เครื่องวัดดัชนีความร้อน Heat Stress (WBGT & Heat Index)
WBGT (WBGT Heat Stress Monitor)
คือค่าการตรวจวัดความร้อนเพื่อป้องกันภาวะอันตราย ซึ้งอาจมีผลกระทบทำให้ เกิดอาการขาดน้ำอย่างเฉียบพลัน ช็อคหมดสติ ซึ้งเป็นภาวะที่อันตรายต่อร่างกายและชีวิต ดังนั้น จึงมีการ คิดค้นเครื่องวัดที่สามารถแสดงผลค่าการวัด WBGT ในขณะที่ปฏิบัติงาน หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ
ค่า WBGT สำคัญอย่างไร?
หากเราไม่ทราบค่า WBGT คงเปรียบเหมือนออกไปต่อสู้ในที่มืดที่มองไม่เห็นภัยและอันตรายใดๆ เพราะค่า WBGT นั้นไม่สามารถทราบได้จากเครื่องวัดอุณหภูมิทั่วไป เนื่องจากการคำนวณค่า WBGT ต้องคำนวณจาก WetBuld, DryBuld, Globe Temp. ทั้งนี้เป็นผลมาจากค่าความสัมพัทธ์กันระหว่างอุณหภูมิ และ ความชื้นในอากาศ ทำให้ร่างกายสูญเสียความเย็นจากผิวหนังส่งผลให้ ร่างกายร้อนมากขึ้นกว่าอุณหภูมิอากาศที่แท้จริง หรือส่งผลให้ ร่างกายสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ อาจทำให้ เกิดการเจ็บป่วยจากการอ่อนเพลียหรือเป็นสาเหตุของโรค “ฮีตสโตรก (Heat stroke)” ได้
ตารางค่า WBGT ที่แนะนำจากการคำนวณตามวิธีของ STEDMAN
Normal | <27 ºC | ปกติไม่อันตราย |
Caution | 27 to 32 ºC | ต้องใช้ความระมัดระวัง อาจเกิดอาการอ่อนเพลียได้ พักสักครู่ แล้วค่อยทำกิจกรรมต่อ |
Extreme Caution | 32 to 41 ºC | ความเสี่ยงปานกลางในการเกิด อาการเพลียแดด, ตะคริวแดด, ปวดกล้ามเนื้อ ให้พักรักษาอาการ |
Danger | 41 to 54 ºC | อันตรายต่อร่างกาย เกิดตะคริวแดด ลมแดด |
Extreme Danger | >54 ºC | เกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) อาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ |
เครื่องวัด WBGT แบบดิจิตอลที่สะดวกต่อการวัดค่า และแสดงผล
1. Lutron WBGT-2010SD เครื่องบันทึกค่าดัชนีความร้อน
2. Tenmars TM-188 Series เครื่องวัดค่าดัชนีความร้อน
3. SK Sato PC-7980GTI เครื่องวัดอุณหภูมิความชื้น
เทคนิคในการตรวจวัดความร้อนในบริเวณปฏิบัติงานหรือสถานที่ทำงาน
การเลือกจุดที่จะทำการตรวจวัด ควรเลือกตรวจวัดในบริเวณทำงานและเป็นบริเวณที่มีความร้อนสูงกว่าที่อื่น เพื่อจะได้ค่าที่แท้จริง
ในการตรวจวัดคนงานไม่ควรอยู่ตรงบริเวณที่ทำการตรวจวัด เพราะจะมีการแผ่รังสีออกจากร่างการ และมีผลต่อการเคลื่อนที่ของอากาศ
วิธีที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้
- ทันทีที่คนงานออกจากบริเวณนั้น ให้รีบนำเครื่องมือเข้าไปติดตั้ง วิธีนี้จะไม่ค่อยดี อาจมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งอย่างแวดล้อมอย่างรวดเร็ว
- ในกรณีที่คนงานทำงานในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน ควรตรวจวัดเป็นระยะๆ เช่นชั่วโมงละครั้งหรือทุกๆครึ่งชั่วโมง
- ในการณีที่คนงานต้องเคลื่อนที่อยู่ในบริเวณกว้าง และมีความร้อนแตกต่างกันหลายบริเวณ(Zone) อนุญาตให้กะหรือประมาณได้จากบริเวณต่างๆได้
** ในระหว่างเก็บข้อมูล ควรตรวจวัดนอกอาคารโดยใช้ Psychrometer และบันทึกขอมูลเกี่ยวกับเมฆ ความเร็วลม ในปัจจุบันการตรวจวัดความร้อนในสิ่งแวดล้อมการทำงานสามารถได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดที่สามารถอ่านค่าได้เลย ซึ้งความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของเครื่องมือก็ต้องมีการสอบเทียบความแม่นยำอย่างสม่ำเสมอ
Related Product(s)