บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

การคาลิเบรท (Calibration): คำถามที่พบ/มักจะถูกถามกันบ่อยๆ

LINEで送る

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!

◼ แล้วอะไรคือ 5 คำถามที่พบ หรือ มักจะถูกถามกันบ่อยๆ เกี่ยวกับการคาลิเบรท?
 Q: เราจะเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการอ้างอิง (Reference Equipment) สำหรับการคาลิเบรทได้อย่างไร (HOW DO YOU SELECT THE REFERENCE AND CALIBRATION EQUIOMENT?)
◼ Q: เครื่องมือวัดทุกตัวนั้น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องนำไปคาลิเบรท? 
 สรุปเกี่ยวกับการคาลิเบรท


การ “คาลิเบรท” คืออะไร

หากพูดถึงคำว่า “คาลิเบรท” หรือ “สอบเทียบ” คำสองคำนี้มักจะใช้กันในวงการอุตสาหกรรม, การผลิต, การวัดด้วยเครื่องมือวัดต่างๆ หรือแม้แต่ในอุปกรณ์

จากบทความเรื่อง ‘Top Five Most Asked Questions About Calibration’
โดยคุณ Mark Andrew Johnston จาก Industrial Automation Asia Megazine, 11 May 2017
แปลโดย ชัชวาล กิมเห, Engineer (B.S. Department), LEGA Corporation

อิเล็กโทรนิคต่างๆ ก็มักจะพบเห็นคำว่า คาลิเบรท อยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางท่านสงสัย หรือ ยังอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกันในคำว่าคาลิเบรท ระหว่างผู้ใช้งาน, เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย หรือ ฝ่ายจัดซื้อ ที่จำเป็นหรือต้องเกี่ยวข้องกับคำๆนี้ ในบทความนี้จึงอยากขอขยายความ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจเป็นแบบเดียวกับ เพื่อช่วยให้สื่อสาร และ ทำงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเราแปลมาจากบทความเรื่อง “5 คำถามที่พบมากที่สุดเกี่ยวกับการคาลิเบรท” โดยคุณ มาร์ค (Mark Johnston) จากนิตยสาร Industrial Automotive Asis ได้พูดคุยสอบถามกับ คุณ ชิมิสุ (Mitsuo Shimizu) และ คุณ ซาโต้ (Yoshinori Sato) ที่เป็นผู้จัดการ และ ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก Quality Assurance จากบริษัท Hioki E.E. Corporation เกี่ยวกับคำถามที่มักพบบ่อยในประเด็นนี้

สำหรับ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าของบริษัท Hioki นั้น ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลักใหญ่คือ กลุ่มเครื่องมือทดสอบแบบอัตโนมัติ (automatic test equipment), กลุ่มเครื่องบันทึกข้อมูล (data recording equipment), กลุ่มเครื่องมือวัดทางด้านไฟฟ้า (electronic measuring instruments) และ กลุ่มเครื่องมือวัดภาพสนาม (field measuring instruments) ซึ่งจะถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในทุกรูปแบบของลักษณะงานทางอุตสาหกรรม โดยทางบริษัทนั้นมีศูนย์บริการ และ ศูนย์สอบเทียบกว่า 5 แห่งทั่วโลก การคาลิเบรทจึงนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ได้มาซึ่ง ความแม่นยำ และ ผลลัพท์ในการวัดที่น่าเชื่อถือ

แล้วอะไรคือ 5 คำถามที่พบ หรือ มักจะถูกถามกันบ่อยๆ เกี่ยวกับการคาลิเบรท?

ทาง คุณ มิสุโอะ และ คุณ โยชิโนริ จะเป็นผู้อธิบายเรา ดังนี้


Q: เราจะทราบจุดที่ต้องใช้สอบเทียบได้อย่างไร? (How Do You Determine The Calibration Points?)
A: อันดับแรก, ทำตามคำแนะนำที่ทางโรงงานผู้ผลิตได้แจ้งไว้สำหรับผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือ ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนจุดสอบเทียบ ก็สามารถปรับแต่งเพิ่มจุดที่ต้องการคาลิเบรท เปรียบเทียบตามลักษณะงาน, ช่วงการใช้งาน/ช่วงการวัด ของผู้ใช้งาน ในการคาลิเบรทได้

Q: เราจะทราบเวลาที่จะต้องนำอุปกรณ์ไปสอบเทียบอีกครั้งได้อย่างไร? (HOW DO YOU DETERMINE THE CALIBRATION Period?)
A: อันดับแรก, ทำตามคำแนะนำที่ทางโรงงานผู้ผลิตได้แจ้งไว้สำหรับผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือ ถ้าหากว่าทางผู้ใช้งานมีการบันทึกข้อมูลของการคาลิเบรทไว้ในปีที่ผ่านมา เราสามารถนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ และ ปรับแต่งความถี่ในการนำผลิตภัณฑ์ไปสอบเทียบในครั้งต่อไป ด้วยระยะเวลาที่คล้ายๆกับที่เคยทำมาได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าแล้วนั้น, จะกำหนดระยะเวลาเป็นพื้นฐานไว้อยู่ที่ทุกๆ 1 ปี สำหรับการนำเอาผลิตภัณฑ์มาสอบเทียบ

 

Q: เราจะเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการอ้างอิง (Reference Equipment) สำหรับการคาลิเบรทได้อย่างไร (HOW DO YOU SELECT THE REFERENCE AND CALIBRATION EQUIOMENT?)
A: สำหรับการเลือกเครื่องมือวัดที่ใช้เป็นเครื่องมืออ้างอิงนั้น จะต้องมีสัดส่วนของค่าความแม่นยำ (Accuracy) ระหว่าง เครื่องมืออ้างอิง และ เครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบอยู่ที่ 4:1 โดยทางผู้ใช้งานอาจจะเลือกทำการคาลิเบรทได้ด้วยตัวเอง หรือ ส่งผลิตภัณฑ์ของผู้ใช้งานกลับมาที่ทางหนึ่งในศูนย์บริการและคาลิเบรทของเราก็ได้ ซึ่งทางเราไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องนำผลิตภัณฑ์กลับมาคาลิเบรทที่ทางศูนย์บริการเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการนำอุปกรณ์กลับมาคาลิเบรทที่ศูนย์บริการของ Hioki ก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

โดยสำหรับความหมายด้านบน ว่าลูกค้าสามารถคาลิเบรทได้ด้วยตนเอง หรือ ส่งมาคาลิเบรทที่ศูนย์บริการที่เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เราอยากขอขยายความว่า ทาง Hioki นั้นมีความสามารถในการซ่อมแซม และ ปรับแก้ค่า ผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เพื่อให้ทางลูกค้ามั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ยังคงทำงานได้อย่างดีที่สุด ซึ่งก็คือหนึ่งในส่วนของการบริการหลังการขายที่ทางเราเสนอให้แก่ทางลูกค้าผู้ใช้งาน ทาง Hioki นั้นมีศูนย์บริการและคาลิเบรทอยู่ถึง 5 แห่งทั่วโลก โดยศูนย์บริการที่ญี่ปุ่นนั้นสามารถที่จะรับบริการได้จากทุกที่ทั่วโลก ในขณะที่สิงคโปร์นั้นจะเป็นศูนย์บริการและคาลิเบรทที่ดูแลและให้บริการลูกค้าในโซน ASEAN


Q: เครื่องมือวัดทุกตัวนั้น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องนำไปคาลิเบรท?
(DO ALL TEST EQUIPMENT NEED TO BE CALIBRATED?)
A: เมื่อเกิดความต่างกันของความสามารถในการวัด หรือ ค่าที่วัดได้ แล้วความแตกต่างนั้นส่งผลกระทบต่องานของลูกค้า, อุปกรณ์ หรือ ผลิตภัณฑ์นั้นก็ควรจะต้องนำไปคาลิเบรท ยกตัวอย่างเช่น

 

  • เมื่อเราต้องการวัดค่าความต้านทานดิน (Earth Resistance) ภายหลังจากทำการติดตั้งสายดินในโรงงาน แล้วเราต้องการทำรายงานในค่าที่วัดได้อย่างเป็นทางการ
  • เมื่อเราต้องการวัดเพื่อคำนวนค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน และ ค่ากำลังไฟฟ้านั้นส่งผลต่อคุณภาพของกระบวนการทำงาน
  • เมื่อสายเคเบิ้ลที่ถูกสั่งผลิตจากทางโรงงานจำเป็นต้องถูกวัดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยฝ่ายควบคุมคุณภาพ, โดยวัดเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือ เทียบกับช่วงที่ยอมรับได้

สำหรับกรณีของผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นจะต้องนำไปคาลิเบรท ก็คือ ผลิตภัณฑ์ หรือฟังก์ชั่นในผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่องานของลูกค้า ไม่ได้ส่งผลกระทบในค่าที่แสดงผลหรือประสิทธิภาพของงาน ตัวอย่างเช่น

  • เมื่อต้องการวัดค่าความต้านทานดินภายหลังการติดตั้ง โดยต้องการเช็คแค่ว่าการเดินสายไฟมีจุดไหนที่เดินสายผิด หรือ สายขาดไม่ได้เชื่อมต่อหรือไม่
  • เมื่อต้องการวัดค่ากำลังไฟฟ้าในโรงงาน โดยวัดแค่ว่ามีการไหลของกำลังไปไฟฟ้าไปยังจุดนั้นหรือไม่
  • เมื่อต้องการวัดความยาวสายเคเบิ้ลที่สั่งผลิตจากโรงงาน (ซึ่งไม่ใช่ค่าที่มีความสำคัญต่องาน) โดยต้องการเช็คแค่ว่าอยู่ในช่วงที่ต้องการหรือไม่

 


 

Q: อะไรคือข้อดีของการคาลิเบรทตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 (WHAT IS THE ADVANTAGE OF ISO/IEC17025 CALIBRATION?)
A: ISO/IEC17025 คือมาตรฐานสากล สำหรับการสอบเทียบ หรือ คาลิเบรท ดังนั้น ค่าจากการคาลิเบรทที่ได้ระบุไว้ในใบ Certificate ที่มาจากการคาลิเบรทตามมาตรฐานจะได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการตามหลักสากล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการช่วยลดข้อเสียเปรียบในการขายสินค้า และ เพิ่มความน่าเชื่อถือในตัวผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น รวมถึงช่วยให้เราสามารถเข้าถึงการซื้อขายในระบบของราชการ,ทางภาครัฐ หรือ งานที่ต้องการการเทียบสเปคสินค้าได้ง่ายขึ้น

สรุปเกี่ยวกับการคาลิเบรท

สำหรับในประเทศไทยนั้น โดยส่วนใหญ่ความต้องการใบ Certificate ของสินค้านั้นจะเป็นประเด็นที่พบบ่อยครั้ง โดยลูกค้าจะต้องการสินค้าที่มีใบ Certificate มาด้วยในครั้งแรกที่ซื้อ ซึ่งในบางครั้ง เอกสารชิ้นนั้น เป็นเพียงแค่เอกสารยืนยันว่าเครื่องได้ผ่านการตรวจสอบจากทางโรงงาน จึงทำให้เป็นการเสียเวลาที่ต้องนำเครื่องกลับมาคาลิเบรทเพื่อรับเอกสารคาลิเบรทจากห้องทดลองอีกครั้ง ทางแก้ก็คือ การสอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายให้ชัดเจนเรื่องเอกสารการคาลิเบรท หรือ ระบุจุดประสงค์ว่าต้องการให้คาลิเบรทสินค้านั้นเลยเพื่อความสะดวกรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้ ทางเลกะคิดว่า ผู้อ่านจะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับคำว่าคาลิเบรท และ สามารถนำคำตอบตรงนี้ไปใช้เพื่อเป็นการวางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์ หรือ สินค้า สำหรับการคาลิเบรท ได้อย่างถูกต้อง


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดไฟฟ้าแบบต่างๆ คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

Related articles