วัดความตึงสายพานด้วยการวิเคราะห์ความถี่เสียง | Sonic Belt Tension Meter
สายพาน คือ อุปกรณ์สำหรับเครื่องจักร เครื่องยนต์ มีหน้าที่เชื่อมโยงการหมุนภายใน หรือภายนอก ด้วยคุณสมบัติการรับแรงสั่นสะเทือนได้ดีทำให้การหมุนนั้นนุ่มนวลไม่กระชาก ไม่ส่งเสียงดังตอนใช้งาน ล้วนเป็นข้อดีของการใช้สานพาน และชนิดของสายพานแบ่งได้ดังนี้
● สายพานแบน (Flat Belts)
เป็นสานพานทที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามโรงงานอุสาหกรรมต่างๆ แบ่งประเภทย่อยๆได้ดังนี้ 1. Light Drives ใช้กับงานเบา, 2. Medium Drives ใช้กับงานหนักปานกลาง, 3. Heavy Drives ใช้กับงานหนัก
● สายพานวี (V-Belts)
นิยมใช้งานกับเครื่องจักรภายใด้วยจุดเด่นเรื่อง การส่งกำลังที่ดี (ไม่สามารถส่องกำลังแบบไขว้เหมือนสานพานแบน) แบ่งประเภทย่อยๆได้ดังนี้ สายพานวีทั่วไป, สายพานวีร่วม, สายพานวีแหลม, สายพานวีหน้ากว้าง และสายพานวีอื่นๆ
● สายพานไทม์มิ่ง (Timing Belts)
ลักษณะเด่น คือ ฟันเฟืองตลอดสายพาน ไม่มีอาการลื่นไถลตอนส่งกำลัง สานพานชนิดนี้งอตัวได้ดี จึงนิยมใช้ในงานเครื่องยนต์ เช่นเพลาข้อเหวี่ยง, เพลาราวลิ้น
“การวัดความตึงสายพานโดยทั่วไปนิยมนำปากกาวัดค่าความตึงสายพานใช้งาน เพราะมีราคาถูก แต่มีข้อจำกัดคือต้องมีสายพานที่เดินเส้นขนานกันไว้เทียบ และต้องปิดเครื่องจักรเพื่อหยุดการใช้งานสายพาน”
เครื่องวัดแรงตึงสายพานด้วยการวิเคราะห์เสียง U-508 Sonic Belt Tension Meter
เริ่มด้วย ข้อมูลตัวเครื่องของ Unitta U-508 เครื่องวัดความตึงสายพาน แบบ Sonic Belt Tension Meter รุ่นใหม่ล่าสุดจาก Unita ด้วยความสามารถในการวัดที่แม่นยำ โดยการวิเคราะห์คลื่นเสียงสำหรับการวัดแรงตึงสายพานแบบไม่สัมผัส จึงไม่ต้องหยุดการทำงาน นอกจากนั้นยังมีข้อมูล mass ของสายพาน Unita ในตัวเครื่องถึง 69 สายพาน พร้อมยังสามารถวัดค่าความถี่ (frequency) 10 to 5,000 Hz ตัวเครื่องยังมี Data Memory 500 ข้อมูล รองรับการบันทึกค่า Location number 40 type memory และยังรองรับมาตรฐาน CE, RoHS approved
Function ตัวเครื่อง
● Automatic cancellation of background noise by automatic gain adjustment
● Automatic trigger off function
● Automatic power off
● Graphic LED with backlight
วัดแรงตึงสายพานด้วยเสียงแบบ Sonic Belt Tension Meter ยังไง?
● ปกติสายพานบริเวณที่อยู่ระหว่าง Pulleys จะมีการสั่นเกิดขึ้นจากการใช้งาน การสั่น หรือแกว่งของสายพาน เมื่อเริ่มใช้งานจะสั่นแบบไม่สม่ำเสมอ และจะเริ่มเสถียรขึ้นเมื่อใช้งานไปสักระยะ (Fig.1)
● หลังจากเครื่องเริ่มคงที่ สายพานมีความเสถียรของการสั่นสม่ำเสมอ จึงวัดแรงตึงสายพาน
● เครื่องจะวิเคราะห์คลื่นโซนิค (sonic wave) โดยไม่ต้องสัมผัส ควรให้ปลายเซนเซอร์เข้าใกล้สายพานอย่างน้อย 1 เซนติเมตร
● sensor จะตรวจจับการสั่นของคลื่นที่เกิดขึ้นโดยคิดจากระยะ span ของสายพาน
● หลังจากนั้นตัวเครื่องจะทำการประมาลผลการวิเคราะห์และแสดงค่าบนหน้าจอดิจิตอล
ก่อนการวัดแรงตึงสายพานแบบ Sonic Belt Tension ต้องรู้อะไรบ้าง?
● ระยะ span หรือระยะจากจุดกึ่งกลางจากมู่เลย์นึงถึงอีกมู่เลย์
● น้ำหนักของสายพาน
● ขนาดของหน้าตัดสายพาน (หากเป็นสายพานชนิด V-Ribbed ให้นับจำนวนซี่ฟันแทน)
ดังนั้นการใช้งานเครื่อง U-508 ผู้ใช้งานจำเป็นต้องระบุค่าของ spec สายพานเสมอ!
Spec สายพานลูกค้าดูได้จากคู่มือสายพาน หรือ แพ็คเกจสายพานนั้นๆ ตอนซื้อ
MASS คือ ค่านำหนักของสายพาน โดย Unit ที่แสดงจะเป็น g/m |
◉ หากสเปคสานพานระบุ *น้ำหนักสายพาน หรือ Mass 2.5 g/m การกรอกข้อมูลบนเครื่องวัดให้กดเลขบนเครื่อง 0 0 2 5 ตัวเครื่องจะแสดงค่า Mass เท่ากับ 2.5 g/m
WIDTH คือ ค่าความกว้างของสายพาน (หากเป็นสายพานแบเป็นซี่ๆ (V ribbed belt) ให้ระบุเป็นจำนวนของซี่ฟันของสายพานแทน) |
◉ หากสเปคสานพานระบุ *ความกว้างของสายพาน หรือ Width 25.4 mm การกรอกข้อมูลบนเครื่องวัดให้กดเลขบนเครื่อง 0 2 5 4 ตัวเครื่องจะแสดงค่า Width เท่ากับ 25.4 mm
SPAN คือ ระยะห่างของ Pulleys |
◉ หากสเปคสานพานระบุ **ระยะห่างของ Pulleys หรือ Span 450 mm การกรอกข้อมูลบนเครื่องวัดให้กดเลขบนเครื่อง 0 4 5 0 ตัวเครื่องจะแสดงค่า Span เท่ากับ 450 mm
*วิธีใส่ตัวเลข Mass และ Widrh บนเครื่อง ตัวเลขแรกแทนหลักร้อย, ตัวเลขตัวที่สองแทนหลักสิบ, ตัวเลขที่สามแทนหลักหน่วย, ตัวเลขที่สี่แทนจุดทศนิยม
**วิธีใส่ตัวเลข Span บนเครื่อง ตัวเลขแรกแทนหลักพัน, ตัวเลขตัวที่สองแทนหลักร้อย, ตัวเลขที่สามแทนหลักสิบ, ตัวเลขที่สี่แทนหลักหน่วย
ตัวอย่างข้อมูลจากสเปคของสายพาน
สเปค ชีท บอกข้อมูล เช่น น้ำหนัก, ขนาดหน้าตัด และระยะ span พร้อมทั้งยังบอกความตึงที่เหมาะสมของสายพานทั้งก่อนติดตั้ง และหลังติดตั้ง
“Unitta U-508 มีหน่วยการวัดแรงตึงสายพาน คือ N (นิวตัน) และหน่วยการวัดความถี่ (frequency) 10 to 5,000 Hz นอกจากนั้นยังมีข้อมูลของ mass ของสายพาน Unita ถึง 69 สายพาน และไม่ต้องหยุดการทำงาน หรือปิดเครื่องจักรเพื่อวัดค่าแรงตึงสายพาน”
สรุป: การวัดแรงตึงสายพาน
การตรวจวัดความตึงของสายพาน ตรวจวัดเพื่อบำรุงรักษาประสิทธิภาพการส่งกำลังของสายพาน หากสายพานหย่อนเกินไป หรือตึงเกินไปอาจส่งผลต่อการทำงาน เช่น สายพานหย่อยจนหลุด หรือตึงไปจนขาด ดังนั้นจึงควรมั่นตรวจสอบแรงตึงของสายพานเสมอ
Related Product(s)