PM 2.5 มาจากไหนบ้าง?
ละอองฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือประมาณ 1 ต่อ 25 ของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเส้น ด้วยขนาดที่เล็กจึงทำให้สามารถหลุดรอดจากการกรองด้วยขนจมูก แพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่น ๆ ซึ้งฝุ่น PM 2.5 มาพร้อมสารก่อมะเร็ง และสารโลหะหนัก เช่น แคดเมียม ปรอท อื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
Air Quality Index us AQI
AQI | PM 2.5 (มคก./ลบ.ม.) |
คุณภาพอากาศ | สี (สถาณะ) |
สถาณะ |
0 to 25 | 0 to 25 | ดีมาก | ฟ้า | เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว |
26 to 50 | 26 to 37 | ดี | เขียว | สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ |
51 to 100 | 38 to 50 | ปานกลาง | เหลือง | สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และระคายเคืองตา ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน |
101 to 200 | 51 to 90 | เริ่มส่งผลต่อสุขภาพ | ส้ม | ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองตา ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน หรือใช้อุปกรณ์ป้องกัน ส่วนผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ แล้วมีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ |
201 ขึ้นไป | 91 ขึ้นไป | มีผลต่อสุขภาพ | แดง | ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกอย่างหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ |
แหล่งที่มาฝุ่น PM 2.5 มาจาก
การเผาไร่นา การคมนาคมขนส่ง โรงงานผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต
รวมไปถึงก๊าซต่างๆ ในชั้นบรรยากาศโลกอย่าง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) และ อาร์เซนิก (As)
การผลิตไฟฟ้าสร้างฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 31,793 ตัน/ ปี
การคมนาคมขนส่งสร้างฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 50,240 ตัน/ ปี
โรงงานอุตสาหกรราสร้างฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 65,140 ตัน/ ปี
การเผาไร่นาสร้างฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 209,937 ตัน/ ปี
ผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ต่อสุขภาพ
• ไอ จาม
• ผู้ที่อาการภูมิแพ้ฝุ่น จะถูกกระตุ้นให้อาการรุนแรงมากขึ้น
• เกิดโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
• เกิดโรคหลอดเลือด และหัวใจเรื้อรัง
• เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด
• มีอาการผื่นคันบริเวณผิวหนัง
• มีอาการระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน
• เป็นลมพิษ (ใรายที่อาการรุนแรงอาจเกิดลมพิษบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ)
• ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น