วัดค่าต่างๆทางไฟฟ้า ( Electrical measuring instrument )
วัดค่าต่างๆทางไฟฟ้า ( Electrical measuring instrument )
ค่าต่างๆทางไฟฟ้าจะทำให้เราทราบสภาพการทำงานของระบบไฟฟ้า จำเป็นต้องมีเครื่องวัดส่วนใหญ่มักติดตั้งที่แผงสวิตช์วัดค่าทางไฟฟ้าสำคัญ ต่างๆ เช่น กระแส ( A ),แรงดัน ( V ), กำลังทางไฟฟ้า ( W ) , ตัวประกอบกำลัง ( P.F. )เป็นต้น สำหรับเครื่องวัดที่ใช้วัดค่าต่างๆ ดังรูป
Ammeter ( A )
โดยทั่วไป Ammeter จะทนกระแสได้ 5 A ถ้าต้องการวัดกระแสสูงขึ้นกว่านี้ต้องมีหม้อแปลงกระแส ( CT ) เพื่อแปลงเป็นค่าไม่เกิน 5 A เช่น จาก 1000/5 A เป็นต้น มีขนาดมาตรฐาน 96×96 mm2 Class 1.5% จำนวนหม้อแปลงกระแสขึ้นอยู่กับสายไฟที่เราจะวัด เช่น ระบบ 3 เฟส 4 สาย มีCT 3 ตัว ถ้าเราวัดทีละครั้งจะแปลงกระแส ได้โดยใช้ Ammeter Selector มาช่วย
Voltmeter ( V )
ทนแรงดันได้ไม่เกิน 500 V ต่อโดยตรงผ่าน Voltage Selector เลือกจัดค่าแรงดันระหว่างสายกับนิวทรัลหรือสายกับสาย มีขนาดเต็มสเกล 500 V Class 1.5% ขนาดมาตรฐาน 96×96 mm2
Frequency Meter ( F )
ใช้วัดความถี่ทางไฟฟ้า ซึ่งในประเทศไทยใช้ความถี่ 50 Hzสเกลช่วงความถี่ 45 – 55 Hz Class 0.5% ขนาดมาตรฐาน 96×96 mm2
Power Factor Meter ( P. F. )
วัดตัวประกอบกำลังของระบบไฟฟ้า สเกลมีช่วงระหว่าง 0.5 Leading ถึง 0.5 Lagging Class 1.5% ของ 90 องศาทางไฟฟ้า ขนาดมาตรฐาน 96×96 mm2
Kilo Wattmeter ( kW )
ใช้วัดกำลังไฟฟ้า มีให้ใช้งานได้ทั้ง 1 เฟส 2 สาย และ 3 เฟส 4 สาย ขนาดมาตรฐาน 96×96 mm2 Class 1.5%
Kilowatt-hour ( kWhr )
ใช้วัดค่าพลังงานไฟฟ้ามีทั้งวัด 1 เฟส 2 สาย และ 3 เฟส 4 สาย ขนาดมาตรฐาน 96×96 mm2 Class 1.5%
Current Transformers ( CT )
หม้อแปลงที่ใช้แปลงกระแสให้มีค่าต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับการวัดและการทำงานของบริภัณฑ์ป้องกัน Current Transformers จะสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น กับบริภัณฑ์วัดและบริภัณฑ์ควบคุมต่างๆเนื่องจากการเกิด Overcurrent ได้ดีในการใช้งาน Current Transformers จะต้องไม่ให้เกิดการเปิดวงจรด้านทุติยภูมิ เพราะจะทำให้เกิด แรงดันไฟฟ้าสูงมากจนอาจทำให้เกิดความเสียหาย
Related Product(s)