อันตรายจากไฟฟ้า
ในปัจจุบันเราใช้ประโยชน์กับระบบไฟฟ้าอย่างมากมาย ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในเเต่ละวันจะไม่มีการใช้ไฟฟ้าเลย การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าย่อมมีอันตรายแอบแฝงอยู่เสมอ จึงต้องเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าอย่างถูกต้อง
อันตรายจากไฟฟ้ามี 2 สาเหตุสำคัญด้วยกันคือ
ไฟฟ้าชอร์ต (Short Circuit)
มักเกิดจากหลายสาเหตุเช่น ฉนวนไฟฟ้าชำรุดเเละเสื่อมสภาพ , มีสิ่งก่อสร้าง หรือ ต้นไม ไปสัมผัสสายไฟฟ้าจนทำให้เกิดการเสียดสีเเละเกิดการลุกใหม้ , สายไฟหลุดพื้นหรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อาจทำให้ไม่ปลอดภัยกับผู้คนที่อยู่ไกล้เคียงบริเวณนั้นๆ
ไฟฟ้าดูด (Electric Short)
เช่น การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับ และการสัมผัสโดยอ้อม (Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด
การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
■ เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ได้รับรองจากการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
■ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดให้เป็นไปตามหลักและกฎความปลอดภัย โดยช่างผู้ชำนาญ
■ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฉนวนสายไฟ เต้าเสียบ เต้ารับ สวิตช์ เป็นต้น
■ บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยช่างผู้ชำนาญอย่างสม่ำเสมอ
■ ต่อสายกราวด์ของระบบไฟฟ้าดิน
■ ใช้ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าที่มีอัตราเสียงต่อการเกิดไฟรั่ว
■ ติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ
วิธีสังเกตอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
■ จุดต่อสายไฟฟ้า ต้องเเน่น ผิวหน้าหรือสายเคลือบพีวีซีจะต้องไม่ฉีกขาด
■ หากสายไฟฟ้าเก่าหรือหมดอายุ ฉนวนจะมีการแตกบวมหรือเเห้งกรอบ
■ แผงสวิตซ์ไฟฟ้า ต้องอยู่ในที่เเห้ง ไม่เปียกชื้น และห่างไกลจากสารเคมีหริชือสารไวไฟต่างๆ
■ ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน
■ สายไฟฟ้าต้องไม่อยู่ในตำเเหน่งที่มีความร้อน หรือถูกสิ่งของหนักกดทับอยู่
เครื่องมือวัดไฟฟ้าและข้อเเนะนำที่จำเป็นสำหรับการตรวจเช็คระบบไฟฟ้า
1. ตรวจเช็คไฟฟ้าว่าในสายหรืออุปกรณ์นั้นๆมีกระเเสและแรงดันไฟฟ้าหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือตรวจเช็คเช่น ปากกาวัดไฟ , มัลติมิเตอร์ , แคลมป์มิเตอร์
2. การต่อสายดินให้ต่อปลายทางด้าน “ดิน” ก่อนเสมอจากนั้นจึงต่อปลายอีกข้างเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยใช้เครื่องมือตรวจเช็คเช่น เครื่องวัดความต้านทานดิน
3. ตรวจเช็คฉนวนไฟฟ้าก่อนใช้งาน โดยใช้เครื่องมือตรวจเช็คเช่น เครื่องทดสอบความเป็นฉนวน
บริษัท เลกะ คอปอร์เรชั่น จำกัด เป็นตัวเเทนจำหน่ายสินค้าแบรนด์ HIOKI จาก JAPAN โดยตรง ราคาจึงถูกที่สุด!
การตรวจเช็คระบบไฟฟ้าจำเป็นจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ซึ่งการจับต้องอุปกรณ์ที่มีไฟฟ้า จะต้องทำโดยอาศัยเครื่องมือ-อุปกรณ์ และวิธีการที่ถูกต้อง โดยขณะทำงานต้องมั่นใจว่า ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือเครื่องมือที่ใช้อยู่สัมผัสกับส่วนอื่นของอุปกรณ์ที่มีกระแสไฟด้วยความพลั้งเผลอ และปฎิบัติตามหลักความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด