การใช้เครื่องมือวัดสำหรับงานด้านการขนส่ง (Logistic)

ในปัจจุบันประเทศไทย เป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงขาดไม่ได้ที่ระบบการขนส่งจะต้องมีการพัฒนา ทั้งการขนส่งวัตถุดิบจากโรงงานสู่โรงงาน หรือ การขนส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากโรงงานถึงลูกค้า ทั้งหมดนี้ล้วนจะต้องมีการควบคุมคุณภาพทั้งสิ้น

สำหรับการขนส่งสินค้านั้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้สินค้า เกิดความเสียหายขณะขนส่ง มีด้วยกันอยู่หลายสาเหตุ
ทั้งสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายใน เช่น อุณหภูมิ หรือ ความชื้น ของตู้เก็บสินค้า หรือ จากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพถนน เป็นต้น ซึ่งหากไม่มีเครื่องมือวัด คอยตรวจสอบปัจจัยทั้งหลายที่เข้ามา ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือ พัฒนาคุณภาพการขนส่งในอนาคตได้
สำหรับบทความนี้ จะเป็นปัจจัยต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านรับทราบถึงผลกระทบของการไม่มีเครื่องมือวัด ในการตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้า ต่างๆ ในระบบขนส่ง โดยจะเริ่มต้นที่เรื่องของ อุณหภูมิ ความชื้น และ แรงสั่นสะเทือน เป็นหลัก ซึ่งหากมีหัวข้อเพิ่มเติมในอนาคต เราจะมาใส่เพิ่มไว้ หรือ ต่อเป็นบทความต่อไป

ปัจจัยจากอุณหภูมิ
การวัดอุณหภูมิวัตถุดิบ ก่อนและหลังการบรรจุเข้ารถส่งสินค้า หรือ การบันทึกอุณหภูมิในระหว่างการขนส่งสินค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิตลอดเวลา เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารสด ในกรณีที่ปัญหาเกิดขึ้น เช่น สินค้าเน่าบูด การมีเครื่องบันทึกอุณหภูมิ จะช่วยให้เราทราบว่าปัญหาเกิดจากอะไร เช่น เกิดจากระบบทำความเย็น หรือ การบรรจุผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

ปัจจัยจากความชื้น
สินค้าที่ไวต่อการเกิดเชื้อรา สนิม ในกระบวนการขนส่งหากไม่มีการควบคุมที่ดี ย่อมเกิดปัญหาได้ การขนส่งสินค้าทางเรือ เป็นหนึ่งในรูปแบบการขนส่งที่คนนิยมเนื่องจากราคาถูก แต่ก็ย่อมมีความเสี่ยงกับผลทางความชื้นเช่นกัน

ปัจจัยการแรงกระแทก
การเดินทางบนท้องถนน ไม่ใช่เส้นทางที่ราบรื่นตลอดตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง แน่นอนว่าการออกแบบลักษณะการบรรจุสินค้ามีความจำเป็นอย่างมากในสินค้าที่มีความเปราะบาง และ เสี่ยงต่อการแตกหักเสียหายจากการกระแทก รวมถึงการตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ทำให้การขนส่งมีความลื่นไหล ปลอดภัยมากขึ้น
สำหรับในบทความถัดไป เราจะมาอธิบายถึงความเกี่ยวข้องของ เครื่องมือวัด ที่ช่วยให้ กระบวนการการรักษาสินค้าในระหว่างการขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
● โทร. 02-746-9933
● LINE: @lega
Related articles
การใช้เครื่องมือวัดสำหรับงานด้านการขนส่ง (Logistic) PART III
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ Humidity
◼ Moisture
◼ การขนส่งสินค้าที่ที่เดินทางเป็นเวลานาน
◼ สรุป
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
สำหรับ PART III จะเป็นเรื่องของความชื้น ซึ่งบางกรณีเราอ้างอิงจากเหตุการณ์จริงของลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเรา […] Posted in เครื่องวัดอุณหภูมิ, News and Event, เครื่องบันทึกข้อมูล Data Logger
การใช้เครื่องมือวัดสำหรับงานด้านการขนส่ง (Logistic) PART IV
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ Fruit Tester
◼ Shock Logger (Data logger)
◼ สรุป
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
สำหรับ PART IV จะเป็นชุดสุดท้ายของเรื่องเครื่องมือวัดสำหรับการขนส่ง ซึ่งบางกรณีเราอ้างอิงจากเหตุการณ์จริงของลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเรา […] Posted in News and Event, เครื่องบันทึกข้อมูล Data Logger
การใช้เครื่องมือวัดสำหรับงานด้านการขนส่ง (Logistic) PART II
สำหรับบทความแรกเราพูดถึงเรื่องของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าในระหว่างการขนส่ง โดยยกตัวอย่างปัจจัยที่เห็นได้ชัดเจนคือ อุณหภูมิ ความชื้น และ แรงกระแทก ซึ่งสำหรับบทความนี้ เราจะมาลงรายละเอียดในเครื่องมือวัด ว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร สำหรับ PART II
จะเป็นเรื่องของอุณหภูมิ […] Posted in เครื่องวัดอุณหภูมิ, News and Event, เครื่องบันทึกข้อมูล Data Logger
การใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อระบุปัญหาไฟฟ้า PART III
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
สำหรับ PART III จะเป็นเรื่องของการตรวจจับความร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในเวลาที่เราไม่คาดคิด และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือ อัคคีภัยขึ้น ซึ่งแนวคิดหลักๆจะคล้ายๆกับ กล้องวงจรปิด ที่เรารู้จัก เพียงแต่เลนส์ที่ใช้จับ จะเป็นเซนเซอร์จับความร้อน […] Posted in News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน
การใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อระบุปัญหาไฟฟ้า PART II
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
สำหรับใน PART II นี้ จะเน้น เรื่องของการตรวจสอบปัญหาโดยใช้กล้องถ่ายภาพความร้อน เพื่อตัดสินสาเหตุของปัญหา และทำการแก้ไขได้เลย โดยอาจไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดเพิ่มเติมมากนัก โดยจะมีตัวอย่างประกอบการพิจารณา (ภาพตัวอย่างบางภาพนำมาจากหนังสือ […] Posted in News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน
การใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อระบุปัญหาไฟฟ้า PART I
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
ในบทความนี้ จะนำตัวอย่างหน้างานที่ได้จากลูกค้าของเลกะ ที่ไปตรวจสอบหน้างาน และนำมาแชร์กันเป็นความรู้ โดยเราจะอธิบายควบคู่ไปกับหลักการในการตรวจสอบด้วย ดังนี้
การตรวจสอบจุดต่อไฟฟ้า (Contact Problems)
ความร้อนในส่วนนี้มาจาก […] Posted in News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน