เครื่องวัดออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องการการเสื่อมเสียของอาหาร
การเน่าเสียของอาหาร
คือ การที่อาหารนั้นไม่สามารถนำมาบริโภคได้ เนื่องจากอาหารมีการเปลี่ยนแปลงไป อาจเกิดได้ทั้งทาง กายภาพ ทางเคมี และจุลินทรีย์ ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถรับประทานได้แล้วยังอันตรายต่อผู้บริโภคได้อีกด้วย
การเน่าเสียของอาหารเกิดจากอะไร?
โดยแบ่งสาเหตุการของการเน่าเสียได้เป็น 3 สาเหตุ ดังนี้
1. การเสื่อมเสียของอาหารจากจุลินทรีย์
2. การเสื่อมเสียของอาหารจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
3. การเสื่อมเสียของอาหารจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
เพราะฉะนั้นหนึ่งใน ปัจจัยหลักคือค่าออกซิเจน เพราะจุลินทรีย์สามารถแบ่งตามความต้องการหรือไม่ต้องการ
ออกซิเจนในการเจริญเติบโตได้ 3 พวกดังต่อไปนี้
1. จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต
2. จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต
3. จุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตได้ทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจน
ซึ่งการเกิดกลิ่นเหม็นหืน จะมีค่าออกซิเจนและแสงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน และรสชาติที่ผิดปกติ หรือความเสื่อมเสียอื่นๆ ต่อคุณภาพอาหารตามมา ที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ ทั้งการเปลี่ยนสี กลิ่น และรสชาติ (off-flavor) เช่น ปฏิกิริยา lipid oxidation ที่ทำอาหารที่มีไขมันและน้ำมันสูงเกิดกลิ่นหืน เกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาล (browning reaction) ทำให้อาหารเปลี่ยนสี รวมทั้งป้องกันการเสื่อมเสียจากจุลินทรีย์ (microbial spoilage) ที่ต้องการออกซิเจน เช่น รา (mold), แบคทีเรีย (aerobic bacteria) เป็นต้น
การยืดอายุของอาหารด้วยบรรจุภัณฑ์
ผู้ประกอบการสามารถยืดการอายุของอาหาร ด้วยการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจน และเป็นบรรจุภัณฑ์แบบทึบแสง หรือมีการใส่ซองบรรจุสารดูดซับออกซิเจน (Oxygen Absorber) ในซองบรรจุอาหารนั้นๆ
โดยบรรจุภัณฑ์ลักษณะนี้จะเหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารทั่วไป เช่น อาหารแห้ง เบเกอรี (bakery), ขนมเค้ก (cake), ขนมปัง (bread), พาสต้า (pasta), เนื้อสัตว์ (meat), และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จำพวก ไส้กรอก (sausage), แฮม (ham), เนยแข็ง (cheese) เป็นต้น
ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับอาหารจึงทำการตรวจสอบค่าออกซิเจนได้โดยการใช้ เครื่องวัดค่าออออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นการตรวจสอบให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้ของแต่ละ อุตสาหกรรม เช่น
สภาวะในการเก็บรักษา | ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่เหลืออยู่ในภาชนะบรรจุ | อายุการเก็บรักษา |
---|---|---|
สภาวะบรรยากาศปกติ | 21.0% | 6 สัปดาห์ |
สภาวะที่พ่นก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในภาชนะบรรจุ | 2.0% | 12 สัปดาห์ |
1.5% | 16 สัปดาห์ | |
1.0% | 20 สัปดาห์ | |
0.5% | 24 สัปดาห์ |
ตารางการเปรียบเทียบอายุการเก็บรักษามันฝรั่งทอดที่บรรจุในสภาวะบรรยากาศแตกต่างกัน
การตรวจวัดออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ทำได้อย่างไร?
ตรวจวัดโดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ เป็นเครื่องสำหรับตรวจวัดในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เช่น อาหาร ขนม จะนิยมใช้เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ Quantek QU-905
QU-905 เครื่องวัดออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์แบบตั้งโต๊ะ
เครื่องวัดออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์แบบตั้งโต๊ะ เซนเซอร์ Electrochemical cell (อายุการใช้งาน 4-5 ปี ) สามารถคาลิเบรท เครื่องด้วย O2 ในอากาศ มักนิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ
จากรูปเป็นการวัดค่าออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ข้างในเป็นนมข้น