บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

วิธีการดูแลรักษาโพรบวัดพีเอชและการวัดกรดด่าง

LINEで送る

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!

 แต่ก่อนที่จะคุยกันเรื่องการดูแลรักษาโพรบวัดพีเอช เรามาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกรดด่างกันก่อน
◼ การตรวจเช็คสภาพโพรบพีเอช
◼ เกิดอะไรขึ้นกับโพรบวัดพีเอช ทำไมถึงเสีย?
◼ วิธีการเก็บรักษาโพรบวัดพีเอช
วิธีการทำความสะอาดโพรบวัดพีเอช
ในบางครั้งอาจต้องทำการปรับสภาพโพรบ (Electrode Reconditioning)


การวัดค่ากรดด่างเพื่อให้ค่าที่อ่านได้มีความถูกต้องแม่นยำ สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการเลือกโพรบวัดพีเอชให้ตรงกับการใช้งานและการดูแลรักษาโพรบอย่างถูกวิธี

เราขอแนะนำวิธีดูแลรักษาโพรบวัดพีเอชเบื้องต้นเพื่อการวัดค่าให้ถูกต้องแม่นยำและใช้งานได้ยาวนานขึ้น วิธีการนี้สามารถใช้ได้กับโพรบวัดพีเอชทั่วไป

>> โพรบวัดพีเอชประเภทต่างๆ อ้างอิงได้จาก ลิงค์นี้ <<

แต่ก่อนที่จะคุยกันเรื่องการดูแลรักษาโพรบวัดพีเอช เรามาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกรดด่างกันก่อน 

  1. สภาพของกรดด่างจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท) คุณจึงจำเป็นต้องทำการคาลิเบรทเครื่องก่อนการใช้งาน (อย่างน้อย 1 ครั้ง/ วัน)
  2. อุณหภูมิมีผลต่อการวัดค่ากรดด่าง (pH) เครื่องวัดพีเอชส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะมีฟังก์ชั่นชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ (Automatic Temperature Compensation: ATC) ตัวเครื่องจะคำนวณและชดเชยอุณหภูมิให้เองโดยที่คุณไม่ต้องกังวลค่าของอุณหภูมิน้ำที่ต้องการวัดค่ากรดด่าง หรือหากเครื่องที่ใช้งานอยู่มีฟังก์ชั่นชดเชยอุณหภูมิแบบ Manual คุณสามารถตั้งค่าอุณหภูมิของน้ำลงไปในตัวเครื่องวัดกรดด่างได้
  3. ถ้าคุณใช้โพรบวัดพีเอชแบบเติมน้ำยาได้ ช่องเติมน้ำยาจะต้องเปิดอยู่ระหว่างที่ทำการวัดค่ากรดด่าง (คนส่วนใหญ่คิดว่าต้องปิดเอาไว้ แต่จริงๆแล้วต้องเปิดเมื่อทำการวัดค่า)

เมื่อการวัดค่ากรดด่างหรือเมื่อการอ่านค่าที่ผิดเพี้ยนไป คุณอาจต้องทำการคาลิเบรทด้วยน้ำยาพีเอชบัฟเฟอร์หลายๆครั้ง และทำการคาลิเบรทอย่างน้อย 2 – 3 จุด (เช่นคาลิเบรทที่ pH7 และ pH4 หรือ pH 7 และ pH 4 หรือ คาลิเบรทที่ pH 7, 4 และ 10)

น้ำยา pH Buffer Solution

การคาลิเบรทแค่ 1 จุดเดียวไม่มีความหมายอะไรเลย(คาลิเบรทไม่ถูกต้อง) ถ้าทำการคาลิเบรทหลายครั้งแล้วแต่ค่าที่วัดได้ไม่ตรงกับค่าน้ำยาบัฟเฟอร์มาตรฐานแสดงว่ามีความน่าจะเป็นสูงที่โพรบวัดพีเอชเสีย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าโพรบวัดพีเอชเสียหรือยังใช้งานได้??

การตรวจเช็คสภาพโพรบพีเอช

  1. การตอบสนองของโพรบวัดพีเอช ปกติการตอบสนองของโพรบวัดพีเอชจะอยู่ที่ไม่เกิน 3 นาที ปกติการอ่านค่ากรดด่างในน้ำยามาตรฐานพีเอชจะเร็วกว่าการวัดในน้ำตัวอย่างอื่นๆ
  2. ใช้ฟังก์ชั่นวัด mV ของเครื่องวัดพีเอช เสียบโพรบพีเอชเข้ากับตัวเครื่องวัดพีเอชที่มีฟังก์ชั่นการวัด mV จุ่มโพรบลงในน้ำยามาตรฐาน pH 7 แล้วอ่านค่า mV โพรบวัดพีเอชที่อยู่ในสภาพดีค่า mV จะอยู่ในช่วง -45 mV ถึง +45mV ถ้าค่าที่อ่านได้เกินช่วงนี้แสดงว่าโพรบพีเอชเสียใช้งานไม่ได้

check pH electrode condition

เกิดอะไรขึ้นกับโพรบวัดพีเอช ทำไมถึงเสีย?

สาเหตุหลักๆที่ทำให้โพรบวัดพีเอชใช้งานไม่ได้ คือโพรบใหญ่แตก(บริเวณกระเปาะแก้ว) เนื่องจากกระเปาะแก้วนี้ทำด้วยแก้วบางๆจึงทำให้แตกง่าย เราสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า การสังเกตุสามารถดูว่ากระเปาะมีรอยร้าวหรือรอยขีดข่วยหรือไม่

โพรบวัดพีเอช สภาพดี และ เสีย

สาเหตุรองลงมาคือ junction ตัน (ดูรูปภาพ junction ประกอบ) ปกติ reference junction ประกอบด้วยวัสดุที่เป็นรูพรุนมักทำจากเซรามิคหรือเทฟลอน บริเวณ junction จะเป็นบริเวณที่มีการถ่ายเทของเหลวเกิดขึ้นในระหว่างการวัดค่าพีเอช ด้วยเหตุนี้เองอาจทำให้มีการอุดตันของของแข็ง เศษ กาก คราบน้ำมัน หรืออื่นๆ ติดอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้

  

วิธีการเก็บรักษาโพรบวัดพีเอช

หลังจากใช้งานแล้ว ควรทำความสะอาดโพรบวัดพีเอชแล้วเก็บรักษาโพรบวัดพีเอช สิ่งที่สำคัญคือต้องเก็บรักษาทั้งอิเล็คโทรดและ junction ไว้ไม่ให้แห้ง (เก็บกระเปาะไว้ไม่ให้แห้งและเก็บ junction ให้เปียกอยู่ตลอดเพื่อป้องกันคราบเกลือ) ตามปกติโพรบวัดพีเอชจะมีขวดสำหรับเก็บโพรบมาด้วย ในขวดจะบรรจุน้ำยาเก็บรักษาโพรบเอาไว้

KCL สำหรับเก็บรักษาโพรบวัดพีเอช   pH Storage Solution น้ำยารกัษาโพรบพีเอช

แนะนำให้เก็บรักษาโพรบวัดพีเอชในน้ำยาเก็บรักษาโพรบโดยเฉพาะ (pH Storage Solution รุ่น MN-KCL, EC-KCL, HI-KCL) หากไม่มีให้ใช้น้ำยามาตรฐาน pH4 แทน (การเก็บรักษาโพรบในน้ำอื่นๆ อาจทำให้แบคทีเรียเติบโต ขึ้นรา หรือทำให้โพรบเสื่อมสภาพได้ง่าย) ถ้าไม่มีน้ำยาเก็บรักษาโพรบให้ใช้น้ำยามาตรฐานบัฟเฟอร์ pH 4 หรือให้ใช้สำลีหรือฟองน้ำนุ่มๆจุ่มน้ำหมาดๆครอบโพรบบริเวณกระเปาะและ junction เอาไว้ (ห้ามแช่ไว้ในน้ำเด็ดขาด)

ตัวอย่างวิธีการเก็บรักษาเครื่องวัดพีเอช รุ่น PH-222 หยดน้ำสะอาด 2-3 หยดในฝาครอบโพรบ ให้ฟองน้ำชื้นๆ แล้วปิดฝาคลอบ pH Electrode ไว้ หากไม่ได้ใช้งานเครื่องนานๆ หมั่นเติมน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้น (อย่าปล่อยให้ electrode แห้ง)

pH-222 วิธีการเก็บรักษา pH electrode

วิธีการทำความสะอาดโพรบวัดพีเอช

โดยปกติ คุณสามารถล้างโพรบวัดพีเอชด้วยน้ำสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว แต่อย่างไรก็ตามหาก junction ตัน การตอบสนองของโพรบจะช้าลงหรือบางครั้งไม่ตอบสนองต่อน้ำที่ทำการวัดให้ทำการล้างโพรบตามวิธีด้านล่าง

  • กรณีคราบที่ติดอยู่เป็นคราบน้ำมันให้ใช้คอตตอนบัดจุ่มสบู่ (ที่มีค่า pH เป็นกลาง neutral detergent) เช็ดทำความสะอาดคราบที่เปื้อน
  • กรณีมีคราบเกลือติดอยู่ ให้ทำความสะอาดด้วย dilute acid
  • กรณีมีคราบเปื้อนให้แช่แล้วแกว่งโพรบวัดพีเอชในกรดไฮโดรคลอริก Hydrochloric Acid: HCl 5% ประมาณ 5 นาที หากยังมีคราบอยู่ให้ใช้สบู่ที่มีค่า pH เป็นกลาง (หากไม่สามารถหาซื้อกรดไฮโดรคลอริกได้ ให้ใช้ Electrode cleaner รุ่น Horiba-220, Horiba-230)
  • กรณีมีคราบโปรตีนเกาะอยู่ ให้ใช้ Terg-A-Zyme (liquid detergent) ทำความสะอาดคราบโปรตีน
  • ในบางกรณีที่โพรบมี junction ใหญ่ สามารถใช้ของแหลมๆ ขัดเบาบริเวณ junction ได้
  • กระเปาะ (membrane) อาจแห้งหรือโดนน้ำตัวอย่างเคลือบติดอยู่ ให้จุ่มโพรบลงในน้ำยามาตรฐานพีเอชบัฟเฟอร์ pH4 ทิ้งไว้หลายๆชั่วโมง ถ้ายังไม่ได้ผลให้จุ่มโพรบลงในน้ำยาพีเอชบัพเฟอร์ที่อุ่นๆ

ข้อควรระวัง ห้ามใช้แอลกอฮอล์แช่ทำความสะอาดโพรบวัดพีเอชโดยเด็ดขาด

ในบางครั้งอาจต้องทำการปรับสภาพโพรบ (Electrode Reconditioning) 

  1. จุ่มโพรบวัดพีเอชลงใน 0.1N HCL ( Hydrochloric Acid กรดไฮโดรคลอริก) ประมาณ 15 วินาที ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปจุ่มใน 0.1 N NaOH (Sodium Hydroxide โซเดียมไฮดรอกไซด์) อีก 15 วินาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำตามขั้นตอนนี้อีก 3 ครั้ง แล้วเช็คสภาพโพรบวัดพีเอช (ดูรายละเอียดได้จาก การตรวจเช็คสภาพโพรบพีเอช)
  2. จุ่มโพรบลงใน 20% Solution NH4F2 (Ammonium Bifluoride  แอมโมเนียมไบฟลูออไรด์)  ประมาณ 2 ถึง 3 นาที แล้วล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด เช็คสภาพโพรบวัดพีเอช หากโพรบยังทำงานไม่เหมือนปกติ ให้ทำขั้นตอนที่ 3
  3. จุ่มโพรบลงใน 5% HF (Hydrogen fluoride ไฮโดรเจนฟลูออไรด์) ประมาณ 10 ถึง 15 วินาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  4. จุ่มโพรบลงใน 5N HCL HCL ( Hydrochloric Acid กรดไฮโดรคลอริก) แล้วรีบจุ่มในน้ำ DI ทันที ลองเช็คสภาพโพรบอีกครั้ง หากสาภพโพรบยังไม่กลับมา แนะนำให้เปลี่ยนโพรบวัดพีเอช

pH electrode reconditioning

หน่วยความเข้มข้นที่เป็น Normality (N), Molar (mol/l) ในกรณีของ HCl ความเข้มข้น 0.1 N เท่ากับ 0.1 M

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดพีเอช คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

Related articles