เตือน 7 กลุ่มเสี่ยง หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำประปาเค็ม! จากสถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้ระบบผลิตน้ำประปาที่ใช้บริโภคเป็นประจำนั้น มี “โซเดียม” ปะปนมากับน้ำประปา ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่ารสมันเปลี่ยนจากปกติ เช่น มีรสกร่อย รสเค็ม ซึ้ง WHO หรือ องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดค่ามาตฐาน โซเดียม หรือ ความเค็มในน้ำประปาไว้ไม่ควรเกิน 200 mg/L หรือ 200 PPM และแน่นอนว่าในช่วงวิกฤตภัยแล้งปี 63 น้ำประปาจะเค็มยาวนานไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
Category: เครื่องวัดความเค็ม Salt meter
การตรวจวัดความเค็มของน้ำ (SALINITY) การตรวจวัดความเค็ม เป็นการตรวจวัดปริมาณเกลือที่ละลายน้ำที่พบในน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โดยมีหน่วยเป็นส่วนในหนึ่งพันส่วน (ppt ย่อมาจาก part per thousand) ความเค็มของน้ำทะเลของโลกมีค่าเฉลี่ย 35 ppt น้ำจืดมีค่าไม่เกิน 0.5 ppt น้ำกร่อยมีค่า 0.5 – 25 ppt ค่าความเค็มจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณหยาดน้ำฟ้า น้ำจากหิมะละลาย
PAL-Salt เเละ PAL – Salt Mohr คือ เครื่องวัดความเค็ม ที่ใช้หลักการวัดเเบบ Conductivity Method โดยสองรุ่นนี้จะมีลักษณะคล้ายๆกัน เเต่เเตกต่าง กันที่ PAL-Salt สามารถวัดได้ 0.00 to 10.0% ( g/100g ) เเละ PAL-Salt Mohr สามารถวัดได้ 0.00 to 10.0% ( g/100ml)
รสเค็มคืออะไร ? รสเค็ม คือ ธาตุโซเดียมในอาหารซึ่งมีหน้าที่ช่วยรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย ทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเป็นปกติ โดยโซเดียมที่ร่างกายได้รับร้อยละ 90-95% มาจากอาหารที่บริโภค ทั้งพืช และ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเครื่องปรุงรส(เค็ม) และอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม เช่น ผงชูรส, ผงปรุงรส, ผงฟู, เกลือ, น้ำปลา, ซีอิ๊ว, เต้าเจี้ยว, น้ำมันหอย, เครื่องปรุงรสต่างๆ เป็นต้น