10 ข้อผิดพลาด จากการใช้เครื่องวัดไข้อินฟราเรดผิดวิธี | Body Infrared Thermometer
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ผู้คนต่างให้ความสนใจในการรักษาสุขภาพสำรวจอาการไข้ของตัวเอง และคัดกรองผู้ที่มีอาการไข้ตามจุดทางเข้าออกต่างๆ เช่น อาคาร สำนักงาน อพาร์เม้นท์ คอนโด หมู่บ้าน รวมไปถึงสถานที่ที่ผู้คนพลุกพล่าน แต่รู้กันหรือไม่ว่าอุณหภูมิร่ายกายปกติมีค่าเท่าไหร่ และเมื่อวัดอุณหภูมิ ณ จุดคัดกรองได้ 32 หรือ 34 องศา เราควรดีใจที่ตัวเย็นไม่มีไข้ หรือตกใจที่ตัวเย็นคล้ายคนเสียชีวิต
10 ข้อที่มือใหม่มักใช้เครื่องวัดไข้ผิด
1. นำเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมาวัดไข้
◾ อาจจะด้วยความเข้าใจผิด หรือถูกชักจูงให้เลือกซื้อ แต่การใช้เครื่องอุณหภูมิอินฟราเรดสำหรับอุตสหกรรมที่มีช่วงการวัดที่กว้าง เหมาะแก่การนำไปใช้วัดอุณหภูมิวัสดุที่หลากหลาย และมีค่าความแม่นยำ (Accuracy) ที่ไม่เหมาะสมต่อการวัดอุณหภูมิร่างกาย หากนำเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรมมาใช้คัดแยก หรือวัดไข้จะเกิดความผิดพลาดจากการใช้งานครื่องมือผิดประเภท และไม่สามารถแยกผู้ที่อาการไข้ๆ กับผู้ที่มีไข้สูงได้ หากจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบอุตสาหกรรมมาวัดไข้ ผู้ใช้งานต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเครื่องมือเป็นอย่างสูง และการประยุกต์ใช้นี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
2. เลือกโหมดการวัดผิด
◾ เครื่องวัดไข้บางรุ่น อาจมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่รองรับการใช้งานวัดค่าทั่วไป (Surface) และวัดไข้ (Body) ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนการใช้งาน เพราะหากใช้ฟังก์ชั่นสำหรับวัดค่าทั่วไป (ฟังก์ชั่นที่ใช้ในเครื่องวัดอุณหภูมิอุตสาหกรรม) จะเกิดความผิดพลาดในการวัดไข้
3. ผู้วัดอยู่ไม่นิ่ง หรือขยับร่างกาย
◾ การทำงานของเครื่องวัดไข้ปกติใช้เวลาในการวัดประมาณ 0.5 วินาทีต่อการวัดหนึ่งครั้ง ตามสเปคของแต่ล่ะเครื่อง ดังนั้นในช่วงที่ทำการวัดควรหยุดนิ่งสักครู่ไม่ขยับตัวไปมา
4. เครื่องสำอาง
◾ ปัญหานี้มักเกิดกับสาวๆ เนื่องจากเครื่องวัดไข้แบบอินฟราเรดจะวัดอุณหภูมิพื้นผิว หากบริเวณที่วัดมีสิ่งบดบัง เช่น เครื่องสำอาง สติ๊กเกอร์ แทททู และ Glitter ก็จะทำให้ค่าการวัดอุณหภูมิร่างกายผิดพลาด
5. เหงื่อ
◾ คราบเหงื่อไคล และเม็ดเหงื่อที่ติดบริเวณผิวหนังก็สามารถสร้างปัญหาในการวัด เพราะเหงื่อทำให้วัดค่าการวัดอุณหภูมิร่างกายผิดพลาด
6. สวมหมวก หรือผ้าโพกศีรษะ
◾ หากผู้ถูกวัดสวมใส่หมวก หรือโพกศีรษะ ให้ถอดหมวกก่อนวันอุณหภูมิไม่สวมใส่เครื่องแต่งกายที่บดบังบริเวณใบหน้า เพื่อให้ค่าการวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นไปถูกต้อง
7. เส้นผมปิดบังหน้าผาก
◾ ทรงผมหน้าม้าย่อมสร้างปัญหาในการวัด เพราะเส้นผมปิดบังบริเวณหน้าผากรบกวนการวัดอุณหภูมิร่างกาย
8. แอร์ตกใส่บริเวณใบหน้า
◾ สภาพแวดล้อมก็ส่งผลต่อค่าการวัด เช่น กรณีที่แอร์ตกยังบริเวณจุดวัดไข้ลมจากเครื่องปรับอากาศอาจตกกระทบบริเวณหน้าผากผู้ถูกวัด ซึ่งทำให่ค่าการวัดอุณหภูมิร่างกายผิดพลาด
9. ตากแดด
◾ สภาพแวดล้อมก็ส่งผลต่อค่าการวัด เช่น กรณีพึ่งตากแดดมาอุณหภูมิบริเวณหน้าผาก หรือบริเวณศรีษะจะมีความร้อนสูงกว่าปกติ ดังนั้นการวัดครั้งแรกอุณหภูมิที่วัดได้จะสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นแนะนำให้ผู้ถูกวัดนั้งพักสักครู่แล้ววัดซ้ำ หากอุณหภูมิร่างกายยังสูงอยู่แสดงว่าผู้ถูกวัดมีไข้
10. ตั้งค่าตัวเครื่องไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
◾ ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายคือ การตั้งค่า เช่น DT-8806H เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายที่ส่วนใหญ่มักข้าใจผิดตั้งค่า Total Difference 1 ถึง 2 องศา ทำให้ค่าการวัดไม่เป็นตามจริง ดังนั้นหากไม่ทราบข้อมูลการตั้งค่าแนะนำให้กลับไปตั้งค่าจากโรงงานที่ 0.0 องศา ก่อนใช้งานเครื่องมือวัดทุกชนิดควรศึกษาข้อมูลการใช้งาน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือวัดทุกครั้ง
สรุป: ปกติอุณหภูมิร่างกายเราของคนเรานั้นจะอยู่ที่ 36.5 ถึง 37.3 องศาแบ่งตามเกณฑ์การวัด และบริเวณที่วัดดังนี้
อุณหภูมิปกติ แบ่งตามบริเวณจุดที่วัด
Meas. Method | Normal Temp. ( ํC) | Normal Temp. ( ํF) |
ทวารหนัก | 36.6 to 38 | 97.8 to 100.4 |
ปาก | 35.5 to 37.5 | 95.9 to 99.5 |
รักแร้ | 34.7 to 37.3 | 94.4 to 99.1 |
หู | 35.8 to 38 | 96.4 to 100.4 |
อุณหภูมิปกติ แบ่งตามอายุผู้ถูกวัด
Age | Temp. ( ํC) | Temp. ( ํF) |
อายุต่ำกว่า 2 ปี | 36.4 to 38 | 97.5 to 100.4 |
อายุ 3 ถึง 10 ปี | 36.1 to 37.8 | 97.0 to 100.0 |
อายุ 11 ถึง 65 ปี | 35.9 to 37.6 | 96.6 to 99.7 |
มากกว่า 65 ปีขั้นไป | 35.8 to 37.5 | 96.4 to 99.5 |
● เลือกซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์ คลิก!
● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้
● โทร. 02-746-9933
● LINE: @LEGA
Cr. Picture: BBC news
Related Product(s)