มาทำความเข้าใจ “ดิจิตอลมัลติมิเตอร์” กันเถอะ!! PART II
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ ชื่อเรียกของส่วนต่างๆ บนดิจิตอลมัลติมิเตอร์
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดแรงดัน AC (AC Current)
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดแรงดัน DC (DC Current)
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นเช็คความต่อเนื่อง (Checking Continuity)
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการเช็คไดโอด
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการวัดความต้านทาน (Resistance measurement)
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดอุณหภูมิ
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดค่าความจุไฟฟ้า (Measuring capacitance)
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส DC (DC current)
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส DC (4-20 mA DC current)
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส AC โดยใช้แคลมป์ (Measuring AC current with a clamp-style sensor)
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ
◼ การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการตั้งค่าศูนย์
◼ บทสรุป
บทความโดย: Hioki
แปลและเรียบเรียงโดย: ชัชวาล กิมเห, Product Specialist, LEGA Corporation
หลังจากที่เราได้ศึกษาเนื้อหาใน PART I หรือ “การใช้งานและเลือกซื้อดิจิตอลมัลติมิเตอร์อย่างถูกต้องและปลอดภัย” ไปแล้วนั้น PART ต่อไป จะเป็นเรื่องของ “การใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆของดิจิตอลมัลติมิเตอร์” กันครับ โดยหลักๆเราจะใช้ผลิตภัณฑ์ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ Hioki มาเป็นตัวอย่าง
ซึ่งหากผู้ที่ต้องการศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาเบื้องต้นจนครบแล้ว ก็สามารถ นำไปปรับใช้ได้กับดิจิตอลมัลติมิเตอร์เกือบทุกรูปแบบ และหากสนใจรับชมสินค้าก็สามารถ คลิกที่นี่เพื่อรับชมสินค้าประเภทมัลติมิเตอร์ ได้เลย
และสำหรับท่านที่ต้องการกลับไปดู PART I ก็คลิกที่นี่เพื่อ กลับไปอ่านบทความ
“การใช้งานและเลือกซื้อดิจิตอลมัลติมิเตอร์อย่างถูกต้องและปลอดภัย”
ต่อจากนี้จะขอเข้าเรื่องของ “การใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆของดิจิตอลมัลติมิเตอร์” ซึ่งในหัวข้อ PART II นี้ จะมีเนื้อหาที่มีให้เรียนรู้กันดังนี้
ชื่อเรียกของส่วนต่างๆ บนดิจิตอลมัลติมิเตอร์
สวิตช์ปรับแบบหมุน (Rotary switch) เป็นสวิตช์ที่ถูกใช้เพื่อให้ผู้ใช้เปลี่ยนฟังก์ชั่นการวัด เช่น แรงดัน AC, แรงดัน DC, ฟังก์ชั่นเช็คความต่อเนื่อง, เช็คความต้านทาน, เช็คค่าความจุไฟฟ้า, เช็คกระแส และอื่นๆ โดยจะเป็นฟังก์ชั่นไหนนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะเลือกใช้ฟังก์ชั่นไหน
ช่องสำหรับที่มีไว้เสียบเข็มวัด (Test lead, Measurement cable) จะใช้เพื่อการติดตั้งเข็มวัดสำหรับวัดค่าตามที่เราต้องการวัด โดยการติดตั้งเข็มวัดลงในช่องที่ถูกต้อง คือ เข็มวัดสีแดงจะต้องต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์ “VΩ” และเข็มวัดสีดำจะตัองต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์ “COM”(เกือบทุกค่าที่ต้องการวัดจะติดตั้งเข็มวัดที่ช่องเดียวกันในลักษณะนี้ ยกเว้นการวัดค่ากระแส)
ปุ่มกดฟังก์ชั่น (The operation keys) มีไว้เพื่อใช้สำหรับการเข้าสู่ฟังก์ชั่นกรวัดค่ากระแสและแรงดันในระบบไฟฟ้า AC และ DC และค่าอื่นๆ เช่น ค่าอุณหภูมิ, ฟังก์ชั่นการตรวจสอบไดโอด หรือ ปรับเป็นฟังก์ชั่นการแสดงผลอื่นๆ เช่นการค้างข้อมูลบนหน้าจอ การแสดงค่าสูงสุด/ต่ำสุดได้ด้วย
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดแรงดัน AC (AC Current)
ในการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ เช่น จาก ช่องเสียบปลั๊กไฟ, ตู้จ่ายไฟ หรือ ช่องเสียบอุปกรณ์จ่ายไฟ มีวิธีการตั้งค่าก่อนใช้งานดังนี้
- หมุนปรับสวิตช์ (Rotary switch) ไปที่สัญลักษณ์ ~V (หมายเลข “1” ดังรูป)
- ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
- ต่อเข็มวัดเท่ากับจุดที่ต้องการวัดค่า (หมายเลข “3” ดังรูป)
**เมื่อวัดค่าด้วยฟังก์ชั่น RMS ในระบบกระแสไฟฟ้าสลับ เราไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลเรื่องขั้วที่ใช้วัด**
ข้อควรระวัง!!
ห้ามต่อเข็มวัดที่ช่องวัดกระแส (“A” Terminal) ในกรณีที่เราไม่ใช้ฟังก์ชั่นวัดกระแส สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์บางรุ่นถูกออกแบบมาให้มีกลไกการปิดช่องวัดกระแส เพื่อป้องกันการเชื่อมต่อที่ผิดพลาดหรือไม่ได้ตั้งใจ และบางรุ่นก็ไม่มีช่องวัดกระแสเลย (จงใจนำออกไป) ในขณะที่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ Hioki นั้น ได้ติดตั้งฟิวส์เข้าไปเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการเชื่อมต่อเข็มวัดโดยไม่่ตั้งใจท่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเราดูได้จากข้อมูลจำเพาะของดิจิตอลมัลติมิเตอร์แต่ละชนิด โดยดูว่าค่าที่เราต้องการวัดนั้นอยู่ในช่วงการวัดที่วงจรของดิจิตอลมัลติมิเตอร์นั้นทำการวัดได้หรือไม่
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดแรงดัน DC (DC Current)
ในการวัดแรงดันไฟฟฟ้ากระแสตรง เช่น แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์ หรือ แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่ มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้
- หมุนปรับสวิตช์ (Rotary switch) ไปที่สัญลักษณ์ :::V (หมายเลข “1” ดังรูป)
- ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
- ต่อเข็มวัดกับจุดที่ต้องการวัดโดยให้เข็มวัดสีดำต่อในด้านที่เป็นลบ และ สีแดงต่อในด้านที่เป็นบวก
ข้อควรระวัง!!: ห้ามต่อเข็มวัดที่ช่องวัดกระแส (“A” Terminal) ในกรณีที่เราไม่ใช้ฟังก์ชั่นวัดกระแส สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์บางรุ่นถูกออกแบบมาให้มีกลไกการปิดช่องวัดกระแส เพื่อป้องกันการเชื่อมต่อที่ผิดพลาดหรือไม่ได้ตั้งใจ และบางรุ่นก็ไม่มีช่องวัดกระแสเลย (จงใจนำออกไป) ในขณะที่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ Hioki นั้น ได้ติดตั้งฟิวส์เข้าไปเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการเชื่อมต่อเข็มวัดโดยไม่่ตั้งใจท่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเราดูได้จากข้อมูลจำเพาะของดิจิตอลมัลติมิเตอร์แต่ละชนิด โดยดูว่าค่าที่เราต้องการวัดนั้นอยู่ในช่วงการวัดที่วงจรของดิจิตอลมัลติมิเตอร์นั้นทำการวัดได้หรือไม่
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นเช็คความต่อเนื่อง (Checking Continuity)
ในการตรวจสอบการขาดของสายไฟ หรือ ตรวจสอบต้นทาง/ปลายทางของชุดสายไฟ (Wire harness cable) มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้
- หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
- ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
- ต่อเข็มวัดกับจุดที่ต้องการวัด โดยต่อระหว่างต้นสายและปลายสาย (ไม่จำเป็นต้องดูเรื่องขั้ว)
ถ้ามีการเชื่อมต่อจริง ดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะตอบสนองโดยการแสดงบนหน้าจอ พร้อมมีเสียงแจ้ง แต่ถ้าไม่พบการเชื่อมตอ่เกิดขึ้น (เช่น ในกรณีที่สายไฟขาดอยู่ภายใน) ดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะไม่ตอบสนองใดๆบนหน้าจอและไม่มีเสียงการแจ้งเตือน
ข้อควรระวัง!!
ก่อนจะลงมือตรวจสอบความต่อเนื่อง ต้องปิดแหล่งจ่ายไฟ หรือ ตัดแหล่งจ่ายไฟที่ไปยังจุดที่จะเช็คทุกครั้ง
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการเช็คไดโอด
ในการตรวจสอบว่าไดโอตเสียหรือไม่นั้น มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้
- หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
- กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
- ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
- นำเข็มวัดไปวัดกับไดโอดตัวที่เราต้องการ โดยให้เข็มวัดสีดำอยู่ด้านแคโทด (Cathode, ด้านไอโอดที่มีแถบ) และสีแดงอยู่อีกด้านหนึ่ง (Anode, ด้านที่ไม่มีแถบ)ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จะแสดงค่าแรงดันของไดโอด หากเชื่อมต่อในทิศทางที่ถูกต้อง และแสดงค่า “OVER” หากเราเชื่อมต่อในทิศทางกลับด้านกัน
ข้อควรระวัง!!: ก่อนจะลงมือตรวจสอบความต่อเนื่อง ต้องปิดแหล่งจ่ายไฟ หรือ ตัดแหล่งจ่ายไฟที่ไปยังจุดที่จะเช็คทุกครั้ง
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการวัดความต้านทาน (Resistance measurement)
ในการวัดความต้านทาน มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้
- หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
- ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
- นำเข็มวัดไปเชื่อมต่อกับตัวต้านทาน (Resistor) ดังรูป “3” (ไม่จำเป็นต้องดูเรื่องขั้ว)
ข้อควรระวัง!!: ก่อนจะลงมือตรวจสอบความต่อเนื่อง ต้องปิดแหล่งจ่ายไฟ หรือ ตัดแหล่งจ่ายไฟที่ไปยังจุดที่จะเช็คทุกครั้ง
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดอุณหภูมิ
ในการวัดอุณหภูมิ เช่น การวัดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในขณะที่ระบบทำความเย็นถูกตัดแล้ว มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้
- หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
- กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
- ในช่องต่อเข็มวัดของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ เราใช้เทอร์โมคัปเปิ้ล Type-K (Model: DT-49010, Hioki) ในการเชื่อมต่อ ดังรูปที่ “3” (ระวังการเชื่อมต่อในเรื่องของขั้วบวกและลบ โดยดูจากสีของช่องต่อ และ หัวต่อของเทอร์โมคัปเปิ้ล)**เราสามารถใช้เทอร์โมคัปเปิ้ล Type-K ที่มีเซนเซอร์แบบอื่นได้ด้วยเช่นกัน
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดค่าความจุไฟฟ้า (Measuring capacitance)
ในการวัดตัวเก็บประจุ มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังต่อไปนี้
- หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
- ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า (VΩ) (หมายเลข “2” ดังรูป
- ใช้เข็มวัดเชื่อมต่อกับตัวเก็บประจุโดยสำหรับตัวเก็บประจุที่มีขั้ว ใช้เข็มวัดสีแดวเขื่อมต่อกับขั้วบวก และเข็มวัดสีดำเชื่อมต่อกับขั้วลบ**หน่วยของค่าความจุไฟฟ้า ของตัวเก็บประจุแสดงดังนี้: F, μF, nF, pF
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส DC (DC current)
ในการวัดค่ากระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังต่อไปนี้
**สำหรับการวัดกระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ดิจิตอลมมัลติมิเตอร์จะต้องเชื่อมต่อแบบอนุกรมระหว่างแหล่งจ่ายไฟและโหลด ซึ่งเราต้องตัดสายไฟระหว่างแหล่งจ่ายไฟกับโหลดออกก่อนแล้วนำเข็มวัดทำการเชื่อมต่อในจุดที่มีเครื่องหมาย “X” ดังรูป
- หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
- กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
- ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “A” (หมายเลข “3” ดังรูป)
- เชื่อมต่อเข็มวัดเข้ากับวงจรโดยให้เข็มวัดสีดำเชื่อมต่อในด้านลบของแหล่งจ่ายไฟ และ เข็มวัดสีแดงเชื่อมต่อดับด้านที่เป็นโหลด (การเชื่อมต่อลักษณะนี้จะทำให้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์เชื่อมต่อแบบอนุกรมระหว่างแหล่งจ่ายไฟและโหลด)
ข้อควรระวัง!!: ปิดแหล่งจ่ายไฟไปสู่โหลดก่อนทำการเชื่อมต่อ และ ทำการเปิดเมื่อเชื่อมต่อมัลติมิเตอร์เสร็จแล้ว ระวังเรื่องแรงดันที่เกิดจากแหล่งจ่ายไฟ (ไม่ควรเชื่อมต่อดิจิตอลมัลติมิเตอร์กับแหล่งจ่ายไฟในแบบขนาน) รวมถึงตรวจสอบค่ากระแสสูงสุดที่วัดได้ของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ และ ใช้เพื่อวัดกับวงจรที่มีค่ากระแสที่น้อยกว่าหรือเท่ากับที่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์เรามีเท่านั้น
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส DC (4-20 mA DC current)
ในการวัดค่ากระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังต่อไปนี้
**สำหรับการวัดกระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ดิจิตอลมมัลติมิเตอร์จะต้องเชื่อมต่อแบบอนุกรมระหว่างแหล่งจ่ายไฟและโหลด ซึ่งเราต้องตัดสายไฟระหว่างแหล่งจ่ายไฟกับโหลดออกก่อนแล้วนำเข็มวัดทำการเชื่อมต่อในจุดที่มีเครื่องหมาย “X” ดังรูป
- หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
- กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
- ต่อเข็มวัด (Test lead) เข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์: สีดำ (ขั้วลบ) ต่อกับช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “COM” และ สีแดง (ขั้วบวก) ต่อที่ช่องที่มีสัญลักษณ์เขียนว่า “μA mA” (หมายเลข “3” ดังรูป)
- เชื่อมต่อเข็มวัดเข้ากับวงจร โดยให้เข็มวัดสีดำต่อกับด้านของเซนเซอร์ และ ให้สีแดงต่อกับแหล่งจ่ายไฟ (Distributor side) ดังรูปที่ “4”
ข้อควรระวัง!!: ปิดแหล่งจ่ายไฟไปสู่โหลดก่อนทำการเชื่อมต่อ และ ทำการเปิดเมื่อเชื่อมต่อมัลติมิเตอร์เสร็จแล้ว ระวังเรื่องแรงดันที่เกิดจากแหล่งจ่ายไฟ (ไม่ควรเชื่อมต่อดิจิตอลมัลติมิเตอร์กับแหล่งจ่ายไฟในแบบขนาน) รวมถึงตรวจสอบค่ากระแสสูงสุดที่วัดได้ของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ และ ใช้เพื่อวัดกับวงจรที่มีค่ากระแสที่น้อยกว่าหรือเท่ากับที่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์เรามีเท่านั้น
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: การวัดกระแส AC โดยใช้แคลมป์ (Measuring AC current with a clamp-style sensor)
ในการวัดค่ากระแสในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์คู่กับเซนเซอร์ที่มีลักษณะเป็นแคลมป์ มีวิธีการตั้งค่าก่อนการใช้งานดังต่อไปนี้
- หมุนปรับสวิตช์ไปที่สัญลักษณ์ตามหมายเลข “1” ดังรูป
- กดปุ่มฟังก์ชั่น “SHIFT” ดังหมายเลขรูป “2”
- เชื่อมต่อหัวแปลงกับเซนเซอร์แบบแคลมป์ ดังรูปที่ “3” (สังเกตการเชื่อมต่อของหัวแปลง โดยให้ด้านสีดำ (ลบ) ต่อกับด้านที่มีสัญลักษณ์ “COM” และสีแดง (บวก) เชื่อมต่อกับ “VΩ”
- ปรับช่วงการวัดของเซนเซอร์แบบแคลมป์ตามรูปที่ “4”
- ใช้ปุ่ม “RANGE” ปรับช่วงการวัดของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ให้สอดคล้องกับช่วงการวัดของเซนเซอร์แบบแคลมป์ที่ได้ปรับไว้ตามข้อก่อนหน้านี้ ดังรูปที่ “5”
- เชื่อมต่อเซนเซอร์แบบแคลมป์กับจุดที่ต้องการวัด ดังรูปที่ “6”ข้อควรระวัง!!: หากเซนเซอร์แบบแคลมป์มีการเปลี่ยนช่วงการวัดในขณะที่วัดอยู่ เราจะต้องเปลี่ยนช่วงการวัดของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ตามไปด้วย เพื่อให้สามารถแสดงค่าได้
**จากภาพ เราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki Model: DT-4282 เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับการอธิบายในหัวข้อนี้ สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โมเดลอื่นๆก็จะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในโมเดลอื่นๆได้จากโดยคลิกที่นี่เพื่อ ชมสินค้าประเภทดิจิตอลมัลติมิเตอร์ จาก LEGA Corporation
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ
Auto hold function: เป็นฟังก์ชั่นที่เครื่องจะคงค่าที่วัดไว้ได้บนหน้าจอโดยอัตโนมัติ (ฟังก์ชั่นนี้จะคงค่าไว้มื่อค่าที่วัดได้นิ่งเพียงพอ) และสามารถวัดต่อได้เมื่อนำเข็มวัดไปสัมผัสจุดที่ต้องการวัดอื่นๆอีกครั้ง (เลือกเปิดใช้ฟังก์ชั่นนี้โดยการกดปุ่ม “HOLD” ค้างไว้ประมาณ 1 วินาที)
Recording function: ฟังก์ชั่นนี้จะบันทึกค่าสูงสุด และ ค่าต่ำสุดที่วัดได้ (เรียกใช้ฟังก์ชั่นนี้โดยการกดปุ่ม “MAX/MIN”)
Relative value function: ฟังก์ชั่นนี้คือ ฟังก์ชั่นที่ใช้ดูความแตกต่างที่เกิดจากการวัดเทียบกับค่าที่อ้างอิงไว้ (เรียกใช้ฟังก์ชั่นนี้โดยการกดปุ่ม “MAX/MIN” ค้างไว้ประมาณ 1 วินาที)
การใช้งานดิจิตอลมัลติมิเตอร์: ฟังก์ชั่นการตั้งค่าศูนย์
สำหรับการวัดแรงดัน, กระแส และ ค่าความต้านทาน มีวิธีการตั้งค่าดังต่อไปนี้
- หมุนปรับสวิตช์ไปยังโหมดการวัดที่ต้องการตั้งค่าศูนย์ ตัวอย่างดังรูปที่ “1”
- เชื่อมต่อเข็มวัดเข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยให้สีดำ (ลบ) ต่อที่ช่อง “COM” และสีแดง (บวก) ต่อที่ช่อง “VΩ” (สำหรับการวัดอื่นๆที่ไม่ใช้การวัดกระแส) และเชื่อมต่อสีดำ (ลบ) ที่ช่อง “COM” กับสีแดง (บวก) กับช่อง “A หรือ A, μA/mA ” (สำหรับการวัดกระแส) ดังรูปที่ “2”
- นำเข็มวัดสัมผัสกันเอง ดังรูปที่ “3”
- ทำการตั้งค่าศูนย์โดยการกดปุ่ม “MAX/MIN” ค้างไว้ประมาณ 1 วินาทีดังรูปที่ “4”สำหรับการตั้งค่าศูนย์ของฟังก์ชั่นตัวเก็บประจุ มีวิธีการตั้งค่าดังต่อไปนี้
- หมุนปรับสวิตช์ไปยังโหมดการวัดที่ต้องการตั้งค่าศูนย์ ตัวอย่างดังรูปที่ “1”
- เชื่อมต่อเข็มวัดเข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยให้สีดำ (ลบ) ต่อที่ช่อง “COM” และสีแดง (บวก) ต่อที่ช่อง “VΩ”
- นำเข็มวัดห่างออกจากกัน (เปิดวงจร) ดังรูปที่ “3”
- ทำการตั้งค่าศูนย์โดยการกดปุ่ม “MAX/MIN” ค้างไว้ประมาณ 1 วินาทีดังรูปที่ “4”
บทสรุป
สำหรับใน PART II จะเป็นเรื่องของฟังก์ชั่นต่างๆของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยหลักๆแล้วเราใช้ผลิตภัณฑ์ของ Hioki เป็นผลิตภัณฑ์อ้างอิง ซึ่งวิธีการในการเข้าสู่ฟังก์ชั่น รวมถึงวิธีการกดปุ่มอาจจะแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ความหมายและหลักการของการวัดค่าทางไฟฟ้าต่างๆยังคงเหมือนกัน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากคู่มือผลิตภัณฑ์แต่ละตัว หรือถามจากผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทที่ท่านได้ซื้อผลิตภัณฑ์มา
Related Product(s)