การถ่ายเทของอากาศลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่?
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติในอากาศ นอกจากนั้นยังเป็นลมหายใจของพันธุ์พืช และต้นไม้นานาชนิด คอยป้อนออกซิเจนให้กับมนุษย์และรับคาร์บอนไดออกไซด์จากมนุษย์ ซึ่งเป็นอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมา แต่รู้มั้ยว่า? คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ภายในอาคาร เช่น โรงงาน สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ห้องเรียน โรงหนัง ห้องประชุมสัมมนา และสถานที่ภายในอาคารอื่นๆ ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อาจมีความหมายที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ค่า CO2 ภายในอาคาร และละอองลอย (Aerosol) ของไวรัสโควิด-19
ละอองลอย (Aerosol) คือ
- • ละอองลอยมีขนาดเล็กกว่า 60 ไมครอน (นิยามเฉพาะโควิด เนื่องจากเป็นขนาดที่เรมิ่ ลอยตัวในอากาศได้)
- • เกิดจากการหายใจ หรือ หยดละออง (droplet) บางส่วนของการพูดคุย ไอ จาม เกิดการระเหยจนมีขนาดเล็ก
- • มีระยะการกระจายตัวมากกว่า 1.5 เมตร และสามารถสะสมได้ภายในห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท
- • สามารถเข้าสู่ร่ายกายของมนุษย์ผ่านการหายใจและเข้าถึงถุงลมปอดได้
หลักฐานการแพร่เชื้อผ่านละอองลอย (aerosol) ของโควิด-19
- • ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ยืนยันความเสี่ยงในการติดโรคจากการรวมตัวของผู้คนจำนวน มากภายในอาคาร แม้ไม่มีการไอ จาม โดยหลายประเทศได้พบหลักฐานในลักษณะเดียวกัน
- • มีการพิสูจน์เกี่ยวกับไวรัสของโรคโควิด 19 ที่สามารถอยู่ในรูปแบบของละอองลอยได้หลายชั่วโมง
- • เหตุการณ์แพร่กระจายของไวรัสใหญ่ ๆ (superspreading) หลายครั้งพบว่า สภาวะที่เป็นห้องปิดและมีการถ่ายเทอากาศน้อย (Air change rate, ACH ต่ำกว่า 0.8 ต่อชั่วโมง)
- กรณีของร้านอาหารกวางโจว
- Skagit Valley Chroale
- • หลายงานวิจัยได้ยืนยัน การแพร่กระจายโรคโควิด 19 จากละอองลอย (aerosol)
• การแพร่กระจายผ่านละอองลอยถูกยืนยันโดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป (ECDC) และสถาบัน Robert Koch ของเยอรมันที่พบการฟุ้งกระจายของโควิดในระบบระบายอากาศ
• จดหมายเปิดผนึกจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 239 คน ถูกส่งให้ WHO เกี่ยวกับการติดเชื้อผ่านละอองลอย
• WHO ยอมรับและเพิ่มลักษณะการแพร่กระจายโดยละอองลอยในรูปแบบของการกระจายไวรัสโควิด 19 ในเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ที่มา:link
“ในสถานการณ์ปัจจุบัน (เขียนเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564) ที่มีแพร่ระบบของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ที่ค่า R0 = 5-9 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย และหากภายในอาคารอากาศถ่ายเทต่ำ หากหนึ่งในนั้นเป็นผู้แพร่เชื้อทุกคนที่อยู่ภายในอาคารมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัสที่แพร่ตามอากาศภายในอาคาร” ที่มา: link
ทำไมระดับ CO2 และการถ่ายเทอากาศถึงมีความสำคัญ?
เพราะระดับความเข้มข้นของ CO2 ภายในอาคารนั้นสามารถบอกได้ว่าการระบายอากาศในอาคารดีหรือไม่ ในกรณีทีค่า CO2 ภายในอาคารสูงแสดงถึงการหมุนเวียนอากาศที่ไม่ดีหรือมีอากาศหมุนเวียนต่ำ และเมื่อ CO2 ในอาคารเพิ่มขึ้นค่าความชื้นภายในอาคารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากภายในอาคารไม่มีการระบายอากาศ และความชื้นที่เพิ่มสูงยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา ไรฝุ่น หรือแม้แต่เชื้อโรคและไวรัสต่าง ๆ ที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศ อันเป็นอันตรายต่อผู้มีอาการภูมิแพ้ หอบหืด และผู้อาศัยภายในอาคาร
SK Sato SK-50CTH เครื่องตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 Monitor
เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มาพร้อมหน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่ 226 x 152 mm แสดงผลค่าการวัด 3 ฟังก์ชั่นพร้อมกัน ดังนี้ 1. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 2. ค่าการวัดอุณหภูมิ 3. ความชื้นสัมพัทธ์ นอกจากนี้ยังมาพร้อมคำแนะนำการแจ้งเตือนตามระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ด้วยแถบไฟ LED 3 สี ดังนี้ สีเขียว (ปลอดภัย), สีเหลือง(ควรเริ่มการระบายอากาศ), สีแดง(ระบายอากาศทันที) และเสียงแจ้งเตือนเมื่อค่าความเข้นข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงเกินกว่า 1,001 ppm ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตหากสูดดมเป็นเวลานาน
“โดยเฉลี่ยแล้วเราหายใจออก และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 35 to 50K ppm ต่อวัน และจากการทดลองพื้นที่ปิดขนาด 3.5 x 4 เมตร มีคนอยู่ในห้องเพียงหนึ่งคนที่ปราศจากระบบระบายอากาศ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้นจาก 500 ppm เป็น 1,000 ppm ภายในระยะเวลาเพียง 45 นาที”
คาร์บอนไดออกไซด์ภายในอาคาร
อาคารสำนักงาน โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์ประชุมต่างๆ ได้มีการติดตั้งระบบ HVAC (ระบบทำความเย็นส่วนกลาง: ระบบทำความร้อน การระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ) สำหรับการหมุนเวียนอากาศภายในอาคาร และในกรณีที่ไม่มีการนำอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่อาคาร หรือไม่มีการเปิดใช้งานระบบเป็นประจำจะทำให้ค่า CO2 ภายในอาคารสูงขึ้น เมื่อค่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อผู้อาศัยภายในอาคาร เช่น การหาวเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้ร่างกาย และอาการง่วงนอน
Impact of CO2 on Human Decision Marking Performance
จากรูปคือผลของห้องทดลองแห่งชาติ Lawrence Berkeley (Berkeley Lab) ของ Department of Energy ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการสูดดมคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ภายในอาคารต่อการตัดสินใจของผู้อยู่อาศัย ตามตารางจะเป็นว่าค่า CO2 ที่ 1,000 ppm มีการรับรู้และความรู้ความเข้าใจลดลงถึง 15% เมื่อเทียบกับ CO2 ในระดับ 600 ppm และการทดสอบความเข้มข้นของ CO2 ที่ระดับ 2,500 ppm การรับรู้และความรู้ความเข้าใจลดลงมากถึง 50% (ที่มา: link)
“การสูดดมคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นเวลานานอาจส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า ความสามารถทางการรับรู้ลดลง และมีอาการปวดหัว”
Related Product(s)