บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

ทำไมค่าไฟฟ้าแพง

LINEで送る

อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย คิดยังไง?

บิลค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป การไฟฟ้าจะแบ่งใช้งานเป็นประเภทที่ 1 และจะมีการแยกย่อยออกไปอีกตามรายละเอียดการใช้งานและประเภทของมิเตอร์ดังต่อไปนี้

ประเภทที่ 1.1 อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

15 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมงแรก)
(หน่วยที่ 1 – 15)
หน่วยละ  2.3488 บาท
10 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 16 – 25)
หน่วยละ 2.9882 บาท
10 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 26 – 35)
หน่วยละ 3.2405 บาท
65 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 36 – 100)
หน่วยละ 3.6237 บาท
50 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 101 – 150)
หน่วยละ 3.7171 บาท
250 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 151 – 400)
หน่วยละ 4.2218 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย
(หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)
หน่วยละ 4.4217 บาท
ค่าบริการ (บาท/เดือน ): 8.19 บาท/เดือน

 

ประเภทที่ 1.3 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff ) เป็นการคิดค่าไฟตามเวลาที่กำหนด แบ่งเป็น On Peak กับ Off Peak ซึ่งมีราคาหน่วยและค่าบริการต่างกัน โดยอัตราค่าไฟกลางวันจะแพงกว่ากลางคืน ดังนี้

On Peak  : เวลา 09.00 – 22.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์
Off Peak  : เวลา 22.00 – 09.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์
  : เวลา 00.00 – 24.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์
วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ
(ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)

อัตราค่าไฟฟ้า

          – แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ : On Peak 5.1135 / Off Peak 2.6037 และค่าบริการ 312.24 บาท/เดือน

          – แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ : On Peak 5.7982 / Off Peak 2.6369 และค่าบริการ 24.62 บาท/เดือน

 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าบ้านเราใช้มิเตอร์ไฟแบบไหน?

เราสามารถตรวจสอบประเภทอัตราไฟฟ้าได้ในส่วนของข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้ไฟฟ้า จากตัวเลข ในช่องประเภท (Type) ของบิลค่าไฟฟ้าได้ เช่น

1115 คือ บ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

1125 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน

1.3.1 คือ ผู้ที่ใช้อัตราตามช่วงเวลา โดยมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ในช่วง 12-24 กิโลโวลต์

1.3.2 คือ ผู้ที่ใช้อัตราตามช่วงเวลา โดยมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์

 

บิลค่าไฟฟ้าประกอบไปด้วย

บิลค่าไฟฟ้าที่เราได้รับทุกเดือนจะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 3 ส่วน นั่นก็คือ

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้ไฟฟ้า

ข้อมูลในส่วนนี้เป็นข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวกับผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า วันและเวลาอ่านหน่วยค่าไฟฟ้าประจำเดือน

 

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า

ข้อมูลในส่วนนี้ประกอบด้วยเลขอ่านครั้งก่อน-หลังจากมิเตอร์ไฟฟ้า จำนวนหน่วยทั้งหมดที่ใช้ไป เป็นส่วนต่างจากตัวเลขการอ่าน และประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 6 เดือน พร้อมจำนวนหน่วยที่ใช้ไฟแต่ละเดือน

 

ส่วนที่ 3 : ค่าใช้ไฟฟ้าที่เรียกเก็บ

ส่วนสุดท้ายของบิลค่าไฟ ประกอบด้วย 4 ส่วนย่อย นั่นก็คือ ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าบริการรายเดือน ค่า Ft และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

          – ค่าพลังงาน : ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง สายจำหน่าย และค่าการผลิตไฟฟ้า

          – ค่าบริการรายเดือน : ค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายและการบริการผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือน เช่น ค่าใช้จ่ายในการจดหน่วยไฟฟ้า ค่าจัดทำและจัดส่งบิลค่าไฟฟ้า การรับชำระเงินค่าไฟฟ้า และงานบริการลูกค้า ในส่วนนี้ได้ดำเนินมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543

          – ค่า Ft (ค่าไฟฟ้าแปรผัน) : ค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าไฟฐาน โดยค่า Ft ตรงนี้จะมีการปรับทุก 4 เดือน โดยมี กกพ. เป็นผู้กำกับดูแล                                    

          – ค่าภาษี : ค่าภาษีมูลค่า 7% ที่เรียกเก็บตามกฎหมายที่กำหนด โดยการไฟฟ้าฯ จะนำส่วนนี้ส่งให้สรรพากรเป็นรายเดือน เพื่อนำไปรวมเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป

 

ทำไมค่าไฟฟ้าหน้าร้อนถึงแพงกว่าปกติ?

จากการคำนวณค่าไฟจะเห็นว่าการคิดค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้านั้น ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เราเสียค่าไฟเยอะได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะเราก็ใช้ไฟเยอะด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟขึ้นในแต่ละเดือนนั้นจะมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้

1. เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังไฟสูง ทำให้ค่าไฟขึ้น

ถึงแม้ว่าเราอาจจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ไม่กี่อย่าง แต่ถ้าไม่กี่อย่างนั้นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูง (วัตต์) ก็อาจจะทำให้ค่าไฟพุ่งมากกว่าบ้านที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบปกติก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นให้เรามาสำรวจว่าบ้านเรานั้นมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรที่มีกำลังไฟฟ้าสูงบ้าง เมื่อรู้แล้วเราก็เริ่มลดการใช้งานของเครื่องนั้นๆ ให้น้อยลงเพื่อเป็นการประหยัดไฟฟ้านั่นเอง เพราะฉนั้นหมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆของเราได้โดยใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้า 

2. ส่วนใหญ่ค่าไฟจะพุ่งในหน้าร้อน หรือตอนอากาศร้อนๆ

ตัวที่กินไฟที่สุดในหน้าร้อนก็เห็นทีจะไม่พ้นเครื่องปรับอากาศนี่แหละ จากสถิติประเทศไทยค่าไฟจะพุ่งสูงขึ้นในช่วงหน้าร้อน ทั้งนี้เพราะในหน้าร้อนนั้นจะทำให้ตัวคอมเพรสเซอร์แอร์นั้นทำงานหนักกว่าปกติ เพื่อปรับอุณหภูมิภายในห้องให้เย็นขึ้น เมื่อทำงานหนักขึ้นก็เกิดการกินไฟที่มากขึ้นนั่นเองค่ะ นี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ถึงแม้เราจะใช้ไฟเท่าเดิม แต่ค่าไฟก็อาจจะพุ่งขึ้นได้เช่นกัน
นอกจากนี้หากเราเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ ก็ทำให้ค่าไฟพุ่งสูงขึ้นได้ เพราะตู้เย็นก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็น ทำให้มีการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบอื่น เมื่อมีการใช้งานที่หนักเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เย็น ในสภาพอากาศที่ร้อน ก็จะทำให้ตู้เย็ฯทำงานหนักและกินไฟมากขึ้นนั่นเอง
 

3. มิเตอร์ไฟฟ้าเสีย หรือไฟฟ้ารั่ว

อีกอย่างหนึ่งที่เราอาจจะมองข้ามก็คือเรื่องของมิเตอร์ไฟฟ้าที่เสีย หรือ เกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วก็เป็นไปได้ เพื่อความปลอดภัยและถูกต้องจำเป็นต้องให้ผู้ชำนาญเรื่องไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบพร้อมทั้งใช้เครื่องมือวัดที่ได้มาตราฐาน
 
 
เครื่องมือวัดค่าพลังงานไฟฟ้า
 

HIOKI CM3286-50 AC แคลมป์เพาเวอร์มิเตอร์ AC 600A | AC 600V (True RMS)

AC CLAMP POWER METER แคลมป์เพาเวอร์มิเตอร์ True RMS
รองรับการวัดกระแสไฟฟ้าที่ช่วง AC 600A และแรงดันไฟฟ้าที่ช่วง AC 600V
รองรับการวัด Voltage, Current, Power, Power factor, Phase angle, Reactive power or frequency และยังสามารถตรวจสอบลำดับเฟสในระบบ Single-phase, 3-phase

 

Hioki – PW3360-20, 21 Power Logger

PW3360 PW3365

PW3360 เครื่องวัดและบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้า เหมาะสำหรับการวัดอัตราการใช้ไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้า, เครื่องจักรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม ด้วยความสามารถในการวัด 1P2W, 3P3W และ 3P4W พร้อมสามช่องสัญญาณสำหรับการวัดกระแส จึงสามารถรองรับการวัดค่าแรงไฟฟ้าได้ทั้งแบบ 1 เฟส (ระบบไฟบ้านและที่อยู่อาศัย) และ 3 เฟส (ระบบไฟในโรงงานอุตสาหกรรม) ซึ่งการวัดอัตราการใช้ไฟนั้นจะช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าไฟ, ค่าซ่อมบำรุง เป็นต้น

 

Hioki – PW3365-20 Power Logger

PW3365 เครื่องวิเคราะห์ไฟฟ้าที่นำความปลอดภัยและความสะดวกสบายไปอีกขั้นด้วยการเป็นเครื่องวัดกำลังไฟฟ้าแบบไม่สัมผัสโลหะเครื่องแรกของโลกที่ใช้แคลมป์วัดแรงดันไฟฟ้าที่ครอบคลุมอย่างสมบูรณ์ซึ่งสามารถต่อกับส่วนใด ๆ ของสายเคเบิลหรือบัสบาร์ (busbar) ทำให้สามารถตรวจสอบความต้องการพลังงานและพารามิเตอร์พลังงานอื่น ๆ เพื่อช่วยในการตรวจสอบพลังงานและตรวจสอบมาตรการประหยัดพลังงานโดยไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจรและการขัดจังหวะในระหว่างการทำงานหรือเกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเนื่องจากไฟฟ้า

 

Hioki – PQ3100 Power Quality Analyzer

PQ3100

Hioki PQ3100 POWER QUALITY ANALYZER เครื่องวิเคราะห์และบันทึก Power Analyzer พร้อมกันในเครื่องเดียว

3-Phase 4-Wire Power Quality Analyzer, IEC61000-4-30 Class S
หน้าจอ 6.5-inch TFT color LCD (640 × 480 dots)
มาตรฐาน 1000VAC (CATIII), 600VAC (CAT IV)
บันทึกข้อมูลด้วย SD Card

 

Hioki – PQ3198 Power Quality Analyzer IEC 61000-4-30 Ed. 2 Class APQ3198

Hioki PQ3198 เครื่องวิเคราะห์ไฟฟ้า POWER QUALITY ANALYZER

PQ3198 เครื่องวิเคราะห์คุณภาพพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่จาก HIOKI ที่ออกแบบมาสำหรับการมอนิเตอร์และบันทึกค่ากำลังไฟฟ้าที่ผิดปกติ ที่สามารถตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถประเมินปัญหาของกำลังไฟ เช่น แรงดันไฟฟ้าตก, flicker, harmonics, และปัญหาอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชั่นใหม่ที่รวบรวมความสามารถในการอ่านค่าจากเซนเซอร์และเพิ่มความจุในการบันทึกข้อมูล

PQ3198 มาพร้อมกับสเปคระดับ high-end และความน่าเชื่อถือในการตรวจจับความผิดปกติของพลังงานไฟฟ้า และยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงได้อย่างแม่นยำ

มาตรฐาน IEC6100-4-30 Class A ในการตรวจสอบปัญหาไฟฟ้า
ความแม่นยำในการวัดค่า Voltage สูงสุดถึง ±0.1%
วัดค่าได้สุงสุดถึง 6000 A AC | 6000 V peak | voltage 700 kHz
รองรับโพรบ, แคลมป์ ในการวัด High-voltage ได้หลากหลาย
วัดค่ากำลังไฟฟ้าแบบสองระบบในการคำนวณ Ch1, Ch2, Ch3, Ch4
ในชุดมาพร้อมโพรบ CT7045 × 4 (รองรับ 6000 A)

 

เครื่องทดสอบไฟฟ้ารั่ว

HIOKI CM4003 แคลมป์วัดไฟรั่ว AC Leakage Current 200A (True RMS)

แคลมป์มิเตอร์วัดไฟรั่ว True RMS รองรับการวัดค่ากระแสได้ครอบคลุมตั้งแต่ 6.000 mA ถึง 200.0 A รองรับการวัด AC Current, AC Voltage, Crest factor, Frequency นอกจากนี้เมื่อใช้งานร่วมกับ Z3210 (แยกจำหน่าย) ตัวเครื่องยังสามารถเชื่อมต่อกับ Smartphone แบบไร้สายผ่าน Bluetooth® พร้อมฟังก์ชั่นการวัดค่า Harmonic ปากแคลมป์ใหญ่ถึง ø40 mm พร้อมด้วยมาตรฐาน IEC/EN 61557-13 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของ Leak Clamp Meters และ  มาตรฐานความปลอดภัย CAT III 300 V

 

HIOKI CM4002 แคลมป์วัดไฟรั่ว AC Leakage Current 200A (True RMS)

แคลมป์วัดไฟรั่ว AC LEAKAGE CLAMP METER True RMS
ช่วงการวัด AC Current: 6.000 mA ถึง 200.0 A, 6 ranges
ช่วงความถี่กว้างตั้งแต่ 15.0 Hz ถึง 2000 Hz
Max/ Min/ AVG/ PEAK MAX/ PEAK MIN value display
ขนาดของแคลมป์ ø40 mm
มาตรฐาน CAT IV 300 V,CAT III 600 V

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวิเคราะห์ไฟ คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @LEGA

Related articles