ปัญหาเรื่องคุณภาพของกำลังไฟฟ้า ที่ส่งผลต่ออุปกรณ์การแพทย์
การทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าแบบต่างๆ เช่น กระเเสไฟฟ้ารั่วและความต้านทานฉนวน ได้ดำเนินการขึ้นบนอุปกรณ์การเเพทย์เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งานอย่างปลอดภัยนั้นเกิดขึ้นๆได้จริงตามมาตรฐาน EN60601 ( อุปกรณ์และระบบไฟฟ้าทางการแพทย์ ) คุณภาพของกำลังไฟฟ้าที่จ่ายไปยังโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างยิ่ง เนื่องจากอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้นั้นจะมีอุปกรณ์ประมวลผลที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงและจะเป็นต้องมี กำลังไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติ ปัญหาเรื่องคุณภาพกำลังไฟฟ้าอาจจะส่งผลต่อการทำงานที่ผิดปกติของอุปกรณ์การแพทย์ เช่น การผิดเพี้ยนของการแสดงผล ผลการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง หรือความล้มเหลวในการ ควบคุม ซึ่งยังอาจจะส่งผลต่อสถานการณ์ที่รุนแรงอื่นๆ เช่น การขัดข้องของเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งอาจจะ นำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้
คุณภาพกำลังไฟฟ้าเป็นการรวมกันของคุณภาพแรงดันไฟฟ้าและคุณภาพกระแสไฟฟ้า การรบกวน แรงดันไฟฟ้าบ่อยครั้งที่จะเกิดขึ้นจากโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งในคราวเดียวกันก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งาน ขณะที่การรบกวนกระแสไฟฟ้าที่บ่อยครั้งพบว่ามาจากผู้ใช้งานซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงข่ายไฟฟ้าด้วยเช่นกัน ปัญหาเรื่องคุณภาพกำลังไฟฟ้าของโรงพยาบาลบ่อยครั้งเกิดขึ้นเนื่องจากโหลดแบบไม่เป็นเชิงเส้น การเข้ามาของฮาร์โมนิกส์ และการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ เช่นเดียวกับที่ปัญหาเรื่องคุณภาพกำลังไฟฟ้า เป็นเรื่องที่เกิดสะสม แม้ว่าจะพบปัญหาเล็กๆ แต่ควรจะมีการจัดการแก้ไขอย่างจริงจัง สำหรับโหลดแบบไม่เป็นเชิงเส้น มีผลต่อการผิดเพี้ยนของรูปคลื่นกระแสไฟฟ้าและก่อให้เกิดกระแสฮาร์โมนิกส์เข้าสู่กระแสของระบบ ตัวอย่างที่พบได้ทั่วไปคือ จากหลอดไฟฟ้าในประเทศอินโดนีเซีย หลอดไฟต้องถูกทดสอบโดยห้องทดลองไฟฟ้าทางการแพทย์ก่อนที่โรงพยาบาลจะนำไปใช้ มาตรการนี้ถูกดำเนินการขึ้นเพื่อลดการรีโซแนนท์ทางฮาร์โมนิกส์ในระบบ และเพื่อให้มั่นใจว่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ยังคงมีค่าขั้นต่ำอยู่ที่ 0.85
ตัวอย่างการทดสอบคุณภาพไฟฟ้า
หลอดไฟ 3 หลอด ถูกมาใช้ในการทดสอบในห้องทดลองโดยใช้เครื่องวิเคราะห์คุณภาพกำลังไฟฟ้าด้วยเครื่อง HIOKI PW3198 วัตถุประสงค์ของการทดสอบนี้คือ การวัดค่ากระแสในสายไลน์โดยตรงและ แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์-นิวตรอล (รูปที่ 1) พารามิเตอร์ที่ทำการบันทึกได้แก่ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า เพาเวอร์แฟคเตอร์ กำลังไฟฟ้าจริงและกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การสังเกตรูปคลื่น แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า
รูปที่1: แผงผังการตั้งค่าการทดสอบในห้องทดลอง
รูปที่ 2: ผลการทดสอบจากตวัอย่าง A
จากรูปที่ 2 เป็นที่น่าสังเกต ว่ารูปคลื่นกระแสฟ้ามีการผิดเพี้ยนเล็กน้อย ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ของตัวอย่าง A คือ 0.892 ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้ ตัวอย่าง B (รูปที่ 3) แสดงให้เห็นรูปคลื่นกระแสไฟฟ้าที่ผิดเพี้ยนมากกว่า พร้อมกับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ 0.567 ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นค่าที่แย่
รูปที่ 3: ผลการทดสอบจากตัวอย่าง B
รูปที่ 4: ผลการทดสอบจากตัวอย่าง C
ตัวอย่าง C (รูปที่ 4) มีผลการทดสอบที่แย่ที่สุด รูปคลื่นกระแสไฟฟ้าได้ผิดเพี้ยนซึ่งไม่เหมือนกับรูปคลื่นซายน์ใดๆเลย ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ของตัวอย่าง C คือ 0.048 ซึ่งหมายความว่าหลอดไฟที่ทดสอบเป็นการโหลด แบบเหนี่ยวนำและมีค่าในระดับที่ยอมรับไม่ได้
ตารางแสดงให้เห็นผลสรุปการทดสอบจากตัวอย่างทั้ง 3 หลอด (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 : ผลสรุปผลการทดสอบ
ผลการทดสอบถูกเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่ให้ไว้โดยเจ้าหน้าที่กำกับดูแล ซึ่งสรุปได้ว่ามีเฉพาะตัวอย่าง A เท่านั้นที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในโรงพยาบาล
สนใจเครื่องวิเคราะห์ไฟฟ้า คลิ๊กที่นี่