การวัดขนาดเกลียวของสกรู
การวัดขนาดเกลียวของสกรู
ส่วนประกอบที่สำคัญของเกลียวที่เราควรรู้จักคือ “Pitch” (พิทช์)
พิทช์ คือระยะห่างระหว่างเกลียว หรือระยะห่างระหว่างยอดฟันเกลียวสองยอดที่อยู่ติดกันนั่นเอง
เราสามารถวัดขนาดเกลียวของสกรูโดยใช้ 2 ระบบ
1. ระบบเมตริก (Metric) หรือ “เกลียวมิล” วัดจากระยะห่างระหว่างเกลียว (pitch) โดยใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร ระบบนี้เป็นระบบที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งเราสามารถเอาไม้บรรทัดมาวัดระยะห่างของเกลียว และอ่านค่าได้ทันทีเลยค่ะ ว่าสกรูตัวนี้มีระยะห่างของเกลียวกี่มิล
2. ระบบอเมริกัน (Inches) หรือ “เกลียวหุน” จะวัดจากการนับจำนวนเกลียวได้กี่เกลียวในระยะหนึ่งนิ้ว การวัดเกลียวแบบนี้มักจะเป็นปัญหากับผู้ที่ไม่คุ้นเคย เราสามารถเทียบขนาดจากนิ้วเป็นหุนได้ดังนี้ค่ะ
1/8″ = 1 หุน
3/16″ = หุนครึ่ง
1/4″ = 2 หุน
5/16″ = 2 หุนครึ่ง
3/8″ = 3 หุน
7/16″ = 3 หุนครึ่ง
1/2″ = 4 หุน
9/16″ = 4 หุนครึ่ง
5/8″ = 5 หุน
11/16″ = 5 หุนครึ่ง
3/4″ = 6 หุน
13/16″ = 6 หุนครึ่ง
7/8″ = 7 หุน
15/16″ =7 หุนครึ่ง
1” = 8 หุน
โดยระยะพิทช์ของระบบเกลียวมิล และหุนนั้นไม่เท่ากัน การที่พิทช์ไม่ท่ากันนั้น ทำให้เกลียวไม่สามารถขันไปตามร่องเกลียวได้ จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องรู้ว่าสกรูที่เราจะใช้นั้นเป็นระบบมิล หรือหุน การที่เราจะรู้ว่าเกลียวของเรานั้นเป็นระบบไหน วิธีทีที่ดีที่สุดก็คือการใช้หัวน็อตที่เราทราบระบบของเกลียว และมีขนาดเดียวกับเกลียวของเรามาขันกันดู ถ้าขันกันเข้าก็แปลว่าเป็นเกลียวระบบเดียวกันกับหัวน็อตตัวนั้น แต่ถ้าขันไปแล้วติดก็แปลว่าเป็นคนละระบบกัน แต่ถ้าไม่มีหัวน็อตให้ลอง อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในการวัดพิทช์ของเกลียวก็คือ หวีเกลียว (Pitch Gauge)
หากหวีเกลียวเบอร์ไหนทาบลงบนเกลียวแล้วแนบสนิทพอดี ก็ถือว่าเกลียวนั้นมีระยะเกลียวตามที่ระบุไว้บนหวีเกลียวนั่นเอง โดยหวีเกลียวนั้นจะแบ่งออกเป็นหวีเกลียวสำหรับมิล และหุน ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากว่า เกลียวที่ทาบลงไปนั้นเป็นเกลียวระบบไหน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
● โทร. 02-746-9933
● LINE: @lega
Related articles
- ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ | Humidity Measurement
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
◼ การวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
◼ วิธีการตรวจวัด ไฮโกรมิเตอร์แบบกระเปาะเปียก-กระเปาะแห้ง
◼ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
ความชื้น (Humidity) คือ ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ […] Posted in เครื่องวัดความชื้นอากาศ, News and Event - ก๊าซพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ก๊าซพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
การได้รับก๊าซพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยการสูดดม โดยการหายใจ หรือทางผิวหนัง อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและทำให้เสียชีวิตได้ ก๊าซชนิดนี้แบ่งได้เป็น 6 ประเภทคือ
1. ประเภทที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน คาร์บอนโมนอกไซด์ และ […] Posted in เครื่องตรวจจับก๊าซ - มาตรฐาน HACCP และ GMP คือ?
มาตรฐานในอุตสาหกรรมอาหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นกลไกที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่ถูกผลิต โดยมาตรฐานเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารทั้งหมดตั้งแต่ วัตถุดิบ, กระบวนการผลิต, ควบคุมคุณภาพ, การแปรรูป, […] Posted in เครื่องวัดอุณหภูมิ, News and Event, อุตสาหกรรมอาหาร - น้ำประปาเค็มยาวนานถึงเดือนพฤษภาคม | วิกฤตภัยแล้งปี 63
เตือน 7 กลุ่มเสี่ยง หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำประปาเค็ม! จากสถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี
เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้ระบบผลิตน้ำประปาที่ใช้บริโภคเป็นประจำนั้น มี "โซเดียม" ปะปนมากับน้ำประปา ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่ารสมันเปลี่ยนจากปกติ เช่น มีรสกร่อย […] Posted in เครื่องวัดความเค็ม Salt meter, News and Event - ออกซิเจนในน้ำคืออะไร? | ทำไมต้องวัดออกซิเจนในน้ำ?
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ วิธีการหาปริมาณออกซิเจนในน้ำ (Dissolved Oxygen)
◼ ประเภทของเครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ แบ่งตามประเภทของของเซนเซอร์ (Membrane Sensor)
◼ วิธีการเลือกซื้อเครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ Dissolved Oxygen Meter: DO Meter
◼ […] Posted in เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ - การอ่านเเถบเเสดงค่า Heat stress เครื่องวัดอุณหภูมิเเละความชื้น SK-Sato รุ่น PC-7900GT
Heat stress
คือ ภาวะความเครียดจากความร้อน หรือสภาวะที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคลมเเดด ซึ่งในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เเละภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ทำให้ทุกคนเกิดความเสี่ยงของการเป็นโรคลมเเดดได้ บริษัท เลกะคอร์ปอเรชั่น จึงยินดีนำเสนอ เครื่องวัดอุณหภูมิเเละความชื้น พร้อมเเถบเเสดงค่า Heat […] Posted in เครื่องวัดสิ่งแวดล้อม, เครื่องวัดความชื้นอากาศ, เครื่องวัด WBGT