บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

วิธีการใช้เครื่อง “Sensorex Model C110” เพื่อสอบเทียบ/ตรวจสอบ เครื่องวัดพีเอช/โออาร์พี

LINEで送る

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!

 Sensorex C110
 การใช้ Sensorex C110 สำหรับการตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่อง pH/ORP
 ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมเครื่อง Sensorex C110 และ เชื่อมต่อกับเครื่องวัด พีเอช หรือ โออาร์พี
ขั้นตอนที่ 2. การเช็คเครื่องวัดพีเอช และ โออาร์พี ด้วยเครื่อง Sensorex C110
ขั้นตอนที่ 3. การปรับค่า เครื่องพีเอช หรือ โออาร์พี ด้วยเครื่อง Sensorex C110
 บทสรุป


SENSOREX-0216-HIRES-17-500x500 SENSOREX-0216-HIRES-16-500x500 SENSOREX-0216-WEB-49-500x500

บทความโดย ชัชวาล กิมเห, Product Specialist, LEGA Corporation


 

Sensorex C110: pH/mV Checker/Simulator หรือ เครื่องจำลอง/ตรวจสอบค่า พีเอช/โออาร์พี(มิลลิโวลท์) คือ เครื่องที่สามารถใช้ในการสอบเทียบ หรือ ตรวจสอบผลจากการสอบเทียบของเครื่องวัด pH หรือ ORP ได้ โดยบทความนี้ เราจะมาดูวิธีการใช้งานเครื่อง Sensorex รุ่น C110 ว่ามีขั้นตอนการใ้ชงานอย่างไร และสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง

 

การใช้ Sensorex C110 สำหรับการตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่อง pH/ORP

เครื่องวัดพีเอช หรือ โออาร์พี นั้น เป็นเครื่องที่มีการใช้งานที่ค่อนข้างบ่อย และอาจพบปัญหาในการตรวจสอบว่า เครื่องวัดค่า พีเอช หรือ โออาร์พี นั้น ยังมีสภาพการใช้งานที่อยู่ในค่าความคลาดเคลื่อนเป็นปกติหรือไม่ โดยปกติเราจะนิยมใช้โดยการเทียบกับ สารละลายที่เรารู้ค่าพีเอช หรือ โออาร์พี ที่แน่นอน เช่น พีเอชบัฟเฟอร์(pH Buffer) หรือ สารละลายโออาร์พี ซึ่งการตรวจสอบโดยทั่วไป จะใช้ อย่างน้อย 2 ค่า พีเอช เช่น pH 7 และ pH 4 เป็นต้น โดยบางครั้ง ผู้ใช้งานอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น วัดค่าพีเอชที่สารละลาย pH 7  แล้ว ลืมล้างหัวโพรบให้สะอาดก่อนน้ำไปวัด pH 4 ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อนขึ้นในสารละลาย ทำให้สารละลายพีเอช มีความเจือจาง เมื่อเราทำการวัดซ้ำไปหลายครั้ง ค่าที่เราวัดได้จะผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการวัด และผลลัพท์ที่เกิดจากการวัดที่ผิดพลาดอาจส่งผลที่เสียหายต่องานได้ ดังนั้น การตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่อง พีเอช หรือ โออาร์พี เบื้องต้น เราสามารถทำได้ โดยใช้ Sensorex C110 ดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมเครื่อง Sensorex C110 และ เชื่อมต่อกับเครื่องวัด พีเอช หรือ โออาร์พี

เตรียมเครื่อง Sensorex รุ่น C110 โดยใส่แบตเตอรี่ที่ด้านหลังของเครื่อง สำหรับเครื่อง Sensorex C110 ใช้แบตเตอรี่ขนาด 9 โวลท์ ดังภาพ

 

sfsdkjfnrnr

 

เมื่อใส่แบตเตอรี่เรียบร้อยแล้ว เชื่อมต่อสายเคเบิ้ลสีดำ ที่เป็นหัวต่อชนิด BNC เข้ากับเครื่อง Sensorex รุ่น C110 ดังภาพ

 

ehfbhhbrhbf

 

หลังจากนั้น เชื่อมต่อสายอีกด้านไปที่ เครื่องมือวัด พีเอช หรือ โออาร์พี แล้วแต่ชนิดของเครื่องที่เราต้องการวัด ดังภาพตัวอย่าง เราต้องการตรวจสอบเครื่องวัด พีเอช หากเครื่องมือวัดดังกล่าวมีอิเล็กโทรด หรือ มีโพรบติดอยู่ ให้ถอดออกจากเครื่องวัดพีเอช หรือ โออาร์พี ก่อนเชื่อมต่อกับ Sensorex รุ่น C110

 

fiwwbererf
IMG_0289

 

ขั้นตอนที่ 2. การเช็คเครื่องวัดพีเอช และ โออาร์พี ด้วยเครื่อง Sensorex C110

จากขั้นตอนที่ 1 เมื่อเราติดตั้งอุปกรณ์กับเครื่องมือเรียบร้อยแล้ว เราจะทำการตรวจสอบเครื่องวัดพีเอช หรือ โออาร์พี โดยเริ่มต้นจากการเปิดการทำงานของเครื่อง Sexsorex รุ่น C110 ที่ปุ่ม pH หรือปุ่ม mV. แล้วแต่ค่าที่เราต้องการ ดังภาพแสดงการกดปุ่ม pH 7 เพื่อตรวจสอบเครื่อง โดยสำหรับเครื่องวัด พีเอช นั้น ให้เราทำการกดปุ่ม “HIGH Ω” ด้วย เพื่อจำลอง โหลดความต้านทานภายในของอิเล็กโทรดวัดค่าพีเอช (โหลดประมาณ 1000 MΩ) ซึ่งสำหรับการวัดค่า โออาร์พี ไม่จำเป็นต้องกด HIGH Ω เนื่องจากโพรบวัด โออาร์พี มีค่าความต้านทานภายในต่ำ

 

afgagr
IMG_0291

 

ซึ่งเมื่อเรากดที่ปุ่มค่าพีเอชต่างๆจากเครื่อง Sensorex รุ่น C110 สิ่งที่แสดงขึ้นบนหน้าจอเครื่องวัดค่าพีเอชนั้น จะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความแม่นยำของเครื่อง ณ ขณะนั้น ซึ่งข้อมูลที่เราได้นี้ จะสามารถใช้ในการคาลิเบรท หรือ การปรับค่า สำหรับเครื่องวัดพีเอช หรือ โออาร์พี ทั้งแบบ ปรับแมนวล (Manual) หรือ แบบ อัตโนมัติ (Auto Calibration) โดยวิธีการปรับค่าเราจะอธิบายในลำดับถัดไป

 

ขั้นตอนที่ 3. การปรับค่า เครื่องพีเอช หรือ โออาร์พี ด้วยเครื่อง Sensorex C110

เมื่อเราทราบว่าเครื่องมือวัดของเรามีสภาพเป็นอย่างไรแล้ว สิ่งที่เราสามารถทำเพื่อแก้ไขความแม่นยำของเครื่องให้กลับมาดีขึ้นก็คือ การปรับค่า ซึ่งสำหรับเครื่องวัดพีเอชนั้น หลักก็จะมีอยู่ 2 แบบ ก็คือ การปรับค่าแบบ อัตโนมัติ (Auto Calibration) หรือ การปรับค่าแบบ แมนวล (Manual) โดยวิธีการปรับค่าด้วยเครื่อง Sensorex รุ่น C110 นั้นทำได้โดย การเชื่อมต่อ Sensorex รุ่น C110 เข้ากับ เครื่องวัดพีเอช จากนั้น กดปุ่มค่า พีเอช เราจะเห็นค่าที่แสดงขึ้นว่าห่างจากค่าที่เรากดปุ่มไว้เท่าไหร่ สำหรับการปรับค่าแบบ อัตโนมัตินั้น สามารถปรับได้ตามคู่มือของแต่ละเครื่อง โดยเริ่มที่การกดปุ่ม “pH 7” ตามด้วย “pH 4” หรือ “pH 10” ก็ได้ เมื่อทำการปรับค่าเสร็จ ให้ตรวจสอบอีกครั้งโดยการกดปุ่ม pH ต่างๆ แล้วตรวจสอบว่าค่าที่ออกมาจากหน้าจอตรงกับปุ่มที่กดแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ สำหรับการปรับแบบ แมนวล นั้น ให้เราเริ่มโดยการปรับที่ค่า พีเอช 7 เป็นอันดับแรกเช่นกัน โดยการกดปุ่ม “pH 7” ที่เครื่อง Sensorex C110 หลังจากนั้นใช้ไขควง บิดเพื่อการปรับค่า (เครื่องวัดพีเอช ที่ปรับค่าได้แบบแมนวลส่วนใหญ่ ใช้ ไขควงขนาดเล็กในการปรับค่า) ดังรูปช่องที่มีเขียนระบุว่า “CAL.”

 

 

และในส่วนของการปรับค่าพีเอช 4 และ 10 นั้น ใช้วิธีการบิดด้วยไขควงขนาดเล็กในช่องที่เขียนว่า “SLOP.” โดยการปรับค่าในช่องนี้ ค่า พีเอช 4 กับ 10 จะเป็นสับส่วนที่สลับกัน กล่าวคือ หากเราปรับค่าเข้าใกล้ พีเอช 4 มากเท่าไหร่ ค่าพีเอช 10 ก็จะห่างออกไป และ ในทางกลับกัน หากปรับค่าเข้าใกล้ พีเอช 10 ค่า พีเอช 4 ก็จะห่างออก (ตามทฤษฎีของเครื่องวัดพีเอช) แต่อย่างไรก็ตาม ค่าที่ผิดเพื้ยนนี้ ไม่ได้ส่งผลมากเพราะว่าอยู่ในค่าความแม่นยำของเครื่องที่โรงงานออกแบบมาอยู่แล้ว

และในเครื่องวัด โออาร์พี ลักษณะการปรับก็ไม่แตกต่างกับเครื่อวัดพีเอชมากนัก โดยการใช้งานคือ การกดที่ปุ่ม +mV และ -mV จากนั้นปรับค่าด้วยไขควงบิด (แบบแมนวล) หรือ แบบ อัตโนมัติ (Auto Calibration) ค่าที่ปรับคือต้องให้ตรงกับ +700 และ -700 mV

หลังจากทำการปรับค่าเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบซ้ำอีกครั้งโดยการกดปุ่มค่าพีเอช หรือ โออาร์พี ต่างๆบนเครื่อง หลังจากนั้นเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดเครื่องโดยการกดปุ่ม “OFF” และถอดสายเคเบิ้ลออกจากเครื่อง Sensorex รุ่น C110 และเชื่อมต่อกับโพรบวัดพีเอช หรือ โออาร์พี เพื่อทำการวัดค่าพีเอช/โออาร์พี หรือใช้เครื่องวัดพีเอช/โออาร์พี ในการตรวจสอบคุณภาพโพรบในลำดับถัดไป

 

บทสรุป

Sensorex รุ่น C110 สามารถใช้ในการตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องวัดพีเอช/โออาร์พี และใช้ในการปรับค่าได้ดังวิธีการที่กล่าวไว้ข้างต้น นับเป็นวิธีที่ช่วยให้สะดวกในการเช็คเครื่องวัดพีเอช โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารละลายพีเอช หรือ สารละลายโออาร์พีเลย ซึ่งเครื่อง Sensorex รุ่น C110 นั้น เหมาะสำหรับใช้ในการเช็คประจำวัน หรือ เช็คเครื่องวัดพีเอช/โออาร์พี ก่อนถึงเวลาส่งตรวจกับห้องแลป อย่างไรก็ตาม เรายังคงจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องไปสอบเทียบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง กับห้องแลปที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือเสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดพีเอช คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

Related articles