การหาค่าแรงม้า (HP) และค่าทางไฟฟ้าของมอเตอร์
กำลังม้า แรงม้า หรือ horsepower (hp) นั้น ริเริ่มขึ้นครั้งแรกในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้ม้าเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนเครื่องจักร โดย “เจมส์ วัตต์””นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง
กำลัง
1 กำลัง |
จากรูปจะเห็นการเปรียบเทียบกำลังม้าเป็นกำลังไฟฟ้า
ประมาณ 1 hp = 745.7 W
เพราะฉะนั้น 10 hp = 745.7 x 10 = 7,457 W
การหาค่าทางไฟฟ้าอย่างง่ายวิธีแรกคือการอ่าน Name plate ของมอเตอร์ตัวนั้นๆ
- ประเภทของมอเตอร์ (Motor type) มอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction Motor) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการจ่ายไฟจากแหล่งจ่าย คือ มอเตอร์เหนี่ยวนำเฟสเดียว (Single Phase Motor) มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส (Three Phase Motor)
- กำลัง (Power Output) ค่ากำลังขาออกของมอเตอร์ที่เพลาแสดงหน่วยเป็น 2 แบบ คือ แรงม้า (Horse power หรือ HP) กิโลวัตต์ (kilowatt หรือ kW)
- ค่าทางไฟฟ้า (Electrical Characteristic) ค่าแรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ (Volt หรือ V) ค่าความถี่ไฟฟ้า มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์ (Hertz หรือ Hz) ค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มอเตอร์ใช้ มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere หรือ A)
- ขั้ว (Pole) มอเตอร์มาตรฐานทั่วไปจะเป็นแบบ 2pole 4 pole 6pole ดังนั้น จำนวน pole จะมีผลต่อความเร็วรอบมอเตอร์ คือเป็นตัวที่กำหนดความเร็วรอบ ความเร็วของมอเตอร์ หรือที่นำไปใช้งาน ซึ่งจะมีค่าไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
- ความเร็วรอบของมอเตอร์ (Speed) จะบอกการหมุนของรอบต่อนาที (r/min) โดยมีชื่อย่อเป็น rpm หรือด้วยสัญญาลักษณ์ min-1 ย่อมาจาก Revolutions per minute
- ระดับการป้องกัน ( Ingress Protection : IP ) เป็นการบอกระดับการป้องกันฝุ่นและของเหลว
- ขนาดเฟรม (Frame Number) ตัวเลข คือ ความสูงจากพื้นถึงกึ่งกลางเพลา (หน่วยเป็น มม.) ตัวอักษร คือความยาว (S M L)
- พิกัดการทำงาน (Rating) การกำหนดลักษณะการทำงานของมอเตอร์ที่มีความสัมพันธ์กับช่วงเวลา นี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ หน้าที่การทำงานต้องสัมพันธ์กับเวลา จึงต้องมีมาตรฐานมารองรับ เพื่อความถูกต้อง
- ชนิดของฉนวน (Insulation Class) บอกถึงความทนทานความร้อนของมอเตอร์ เช่น คลาส B ทนได้ถึง 130 องศาเซลเซียส
- ค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์ (Efficiency) คือ อัตราส่วนระหว่างกำลังขาออก (Output Power) และกำลังไฟฟ้าขาเข้า (Input Power)
การหาค่าทางไฟฟ้าอย่างง่ายวิธีที่สองคือการคำนวณจากแรงม้า (กรณีไม่มี Name plate)
การคำนวนแบ่งออกเป็น 2 สมการ ตามประเภทของมอเตอร์
สมการที่ 1 การหาค่ากระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ 1 เฟส ดังนี้
I = P / ( V x PF x eff. )
สมการที่ 2 การหาค่ากระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ 3 เฟส ดังนี้
I = P / ( 1.732 x V x PF x eff. )
โดย
I คือ กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น แอมแปร์ (A)
P คือ กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็น วัตต์ (W)
V คือ แรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็น โวลต์ (V)
PF คือ ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power factor)
eff คือ ค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์ (ดูได้จาก Name plate ของ มอเตอร์ตัวนั้นๆ)
ตัวอย่าง มอเตอร์มีกำลังม้า 4 hp แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส 220V มอเตอร์ตัวนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าเท่าไร
ก่อนอื่นเราต้องแปรงกำลังม้า (hp) เป็นกำลังไฟฟ้า (P) เสียก่อน
จะได้ 1 hp = 745.7 W
เพราะฉะนั้น 4 hp = 745.7 x 4 = 2,982.8 W
จากสมการ I = P / ( V x PF x eff. ) * ไม่ทราบค่า PF และ eff. จึงใช้ค่าประมาณคือ PF = 0.80 , eff. = 0.85 *
แทนค่า I = 2,982.8 W / ( 220 x 0.80 x 0.85) = 19.94A
เพื่อให้มั่นใจว่ามอเตอร์ยังคงประสิทธิภาพที่ดีอยู่ ควรหมั่นตรวจเช็คค่าไฟฟ้าเป็นประจำ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของมอเตอร์ และยังช่วยลดการเกิดปัญหาของเครื่องจักรหยุดทำงานที่อาจเกิดขึ้นแบบคาดไม่ถึง
HIOKI PW3360 Series เครื่องบันทึกพลังงานไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์วัดค่าไฟฟ้าแบบหลายช่องสัญญาณโดยการเชื่อมต่อกับแคลมป์เพื่ออ่านค่า ซึ่งจะให้ความแม่นยำและปลอดภัยในการวัดค่าตั้งแต่ซิงเกิ้ลเฟสจนถึง 3 เฟส เหมาะสะหรับการวัดและเก็บค่าพลังงานขของมอเตอร์ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพ หรือเก็บค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าของโรงงาน และเครื่องจักรต่างๆได้
ช่วงการวัดของเครื่อง PW3360
Voltage ranges: 90.00 V to 780.00 V
Current ranges: 500.00 mA to 5.0000 kA AC (depends on current sensor in use)
50.000 mA to 5.0000 A AC (Leak clamp on sensor only)
Power ranges: 300.00 W to 9.0000 MW
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
● เลือกซื้อ เครื่องมือวัดไฟฟ้า HIOKI คลิ๊ก
● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้
● โทร. 02-746-9933
● LINE: @lega