ก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ก๊าซ กับ แก๊ส เหมือนกันหรือไม่?
-
• ก๊าซ นั้นเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ คือ ก๊าซที่มาจากธรรมชาติซึ่งไม่ผ่านการแปรรูปใด ๆ
-
• แก๊ส คือ ก๊าซธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูป เช่น การใส่กลิ่นลงไป โดยปกติแล้วเราจะได้ยินคำว่า แก๊ส กันทั่วไปไม่ว่าจะเป็น แก๊สหุงต้ม หรือ แก๊สที่ติดในรถยนต์
ลักษณะทั่วไปของ ก๊าซ นั้นส่วนใหญ่จะไม่มีกลิ่น ไม่มีสีและโปร่งใส โดยสถานะของก๊าซจะเป็นไอที่ลอยอยู่ในอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะฟุ้งกระจายไปตามบรรยากาศอย่างรวดเร็ว
ก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิต
ก๊าซในธรรมชาตินั้นมีมากมายหลายชนิด ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตหากเกิดการรั่วไหล ได้แก่ ก๊าซติดไฟ และ ก๊าซมีพิษ
-
ก๊าซติดไฟ (Combustible Gas) คือ ก๊าซที่หากมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงของการจุดติดไฟ จะเกิดการระเบิดหรือติดไฟขึ้น โดยมีองค์ประกอบด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่ เชื้อเพลิง (Fuel), ก๊าซออกซิเจน (Oxygen) และแหล่งจุดไฟ (Ignition Source) ซึ่งก๊าซแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการจุดติดไฟต่างกัน ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการจุดติดไฟของสารไวไฟตั้งแต่ Lower Explosive Limit (LEL) จนถึง Upper Explosive Limit (UEL) ของก๊าซแต่ละชนิด
Gas Chemical formula Molar mass Specific weight LEL (vol%) UEL (vol%) Hydrogen H2 2.01 0.07 4 75 Methane CH4 16.04 0.55 5 15 Propane C3H8 44.1 1.52 2 9.5 iso-Butane (LPG) i-C4H10 58.1 2.01 1.8 8.4 Benzene C6H6 78.11 2.7 1.2 7.1 Hydrogen Sulfide H2S 34.4 1.19 4 44 Carbon monoxide CO 28 0.97 12.5 74 (ตัวสีแดงกำหนดค่าเป็น %LEL หรือ vol% ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ของก๊าซแต่ละชนิด)
-
ก๊าซมีพิษ (Toxic Gas) คือ ก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายทันที ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนังโดยการสัมผัส หรือ ทางอากาศจากการหายใจหรือสูดดม ซึ่งบางชนิดนั้น “ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในทันที” ที่มีการเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งก๊าซพิษอันตราย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
-
-
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่หากรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณที่มาก อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
-
ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) ถ้าสูดหายใจเข้าไปอาจทำให้หมดสติ ชัก และอาจทำให้เสียชีวิตภายในเวลาแค่ 5 นาที แต่ถ้ารับในปริมาณเล็กน้อย อาจทำให้มึนงง หายใจเร็ว อาเจียน หน้าแดง ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นเร็ว
-
ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ หรือก๊าซไข่เน่า (Hydrogen sulfide) ซึ่งหากใครได้รับก๊าซพิษประเภทนี้อย่างฉับพลันและในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการคลื่นไส้ หายใจติดขัด เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน หากรับไปในปริมาณมากอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
-
ก๊าซน้ำตา (Lachrymator หรือ Tear gas) ซึ่งก๊าซชนิดนี้เป็นอันตรายต่อเส้นประสาทตา ที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบที่ตา มีอาการน้ำตาไหลสมชื่อก๊าซน้ำตา ถ้าความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศสูง อาจทำให้เกิดอาการปวดบวมน้ำ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
-
ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia) ถ้ารับแอมโมเนียในปริมาณในระดับกลางจะทำให้จาม น้ำตาไหล แสบคอ ไอมีเสมหะ สำลัก หายใจติดขัด เสียงแหบ แต่ถ้าความเข้มข้นสูงอาจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้
-
-
ในส่วนของก๊าซที่เป็นพิษต่อร่างกายเรา ถ้าร่างกายได้รับก๊าซนี้มากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งน้อยคนมากที่จะรู้ว่าก๊าซพิษเหล่านี้มีอะไรบ้าง แล้วอันตรายจากก๊าซเหล่านี้ส่งผลอะไรต่อร่างกายของเราบ้าง
โดย “The American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH)” มีการจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีหรือก๊าซต่าง ๆ ไว้ด้วยค่า TLV (Threshold Limit Value) เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับสารเคมีหรือก๊าซเหล่านี้ โดยยังมีการแบ่งย่อยตามลักษณะของการได้รับสารไว้ ได้แก่
-
-
TLV-TWA (Time Weighted Average) ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของสารเคมีในอากาศที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน คิดที่ 8 ชั่วโมง/วัน หรือ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์
-
TLV-STEL (Short Term Exposure Limit) ค่าความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในอากาศที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ในระยะเวลาสั้น ๆ คือ 15 นาที และ ที่ได้รับซ้ำไม่เกิน 4 ครั้ง/วัน (ห่างกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/ครั้ง)
-
TLV-C (Ceiling Exposure Limit) ค่าขีดจำกัดสูงสุดของสารเคมีในอากาศที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน จะต้องไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ของการทำงาน
-
โดยมีการกำหนดค่าของสารเคมีหรือก๊าซต่าง ๆ ไว้เป็น PPM (Part Per Million) หรือ 1 ใน 1,000,000 ตัวอย่างก๊าซพิษดังนี้
Name formula | Chemical formula | TLV-TWA | TLV-STEL | TLV-C |
Ammonia | NH3 | 25ppm | 35ppm | – |
Carbon dioxide | CO2 | 5000ppm | 30,000ppm | – |
Carbon monoxide | CO | 25ppm | – | – |
Hydrogen cyanide | CHN | – | – | 4.7ppm |
Hydrogen sulfide | H2S | 1ppm | 5ppm | – |
Isophorone | C9H14O | – | – | 5ppm |
Methanol | CH4O | 200ppm | 250ppm | – |
(อ้างอิง ACGIH 2018)
ก๊าซอะไรที่จำเป็นต่อร่างกาย?
นอกจากก๊าซที่ส่งผลเสียและก่ออันตรายต่อสุขภาพและร่างกายของเราแล้ว ก็ยังมีก๊าซที่จำเป็นต่อร่างกายของเราเช่นกัน อย่างที่รู้กันว่า ก๊าซออกซิเจน (O2) นั้นจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ และยังรวมไปถึงพืชและสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกับเราด้วย
โดยทั่วไปนั้นอากาศรอบตัวเราจะมีก๊าซออกซิเจนอยู่ที่ 21% และจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูง-ต่ำจากพื้นดิน ซึ่งหากเป็นบนยอดเขาจุดสูง ๆ ระดับค่าออกซิเจนก็จะลดลง รวมถึง อุโมงค์, เหมืองแร่, หรือท่อต่าง ๆ ร่างกายของคนเราจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในระดับค่าออกซิเจนที่ 21% หากค่าออกซิเจนลดต่ำลงร่างกายจะเริ่มเกิดอาการผิดปกติ และหากค่าออกซิเจนลดต่ำลงน้อยกว่า 6% ทำให้เสียชีวิตได้
|
|
|
|
|
|
การป้องกันค่าออกซิเจนลดต่ำ
สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องเข้าทำงานในพื้นที่อับต่าง ๆ เช่น เหมืองแร่, ท่อใต้ดิน, อุโมงค์ ผู้ปฏิบัติงานก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องวัดค่าออกซิเจนติดตัวลงไปด้วย หรือมีการตรวจสอบค่าออกซิเจนก่อนที่จะเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
ป้องกันก๊าซรั่วได้อย่างไร?
แน่นอนว่าการป้องกันก๊าซรั่วนั้นเราทำได้โดยการคอยตรวจสอบอุปกรณ์ที่บรรจุก๊าซต่าง ๆ เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ แต่หากเกิดการรั่วไหลขึ้นมาเราจะรู้ได้อย่างไร? โดยเฉพาะกับก๊าซบางชนิดที่ไม่มีสีและกลิ่น ซึ่งหากเกิดการรั่วไหลกว่าเราจะรู้ตัวได้อาจเกิดความสูญเสียต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้
ดังนั้นในการป้องกันก๊าซรั่วของอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงมักจะใช้เครื่องวัดค่าความเข้มข้นของก๊าซชนิดนั้น ๆ ที่มีการใช้งานอยู่ ได้แก่ เครื่องวัดค่า LEL เพื่อป้องกันการเกิดระเบิด หรือ เครื่องวัด CO2 เพื่อวัดระดับความเข้มข้นของค่า CO2 ในพื้นที่นั้น ๆ เป็นต้น
เครื่องวัดก๊าซมีอะไรบ้าง?
เครื่องวัดก๊าซสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 รูปแบบ คือ
-
เครื่องวัดก๊าซแบบติดตั้ง (Fixed Gas Detector) เป็นเครื่องแบบติดตั้งอยู่กับที่มักจะนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมตรงจุดที่มีการใช้งานหรือถังบรรจุก๊าซ
-
เครื่องวัดก๊าซแบบพกพา (Portable Gas Detector) เป็นเครื่องขนาดเล็กเหมาะสำหรับติดไว้กับตัวผู้ปฏิบัติงานเพื่อวัดค่าแบบ Real-Time
มีความสนใจซื้อเครื่องวัดก๊าซ ต้องทำอย่างไร?
การซื้อเครื่องวัดก๊าซนั้น ลูกค้าสามารถแจ้งทางฝ่ายขายของเราได้เลยครับ เพียงแค่ลูกค้าแจ้งความต้องการคือ
-
ก๊าซที่ต้องการวัดค่า
-
ประเภทของเครื่องวัด (แบบติดตั้งหรือแบบพกพา)
-
รูปเครื่องวัดก๊าซที่เคยใช้งาน (ถ้ามี)
Related Product(s)