ความเค็มในอาหาร และโทษจาการกินเค็ม
รสเค็มคืออะไร ?
รสเค็ม คือ ธาตุโซเดียมในอาหารซึ่งมีหน้าที่ช่วยรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย ทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเป็นปกติ โดยโซเดียมที่ร่างกายได้รับร้อยละ 90-95% มาจากอาหารที่บริโภค ทั้งพืช และ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเครื่องปรุงรส(เค็ม) และอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม เช่น ผงชูรส, ผงปรุงรส, ผงฟู, เกลือ, น้ำปลา, ซีอิ๊ว, เต้าเจี้ยว, น้ำมันหอย, เครื่องปรุงรสต่างๆ เป็นต้น
กินอาหารรสเค็มส่งผลเสียอย่างไร ?
การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพระดับต้นๆ ของคนไทย จากการศึกษาและเก็บข้อมูล พบว่ามีประชากรไทยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1 ใน 4 ของผู้ใหญ่ หรือกว่า 10 ล้านคน และพบว่ามีประชากรไทยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 7 ล้านคน
ต้มยำอาหารยอดฮิตของคนไทย
อาหารประเภทต้มยำเป็นอาหารที่คนไทยส่วนมากนิยมรับประทาน กันอยู่เป็นประจำทางเราจึงนำมาเป็นตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบความเค็มในอาหาร โดยอุปกรณ์ในการทดสอบเป็น
เครื่องวัดความเค็ม ซึ่งสามารถทำการวัดง่ายๆ เพียงนำไปจิ๋มลงในอาหารที่ต้องการจะวัดซึ่งควรจะเป็นอาหารประเภทน้ำ เช่นต้ม หรือ ซุป โดยก่อนที่จะวัดควรทำให้ตัวอย่างหรือน้ำซุปเย้นลงเสียก่อนเพื่อความแม่นยำในการวัคค่า
โดยในการทดสอบดังกล่าวผู้ทดสอบได้ทำการสุ่มพื้นที่ในการวัดโดยการซื้อต้มยำ ณ ย่านต่างๆไม่ซ้ำกันในกรุงเทพฯ เพื่อให้ได้ผลการวัดที่หลากหลายมาเป็นข้อมูล 😉
ร้านต้มยำร้านที่ 1 | ร้านต้มยำร้านที่ 2 | ร้านต้มยำร้านที่ 3 |
ค่าที่วัดได้ : 2.6% ร้านย่าน: พระราม 3 |
ค่าที่วัดได้ : 1.6% ร้านย่าน: ถนนศรีนครินทร์ |
ค่าที่วัดได้ : 1.4% |
คำนวนปริมาณโซเดียมในต้มยำ: |
คำนวนปริมาณโซเดียมในต้มยำ: |
คำนวนปริมาณโซเดียมในต้มยำ: |
ร่างกายควรได้รับโซเดียมต่อวันในปริมาณเท่าไหร่ ?
ร่างกายของเราควรรับโซเดียมไม่เกิน 2,400 มก./วัน (อ้างอิง : กระทรวงสาธาณสุข) ในกรณีนี้รวมถึงบริโภค เกลือ, น้ำปลา, ซีอิ๊ว, เต้าเจี้ยว, น้ำมันหอย, เครื่องปรุงต่างๆด้วย ในภาวะคนที่มีสุขภาพปกติ ไม่ได้มีโรคไตหรือโรคหัวใจอยู่ก่อน ซึ่งเกลือ 1 ช้อนชา จะมีปริมาณโซเดียมอยู่ที่ประมาณ 2,000 มก. ฉะนั้นถ้าคุณกินเกลือวันละ 3 ช้อนชา ก็เท่ากับว่ารับโซเดียมวันละ 6,000 มก. ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ ย่อมส่งผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
Related Product(s)