้นจำนวนของฝุ่นละอองที่วัดได้จากเครื่อง particle counter ทั่วไป จึงไม่สามารถนำมาอ้างอิง หรือเทียบดูข้อมูลกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ว่าจำนวนเท่านี้มีผลกระทบต่อร่างกายเรามากแค่ไหนได้
แล้ว Particle Counter ทั่วไปนี้ จะนำไปใช้กับสถานการณ์อะไรได้บ้าง ส่วนใหญ่ Particle Counter ทั่วไป นำไปใช้วัดความสะอาดในห้องคลีนรูม (Clean room) สำหรับประเมินผล “Air Quality” โดยแยกเป็น level โดยเรียกว่า Class 1 หรือ Class 100 เป็นต้น
ปัจจุบัน การวัดความสะอาดของห้องคลีนรูม จะมีมาตรฐานที่เรารูจักกันคือ FED เป็นมาตรฐานจากอเมริกา ซึ่งมีการใช้มาตรฐานนี้มายาวนาน แต่นอกจากนี้ก็ยังมีมาตรฐานสากลอย่าง ISO เข้ามา โดยใช้ ” MKS unit system ” อย่างไรก็ตาม มาตรฐาน FED ก็ยังนิยมใช้กันอยู่ โดยใช้หน่วย (pieces / cf: cubic feet ) ปัจจุบันที่ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้แยกว่าจะใช้มาตรฐานอะไร ขึ้นอยู่กับว่าต้องการการแสดงผลของหน่วยในมาตรฐานไหน อยากได้ผลเป็นหน่วยอะไร
ตามที่เราแนะนำข้อมูลในข้างต้น METONE-831 และ DT-9880 เป็น Particle Counter เครื่องวัดฝุ่นละอองเหมือนกัน แต่ผลของการวัดที่ได้จะแตกต่างกัน เราสามารถนำ Particle Counter มาวัด PM2.5 ได้ แต่ผลที่ออกมา จะไม่เหมือนกับข้อมูลที่เราได้ยินการแจ้งเตือนอันตรายจากรายการใน tv เพราะฉะนั้น เมื่อจะซื้อ Particle Counter แม้ว่าเครื่องนั้นจะระบุว่าวัด PM2.5 ได้ด้วย แต่ก็จะต้องระวัง และเช็คดู หน่วยของค่าที่วัดได้ก่อนเสมอเครื่องวัด PM2.5 Counter สามารถวัดฝุ่นที่เรามองไม่เห็นได้ สามารถแยกขนาดของฝุ่น และ วัดปริมาณและน้ำหนักของฝุ่นได้ด้วย ซึ่งมันดีมากสำหรับคนที่มองหาเครื่องวัด PM2.5 Counter และอยากจะลองวัดว่าห้องเราสะอาด และปลอดภัยกับร่างกายเราแค่ไหนอยู่
สรุปข้อมูล แนะนำการซื้อเครื่องวัด Particle Counter
1. Particle counter คือเครื่องวัดฝุ่นละออง มีทั้ง PM2.5 Counter และ Particle counter ทั่วไป
2. หน่วยที่แสดง μg วัดปริมาณ และน้ำหนักของฝุ่น และ μm วัดจำนวนของฝุ่น
3. หน่วย μg วิเคราะห์ได้ว่าอันตรายต่อร่างกายแค่ไหน
4. ระวังและเช็คดู หน่วยของค่าที่วัดได้ ก่อนการซื้อ