บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

คำถามที่พบบ่อยประจำหมวดเครื่องวัดอุณหภูมิ (บันทึกข้อมูล)

LINEで送る

คำถามที่ ➊: วัดอุณหภูมิสูงสุดเท่าไหร่?

ในกรณีที่ตัวเครื่องและโพรบแยกกัน เช่น ตัวเครื่องแสดงผลการวัดได้ 0 ถึง 500 °C แต่หากนำมาใช้งานร่วมกับโพรบ (Thermocouples) ที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ 0 ถึง 100 °C ตัวเครื่องก็จะแสดงผลได้สูงสุดที่ 100°C และในกรณีกลับกัน ตัวเครื่องแสดงผลการวัดได้ 0 ถึง 100°C นำมาใช้งานร่วมกับโพรบ (Thermocouples) ที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ 0 ถึง 500°C ตัวเครื่องก็จะแสดงผลได้สูงสุดที่ 100 °C เป็นต้น

คำถามที่ ➋: เอาโพรบใส่เตาอบได้ไหม?

“สามารถทำได้” การวัดอุณหภูมิในเตาอบนั้นมี Thermocouples ที่ออกแบบมาเพื่อสำหรับงานวัดอุณหภูมิในเตาอบได้ โดยดูจากช่วงการวัดอุณหภูมิที่รองรับของ Thermocouples นั้นๆเป็นหลัก ว่าสามารถนำไปใช้ในเตาอบของลูกค้าได้หรือไม่

หรือในกรณีที่ต้องการนำตัวเครื่องใส่เข้าเตาอบด้วย จำเป็นต้องมี Heat Resistance Box เพื่อป้องกันตัวเครื่องจากความร้อนของเตาอบ โดยต้องคำนึงว่าตัว Heat Resistance Box นั้นสามารถทนต่อช่วงอุณหภูมิของเตาอบที่เราใช้ได้หรือไม่ แต่หากอุณหภูมิของเตาอบร้อนเกินกว่าความร้อนที่ Heat Resistance Box สามารถทนได้ ก็จะทำให้ตัวเครื่องเกิดความเสียหายได้ ในกรณีที่อุณหภูมิไม่ร้อนเกินไป แนะนำเป็นกระดุมบันทึกอุณหภูมิ (SL51T)

คำถามที่ ➌: เซนเซอร์แบบไหน ให้ความแม่นยำสูง?

เซนเซอร์ที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิ มีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ แบบ Thermocouple และแบบ RTD (Resistor Temperature Detector) ซึ่ง RTD เซนเซอร์ ให้ค่าการวัดที่ละเอียดและมีความแม่นยำสูงกว่าเซนเซอร์แบบ Thermocouple วัสดุที่นิยมนำมาทำ RTD เซนเซอร์นั้น ได้แก่ แพลตทินั่ม (Platinum), นิกเกิล (Nickel) และทองแดง (Copper)

“เซนเซอร์ที่ทำจากแพลตทินั่ม (Platinum) จะให้ความแม่นยำมากที่สุด จึงนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม หรือห้องแลป หรืองานที่ต้องการความแม่นยำสูงๆ เป็นต้น”

คำถามที่ ➍: Thermocouple กับ Thermistor ต่างกันอย่างไร?

เทอร์โมคัปเปิลเซนเซอร์ (Thermocouple)เป็นเซนเซอร์ประเภท Active ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางไฟฟ้าในรูปของแรงดันไฟฟ้า กำเนิดแรงดันไฟฟ้า ได้เองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของค่าอุณหภูมิระหว่างจุดสองจุด ซึ่งประกอบด้วยเส้นลวดโลหะตัวนำต่างชนิดสองเส้นต่อเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น 8 ชนิดประเภท ได้แก่ Type K, N, J, E, T, R, S, B ซึ่งแต่ละประเภทนั้นมีช่วงการวัดอุณหภูมิกับค่าความแม่นยำ ที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่าง: เทอร์โมคัปเปิลเซนเซอร์ที่นิยมใช้ Type K ทำจากวัสดุ นิกเกิลโครเนียม (NiCr) กับ นิกเกิล (Ni) ให้ช่วงการวัดที่กว้าง ช่วงการวัดอยู่ที่ -40 ถึง 1,200°C ค่าความแม่นยำที่ ±2.5°C เป็นต้น

เทอร์มิสเตอร์เซนเซอร์ (Thermistor) เป็นเซนเซอร์ประเภท Passive ทำงานโดยอาศัยหลักการในการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าของวัสดุ การใช้งานจำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายไฟภายนอก วัสดุที่ใช้ทำเทอร์มิสเตอร์เซนเซอร์ ได้แก่ คาร์บอน และสารกึ่งตัวนำออกไซด์ของโลหะ (นิกเกิล, เจอร์เมเนียม, แมงกานิส, ทองแดง) วัสดุบางชนิดมีค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูง ทำให้เป็นเซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่มีค่าการตอบสนอง (Sensitivity) ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ดีมาก แต่เทอร์มิสเตอร์เซนเซอร์นั้นมีช่วงการวัดอุณหภูมิที่ค่อนข้างแคบ เมื่อเปรียบเทียบกับเทอร์โมคัปเปิลเซนเซอร์

คำถามที่ ➎: Memory ของ Data loggers บันทึกข้อมูลนานได้เพียงใด?

ระยะเวลามากหรือน้อยในการบันทึกข้อมูลของ Memory นั้น มีผลกับการตั้งค่าที่ฟังก์ชั่นความถี่ในการบันทึกข้อมูล (Sampling Time) ของตัวเครื่อง ยกตัวอย่างเช่น
กรณีตัวอย่างที่1: ใช้ Memory ความจุ 100MB โดยตั้งค่าให้ตัวเครื่องบันทึกข้อมูลที่ทุกๆ 1วินาที/ครั้ง สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด 10,000 ค่า เวลาที่ Memory ความจุ 100MB บันทึกจนเต็มความจุอยู่ที่ 1 ชั่วโมง
กรณีตัวอย่างที่2: ใช้ Memory ความจุ 100MB โดยตั้งค่าให้ตัวเครื่องบันทึกข้อมูลที่ทุกๆ 10วินาที/ครั้ง สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด 10,000 ค่า เวลาที่ Memory ความจุ 100MB บันทึกจนเต็มความจุอยู่ที่ 10 ชั่วโมง

จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กรณีจะแตกต่างกันที่การตั้งค่าความถี่ในการบันทึกข้อมูล ซึ่งหากค่าความถี่ในการบันทึกข้อมูลยิ่งมากเราก็จะทราบผลการเก็บข้อมูลที่ละเอียด นั้นเอง

คำถามที่ ➏: ระยะเวลาในการตอบสนอง (Response time) นานหรือไม่?

สิ่งที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการตอบสนอง (Response time)นั้นมีอยู่ 3 เหตุผลหลัก ๆ ดังนี้

■ Display Refresh: คือระยะเวลาที่หน้าจอของตัวเครื่องแต่ละรุ่นอัพเดทผลการวัดไปยังหน้าจอ ซึ่งปัจจุบันตัวแปรนี้แทบจะไม่มีผล เพราะตัวเครื่องส่วนมากในปัจจุบันมีระยะเวลา Display Refresh อยู่ที่ 0.4mS เท่านั้น
■ Sampling Time: คือการตั้งค่าความถี่ ในการสั่งให้ตัวเครื่องบันทึกข้อมูลลงบนหน่วยความจำ ถ้าความถี่มากก็จะได้ข้อมูลที่ละเอียด แต่หน่วยความจำจะเต็มไว ตรงกันข้ามหากตั้งความถี่น้อยหรือนานๆบันทึกที หน่วยความจำเต็มช้า ข้อมูลที่ได้ก็จะไม่ค่อยละเอียด (ควรปรับให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งานของตัวลูกค้าเอง)
■ Sensor Response Time: คือความเร็วในการตอบสนองต่อการวัดอุณหภูมิของตัวเซนเซอร์นั้นๆ ซึ่งการตอบสนองดีหรือช้าขึ้นอยู่กับประเภท และมาตรฐานของโรงงานที่ผลิตเซนเซอร์นั้นด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิ คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

Related articles