บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

BOD ย่อมาจากอะไร หมายถึงอะไร

LINEで送る

BOD ย่อมาจาก Biochemical Oxygen Demand

ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำนั้น หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของน้ำก็คือปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen, DO) แต่หากเป็นน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง จะต้องคำนึงถึงค่าปริมาณ ออกซิเจนที่จุลชีพใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand, BOD) ด้วย ซึ่งค่า BOD นี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบระบบบำบัดน้ำ และควบคุมคุณภาพน้ำ

BOD คือค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลชีพใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ การหาค่า BOD ทำได้โดยการหาความแตกต่างของปริมาณออกซิเจนละลาย หรือค่า DO (Dissolved Oxygen) ก่อนและหลังการบ่มในภาชนะปิด ซึ่งการหาค่า BOD โดยปกติแล้วจะใช้เวลาบ่ม 5 วัน ส่วนภาชนะที่ใช้บ่มคือขวด BOD ซึ่งมีลักษณะเป็นขวดสีชามีจุกแก้วปิดสนิท เพื่อป้องกันอากาศภายนอกเข้าไปภายในและไปรบกวนสภาวะภายในขวด ค่า BOD ที่ได้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความสกปรกของน้ำที่นำมาตรวจ และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการบำบัดน้ำได้ หลักการของการวัดค่า BOD การวิเคราะห์หาค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงปริมาณความสกปรกของน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำลำคลอง น้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน และน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยคิดเปรียบเทียบในรูปของปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยทั่วไปการวิเคราะห์หาค่า BOD จะเป็นการวัดปริมาณออกซิเจนที่ถูกใช้ในระยะเวลา 5 วัน ภายในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 20 องศาเซลเซียส และด้วยเหตุผลที่ออกซิเจนในอากาศนั้นสามารถละลายน้ำได้ในปริมาณจำกัดคือประมาณ 9 มิลลิกรัม/ลิตร (ในน้ำบริสุทธิ์ที่ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส) ดังนั้น ในการวิเคราะห์ค่า BOD ในน้ำเสียซึ่งมีความสกปรกมาก จึงจำเป็นต้องเจือจางน้ำเสียลงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมพอดีกับปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ และเนื่องจากการวิเคราะห์ค่า BOD เป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในน้ำ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำให้น้ำมีสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ด้วย เช่น ไม่มีสารพิษ แต่มีอาหารเสริมที่เพียงพอ สำหรับการเจริญเติบโตรวมทั้งต้องมีปริมาณจุลินทรีย์ที่มากพอจะทำการวิเคราะห์หากไม่มีหรือมีจุลินทรีย์ปริมาณน้อยเกินไปควร
เติมเชื้อจุลินทรีย์ หรือ หัวเชื้อ (seed) ลงไปเพิ่ม เพื่อให้มีจุลินทรีย์ปริมาณมากเพียงพอต่อการวิเคราะห์

การวิเคราะห์หาค่า BOD

การวิเคราะห์หาค่า BOD ที่ใช้กันโดยทั่วไปเรียกว่า Dilution BOD ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานของ EPA ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้
1. นำตัวอย่างน้ำที่เตรียมพร้อมสำหรับการนำมาวิเคราะห์แล้วมาปรับอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 20 องศาเซลเซียส
2. เติมอากาศให้มีออกซิเจนอิ่มตัว (ใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที)
3. รินตัวอย่างน้ำลงในขวด BOD จนเต็มอย่างน้อย 3 ขวด โดยจะต้องระวังไม่ให้มีฟองอากาศภายในขวด จากนั้น ปิดจุกให้สนิทแล้วนำขวดหนึ่งมาหาปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen) ก่อน ส่วนอีกสองขวดนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 วัน
4. หลังจาก 5 วันแล้ว นำตัวอย่างน้ำที่บ่มมาหาปริมาณออกซิเจนละลายที่เหลืออยู่
5. การคำนวณ
BOD = D1 – D2
เมื่อ BOD = ค่าบีโอดี (มิลลิกรัม/ลิตร)
D1 = ปริมาณออกซิเจนละลายที่วัดได้ในวันแรก (มิลลิกรัม/ลิตร)
D2 = ปริมาณออกซิเจนละลายที่วัดได้ในวันที่ 5 (มิลลิกรัม/ลิตร)

การคำนวณ

ค่าบีโอดีเมื่อไม่ใส่หัวเชื้อ : บีโอดี (มก./ลบ.ดม.) =
ค่าบีโอดีเมื่อใส่หัวเชื้อ : บีโอดี (มก./ลบ.ดม.) =
ค่าบีโอดีเมื่อคิดไอดีโอดี : บีโอดี (มก./ลบ.ดม.) =
ค่าไอดีโอดี : บีโอดี (มก./ลบ.ดม.) =

			      Pw	= decimal volumetric fraction of dilution water used
			      Ps	= decimal volumetric fraction of sample used
			      DO	= DO of original dilution water (mg/l)
			      D1	= DO of diluted sample 15 minutes after preparation (mg/l)
			     D2 	= DO of original sample after 5 days incubation at 20 °C (mg/l)
			     S 	= Do of original undiluted sample (mg/l)
			    DC	= DO available in dilution at zero time (mg/l)
			                = PwDo+ PSS
			    B1 	= DO of dilution of seed control before incubation (mg/l)
			    B2	= DO of dilution of seed control after incubation (mg/l)
			     f 		= ratio of seed in diluted sample to seed in seed control
					=  % seed in diluted sample
   			                      % seed in seed control
			      Seed correction  = (B1 – B2)f

วิธีการวัดข้างต้นนี้จะใช้ในกรณีที่คาดว่าตัวอย่างน้ำมีค่า BOD น้อยกว่า 7 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งถือเป็นน้ำที่มีความสกปรกไม่มาก แต่หากในกรณีที่คาดว่าตัวอย่างน้ำมีความสกปรกสูง หรือมีค่าบีโอดี มากกว่า 7 มิลลิกรัม/ลิตร จะต้องนำตัวอย่างน้ำมาเจือจางก่อน เพราะออกซิเจนในน้ำมีไม่เพียงพอสำหรับจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลาย จึงจำเป็นต้องทำให้ตัวอย่างน้ำที่สกปรกเจือจางลงโดยใช้น้ำผสมลงไปเพื่อเจือจาง ซึ่งจะต้องเจือจาง
จนทำให้น้ำมีค่า BOD ต่ำกว่า 7 มิลลิกรัม/ลิตร และควรทำหลายๆ ความเข้มข้น (โดยทั่วไปไม่น้อยกว่า 3 ความเข้มข้น) สำหรับอัตราส่วนในการผสมเจือจางอาจจะประมาณการได้จากชนิดของตัวอย่างลักษณะของตัวอย่าง หรือข้อมูลของแหล่งน้ำ จากนั้น ทำการวัด โดยวิธีเดียวกัน แต่เวลาคำนวณจะต้องนำค่าการเจือจางมาร่วมคำนวณ

 

ตู้ควบคุมอุณหภูมิ

S__14573585

เครื่องวิเคราะห์ค่าBOD รุ่น MD 600

bd600S__14573612

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดบีโอดี & ซีโอดีแบบต่างๆ คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

Related articles

  • ปัญหาเรื่องคุณภาพของกำลังไฟฟ้า ที่ส่งผลต่ออุปกรณ์การแพทย์ปัญหาเรื่องคุณภาพของกำลังไฟฟ้า ที่ส่งผลต่ออุปกรณ์การแพทย์ (0)
    การทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าแบบต่างๆ เช่น กระเเสไฟฟ้ารั่วและความต้านทานฉนวน ได้ดำเนินการขึ้นบนอุปกรณ์การเเพทย์เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งานอย่างปลอดภัยนั้นเกิดขึ้นๆได้จริงตามมาตรฐาน EN60601 ( อุปกรณ์และระบบไฟฟ้าทางการแพทย์ ) คุณภาพของกำลังไฟฟ้าที่จ่ายไปยังโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ […] Posted in เครื่องวัดไฟ
  • การสั่นสะเทือนคืออะไรการสั่นสะเทือนคืออะไร (0)
    การสั่นสะเทือนคือ การเคลื่อนที่ของมวลทุกทิศทุกทางในตำเเหน่งอยู่กับที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างเครื่องจักร ชิ้นส่วนอุปกรณ์  ที่ติดตั้งทำงานอยู่ในโรงงานทั่วๆไป เช่น การหมุนของเพลาในบูช หรือแบริ่งกาบ จะหมุนที่จุดศูนย์กลางของบูช,แบริ่ง  ถ้าเเบริ่งสึกหรอจะทำให้มีระยะห่างมาก […] Posted in เครื่องวัดความสั่นสะเทือน
  • การวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน Vibration ด้วยเครื่องวัดความสั่นสะเทือนการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน Vibration ด้วยเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (0)
    เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก! ◼ Step 1. เลือกวิธีการวัด Determine the method ◼ FFT ย่อมาจาก Fast Fourier Transform ◼ รุ่นที่มี FFT Analysis Function ◼ ทำไมเราถึงต้องใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือน ◼ โดยจะลำดับความสำคัญของเครื่องจักรที่จะนำวิธีการตรวจสอบนี้ไปปฏิบัติ มีดังนี้ ◼ […] Posted in เครื่องวัดความสั่นสะเทือน
  • การวัดความชื้นข้าวการวัดความชื้นข้าว (0)
    เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก! ◼ เข้าเรื่องการวัดความชื้นข้าว ◼ จากตัวอย่างการวัดความชื้นข้าวเปลือก ◼ ขั้นตอนการตากข้าวเปลือกให้ได้คุณภาพ ◼ หลังจากทดลองวัดความชื้นเมล็ดข้าวสาร การวัดความชื้นเมล็ดข้าวจำเป็นยังไง แล้วทำไมถึงต้องวัด? […] Posted in เครื่องวัดความชื้นวัสดุ, News and Event
  • เครื่องวัดเสียง (Sound Level Meter)เครื่องวัดเสียง (Sound Level Meter) (0)
    เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก! ◼ เครื่องวัดเสียง คือ อะไร?? ◼ เครื่องวัดเสียง NTi Audio model XL2 – เครื่องวัดเสียงสารพัดประโยชน์ ◼ คุณสมบัติเด่นของ NTi รุ่น XL2 ◼ ฟังก์ชั่น การวิเคราะห์แบบ Real Time (Real Time Analyzer: RTA) โดย NTi Audio แปลและเรียบเรียงโดย ชัชวาล กิมเห, […] Posted in เครื่องวัดระดับเสียง
  • การบันทึกและดู Waveform จากซอฟต์แวร์ SF1001การบันทึกและดู Waveform จากซอฟต์แวร์ SF1001 (0)
    ซอฟต์แวร์ SF1001 เป็นซอฟต์เเวร์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องวัดและบันทึกค่าทางไฟฟ้า รุ่น PW3360-20 , PW 3360-21 ,PW3365-20  ซึ่งซอฟแวร์ SF1001 เป็นซอฟแวร์ที่ใช้ตั้งค่าการบันทึก เเละเก็บข้อมูลเพื่อทำเป็นรีพอร์ตในรูปแบบต่างๆเช่น กราฟ หรือ ตาราง การบันทึกและดู Waveform จากซอฟต์แวร์ SF1001 […] Posted in เครื่องวัดไฟ, News and Event