เครื่องมือวัด กับ การป้องกันเหตุอัคคีภัย PART Intro
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
ปัญหาอัคคีภัย
หรือ ที่เรียกกันอย่างง่ายว่าเพลิงไหม้ นั้น นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งภาคครัวเรือน และ ภาคอุตสาหกรรม อย่างร้ายแรงมาก ซึ่ง จากสถิติ การเกิดเหตุเพลงไหม้ในอาคารบ้านเรือน และสถานประกอบการในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในช่วงเดือน กค. ถึง ธค.พบว่า เกิดเหตุทั้งสิ้นรวม 342 ครั้ง (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
ในส่วนของสถิติ การเกิดเหตุไฟไหม้นั้น พบว่า ร้อยละ 62 หรือ กว่า 212 ครั้งนั้น มีข้อสันนิษฐานมาจาก “การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร” สำหรับส่วนที่เหลือคือ การจุดธูปเทียนทิ้งไว้ รวมถึงการตั้งเตาอุ่นอาหารหรือกับข้าวทิ้งไว้
ในปัจจุบันนี้ เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่า ไฟฟ้าอยู่ทุกๆที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนเราไปแล้ว มนุษย์เรารู้จักไฟฟ้ามาเป็นเวลาตั้งแต่สมัยโบราณ และได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจังในชีวิตมนุษย์ในช่วงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา โดยในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นมาใช้ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2427 หรือเมื่อ 134 ปีที่ผ่านมานั่นเอง
สำหรับการเกิดเพลิงไหม้ที่มาจากไฟฟ้าลัดวงจรนั้น จุดที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรบ่อยที่สุดคือ สายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้า สะพานไฟ และ พัดลม เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้มาเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการเก่า และ เสื่อมสภาพ รวมถึง มีการใช้งานที่ผิดวิธี เช่น การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิดพ่วงสายรวมกัน ทำให้เกิดกระแสเกินขึ้น
แล้วเครื่องมือวัดเครื่องมือวัดจะเข้ามาช่วยอย่างไร? หลักๆนั้นเครื่องมือวัดจะมีบทบาทในการป้องกันปัญหามากกว่า ซึ่งสิ่งที่เครื่องมือวัดจะเข้ามาช่วยก็คือ การทำ Troubleshooting หรือ การค้นหาสาเหตุหรือจุดที่ทำให้เกิดปัญหานั่นเอง
ในส่วนของ PART Intro นั้น จะเป็นเหมือน Gateway สำหรับผู้อ่านที่จะนำไปสู่บทความต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่ง มีบทความที่เกี่ยวข้องที่สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้ตามด้านล่างนี้
บทความ การใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อระบุปัญหาไฟฟ้า
PART I
PART II
PART III
สำหรับบทความอื่นๆ ทางผมจะทยอยอัพเดท เพื่อให้ข้อมูลถูกเติมเต็มขึ้นไปอีกครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
● โทร. 02-746-9933
● LINE: @lega
Related articles
- การใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อระบุปัญหาไฟฟ้า PART III
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
สำหรับ PART III จะเป็นเรื่องของการตรวจจับความร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในเวลาที่เราไม่คาดคิด และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือ อัคคีภัยขึ้น ซึ่งแนวคิดหลักๆจะคล้ายๆกับ กล้องวงจรปิด ที่เรารู้จัก เพียงแต่เลนส์ที่ใช้จับ จะเป็นเซนเซอร์จับความร้อน […] Posted in News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน - Level and Span ของกล้องถ่ายภาพความร้อนคืออะไร | Adjusts the level & span for the best
รู้หรือไม่ว่า...กล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถปรับ Level temperature scale โดยให้เลือกใช้งานทั้งแบบอัตโมัติหรือปรับด้วยตัวเอง
ก่อนจะเข้าเรื่อง ขออธิบายเกียวกับ Temperature scale ของกล้องถ่ายภาพความร้อน คือ ระดับอุณหภูมิที่ตรวจวัด […] Posted in News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน - 5 ข้อแตกต่างของกล้องถ่ายภาพความร้อน FLIR C3-X และ FLIR C5
กล้องถ่ายภาพความร้อน FLIR C Series Compact Thermal Camera ที่ออกแบบให้ขนาดตัวเครื่องกะทัดรัด สามารถพกพาติดตัวพร้อมใช้งานทุกสถานการณ์ เหมาะสำหรับการใช้ตรวจสอบอาคาร เช่น ผนังห้อง ฝ้า เพดาน งานบำรุงรักษาอุปกรณ์ งานซ่อมแซมระบบไฟฟ้า เช่นตรวจสภาพสายไฟ ฟิวส์ และ HVAC
รายละเอียด […] Posted in News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน - ทำรายงานภาพถ่ายความร้อนจากแอพพลิเคชั่น FLIR TOOL
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ วิธีการใช้งาน
◼ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ในปัจจุบันการมีเทคโนโลยีการถ่ายภาพความร้อนเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆมีจำนวนมากขึ้น […] Posted in เครื่องวัดอุณหภูมิ, News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน - การใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อระบุปัญหาไฟฟ้า PART II
โดย ชัชวาล กิมเห, Engineer.
สำหรับใน PART II นี้ จะเน้น เรื่องของการตรวจสอบปัญหาโดยใช้กล้องถ่ายภาพความร้อน เพื่อตัดสินสาเหตุของปัญหา และทำการแก้ไขได้เลย โดยอาจไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดเพิ่มเติมมากนัก โดยจะมีตัวอย่างประกอบการพิจารณา (ภาพตัวอย่างบางภาพนำมาจากหนังสือ […] Posted in News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน - LEGATOOL ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022
LEGATOOL x TELEDYNE FLIR @ ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022
วันที่ 14-16 กันยายน 2565 บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้าร่วมงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022 ที่รวบรวม เทคโนโลยีอันทันสมัย ในด้านการประหยัดพลังงาน, พลังงานทางเลือก และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดขึ้น ณ […] Posted in เครื่องวัดอุณหภูมิ, News and Event, กล้องถ่ายภาพความร้อน