เครื่องวัดพีเอชในดิน (Soil pH Meter) และการใช้งาน
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ การวัดค่าพีเอชในดิน | Soil pH Measurment
◼ การปรับสภาพดินหลังวัดค่าพีเอชในดิน
◼ ข้อมูลเพิ่มเติม
ค่า pH ในดิน หรือความเป็นกรด-ด่าง คือค่าบ่งชี้คุณสมบัติทางเคมี และแร่ธาตุในดิน มีส่วนช่วยให้พืชดูดซึมสารอาหาร ค่าพีเอชในดินสามารถวัดได้ตั้งแต่ pH 0 ถึง 14 ซึ่งค่าพีเอชมีปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างเช่น สารอาหารทีอยู่ในดิน ซากพืช ซากสัตว์ และปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีเป็นส่วนประกอบ มีการจำแนกพิสัยพีเอชได้ 10 ระดับ (Soil Survey Division Staff, 1993) ดังนี้
ค่าพีเอช | ระดับของพีเอช |
≤4.4 | กรดแก่จัด (Extremely Acid) |
4.5 to 5.0 | กรดจัดมาก (Very Strongly Acid) |
5.1 to 5.4 | กรดจัด (Strongly Acid) |
5.5 to 6.0 | กรดปลานกลาง (Moderately Acid) |
6.1 to 6.5 | กรดอ่อน (Slightly Acid) |
6.6 to 7.3 | กลาง (Neutral) |
7.4 to 7.8 | เบสอ่อน (Slightly Alkaline) |
7.9 to 8.4 | เบสปานกลาง (Moderately Alkaline) |
8.5 to 9.0 | เบสจัด (Strongly Alkaline) |
≥9.1 | เบสจัดมาก (Very Strongly Alkaline) |
การวัดค่าพีเอชในดิน | Soil pH Measurment
วิธีที่นิยม คือ ใช้เครื่องวัดพีเอชในดิน (Soil pH Meter) และน้ำยาเปลี่ยนสี (Indicator)
● น้ำยาเปลี่ยนสี (Indicator)
ใช้งานง่าย สะดวกในการพกพา แต่อาจเกิดข้อผิดพลาดจากการตรวจวัดเนื่องจากการเทียบสีด้วยสายตา
● เครื่องวัดพีเอชในดิน (Soil pH Meter)
เครื่องวัดค่าพีเอชในดินแบบดิจิตอล สำหรับของกึ่งเหลวกึ่งแข็ง Semi-solid แสดงค่าการวัดเป็นตัวเลข ไม่ต้องเทียบสีด้วยสายตาลดข้อผิดพลาดจากการวัด มีฟังก์ชั่นช่วยใช้งาน เช่น Hold data, Reverse Display, Auto power off
“วัดค่าพีเอชในดินด้วย Lutron PH-220S เครื่องวัดพีเอชในดิน”
1. ตักดินที่ต้องการวัด ร่อนดินในตะแกรง เพื่อนำเศษไม้ เศษหินออกจากดิน
2. นำดินตัวอย่างผสมน้ำ 1 : 5 (ดินในไทยนิยมใช้อัตราส่วน 1 : 5) และคนส่วนผสมให้เข้ากันทิ้งไว้จนตกตะกอน หากเป็นดินร่วน ดินทรายอัตราผสม 1 : 1
3. หลังจากส่วนผสมระหว่างน้ำ และดินตกตะกอนแล้ว นำน้ำใสไปตรวจวัดค่าพีเอชในดิน
การปรับสภาพดินหลังวัดค่าพีเอชในดิน
● ดินเปรียว หรือดินกรด:
ดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 แก้ไขด้วยการเติมปูนขาว หินปูนบด หรือ ปล่อยน้ำจืดให้ท่วมขังบริเวณพื้นที่ดินเปรียว หรือดินกรด
● ดินด่าง:
ดินที่ค่า pH สูงกว่า 7 แก้ไขด้วยการเติมอินทรีย์วัตถุ หรือ ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง และ ปอเทือง
ตัวอย่างค่าพีเอชในดินที่เหมาะกับพืชเศษฐกิจ
พืช | ค่าพีเอช (pH) ในดิน |
ข้าว | 4.5 to 5.5 |
ข้าวโพด | 6.5 to 7.0 |
อ้อย | 6.8 to 7.5 |
มันสำปะหลัง | 6.5 to 7.0 |
ผักสวนครัว | 6.0 to 7.0 |
ยางพารา | 4.5 to 5.5 |
สัปปะรด | 4.5 to 5.5 |
ทุเรียน | 6.5 to 8.5 |
แตงโม | 5.5 to 6.5 |
Related Product(s)