เสี่ยงไฟไฟม้จากก๊าซติดไฟ | Combustible gas
ก๊าซติดไฟ คือ เชื้อเพลิงที่มีในอากาศอย่างเช่น Hydrogen, Methane, Propane, iso-Butane(LPG), Benzene, Hydrogen sulfide, Carbon monoxide เป็นต้น หากก๊าซเหล่านี้มีประมาณในอากาศที่เหมาะสม และมีแหล่งกำเนิดไฟ เช่น ประกายไฟ หรือการถ่ายเทของประจุไฟฟ้าสถิตย์ จะเกิดการติดไฟจนนำไปสู่อันตรายต่อทรัพย์สิน และอันตรายต่อชีวิต
องค์ประกอบของการติดไฟ
1. เชื้อเพลิง (Fuel): สารไวไฟ (Flammable Gas or Material) หรือส่วนที่เป็นไอระเหยผสมอยู่ในอากาศ
2. ก๊าซออกซิเจน (Oxygen): ซึ่งมีอยู่ในอากาศประมาณ 21% โดยปริมาตร ที่ช่วยให้ติดไฟ แต่ถ้าหากออกซิเจนในอากาศมีน้อยกว่า 16% ไฟจะไหม้ช้าลง หรือมอดดับ
3. แหล่งจุดไฟ (Ignition Source): มีพลังงานความร้อนที่เพียงพอ เช่น เปลวไฟ การเกิดประกายไฟหรือถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิต ประกายไฟจากการลัดวงจรไฟฟ้าหรือจากหน้าสัมผัสสวิตซ์ไฟ เป็นต้น
รู้หรือไม่? ขอบเขตการติดไฟของสารไวไฟ (Explosive Limits) คืออะไร
ก๊าซ หรือสารไวไฟแต่ละชนิดมีจุดติดไฟที่ต่างกันออกไป ไม่ใช่ว่า ก๊าซ Methane ติดไฟที่ 5% แล้วก๊าซอื่นๆจะมีจุดติดไฟเท่ากัน แต่ก่อนจะไปดูตารางจุดติดไฟของแต่ล่ะก๊าซเรามาทำความเข้าใจ “ขอบเขตการการจุดติดไฟ ของสารไวไฟ LEL และ UEL” กันก่อน
● LEL (Lower Explosive Limit) ขีดจำกัดล่างของการติดไฟ (ปริมาณก๊าซไวไฟที่เหมาะกับการระเบิด หรือติดไฟต่ำสุด)
● UEL (Upper explosive limit) ขีดจำกัดบนของการติดไฟ (ปริมาณก๊าซไวไฟที่เหมาะกับการระเบิด หรือติดไฟสูงสุด)
ตัวอย่างการค่าขอบเขตการติดไฟ Methane
ก๊าซ Methane มีค่า LEL เท่ากับ 5% และ UEL 17% โดยปริมาตรของอากาศ
∴ ดังนั้น
● หากในอากาศมีอัตราส่วนผสมของก๊าซ Methane อยู่ที่ระหว่าง 5% ถึง 17% จะมีโอากาสเกิดการระเบิด หรือติดไฟได้สูง
● แต่ถ้าในอากาศมีอัตราส่วนผสมของก๊าซ Methane น้อยกว่านี้ 5% หรือมากกว่า 17% มีโอกาสเกิดการระเบิด หรือติดไฟได้ยาก
“ขอบเขตการติดไฟที่นิยมใช้กันคือ LEL เพราะเป็นค่าปริมาณก๊าซไวไฟที่เหมาะกับการระเบิด หรือติดไฟเมื่อมีปริมาณส่วนผสมในอากาศต่ำสุด”
ตาราง Combustible gas
Gas | Chemical formula | LEL(vol%) | UEL(vol%) |
Hydrogen | H2 | 4 | 75 |
Methane | CH4 | 5 | 15 |
Propane | C3H8 | 2 | 9.5 |
iso-Butane(LPG) | i-C4H10 | 1.8 | 8.4 |
Benzene | C6H6 | 1.2 | 7.1 |
Hydrogen Sulfide | H2S | 4 | 44 |
Carbon monoxide | CO | 12.5 | 74 |
**การอ่านค่าหรือผลจากเครื่องวิเคราะห์ปริมาณหรือตรวจจับก๊าซ จะต้องพิจารณาว่าค่าที่อ่านได้ แสดง %LEL หรือ %vol