มลภาวะทางเสียง (Noise pollution)
มลภาวะทางเสียง
คือ เสียงรบกวนที่มีเเหล่งกำเนิดมาจาก คน สัตว์ หรือเครื่องจักร์ เสียงเป็นอันตรายต่อหูคือเสียงที่เกิน 85 เดซิเบล ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการเข้าไกล้ในที่ที่มีเสียงดังเกินที่หูเราจะรับได้ เพราะอาจนำมาสู่อันตรายได้
แหล่งกำเนิดเสียง ที่เราสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวันจะมีมากมาย เช่น เสียงเครื่องบิน รถไฟ การก่อสร้าง ระบบการขนส่ง สัญญาณเตือนภัย เครื่องเจาะถนน และเเหล่งอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งเสียงเหล่านี้หากมีความดังเกิน 85 เดซิเบล ล้วนเเล้วเเต่เป็นอันตรายต่อหูของมนุษย์ หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า ภาวะมลพิษทางเสียง
ผลกระทบจากภาวะมลพิษทางเสียง
- ผลกระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
1.1 หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบล
1.2 หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
1.3 หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ - ด้านสรีระวิทยา เช่น ผลกระทบต่อระบบการหมุนเวียนของเลือด ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และความผิดปกติของระบบการหดและบีบลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
- ด้านจิตวิทยา เช่น สร้างความรำคาญ ส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน ผลต่อการทำงานและการเรียนรู้ รบกวนการสนทนาและการบันเทิง
- ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสงบ
- ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี
เครื่องวัดเสียงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วัดในสถานที่ที่เป็นเเหล่งกำเนิดเสียง เช่น สนามบิน การคมนาคม โรงงานอุตสาหกรรม หรือเเม้กระทั้งโรงเรียน ซึ่งเครื่องวัดเสียงจะทำให้เราสามารถรู้เเละวิเคราห์เสียง ณ ขณะนั้นว่า เหมาะสมกับมลภาวะทางเสียงที่หูคนรับได้หรือไม่ เมื่อเรารู้ผลของเสียงเเล้ว สามารถนำผลนั้นไปปรับปรุงเเก้ไขเเหล่งกำเนิดเสียง ให้มีระดับความดังเป็นไปตามที่กำหนด หรือ ไม่ดังเกิน 85 เดซิเบลได้ เพื่อผลกระทบจากมลพิษทางเสียงได้
Related Product(s)