อันตรายของก๊าซมีเทน
อันตรายของก๊าซมีเทน
มีเทน เป็นก๊าซไวไฟที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เบากว่าอากาศ จะลอยตัวได้ง่าย สะสมในที่สูงๆและในพื้นที่ปิด สะสมได้ดีหากอากาศร้อนและมีความชื้นสูง การตรวจวัดความเข้มข้นในบรรยากาศค่อนข้างยากที่จะตรวจพบได้ หากไม่ใช้ เครื่องตรวจจับก๊าซ (Gas detector) อีกประการหนึ่ง มีเทนจะเบากว่าอากาศสักครึ่งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเจอช่องว่างที่ไหน จะพุ่งออกมาจากภาชนะที่ขังไว้ทันที ดังนั้นเวลาไปเปิดบ่อบำบัดน้ำเสีย แล้วยืนมองอยู่ข้างบนโดยไม่ลงไปข้างล่าง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย นอกจากนั้นก๊าซมีเทนสามารถแทนที่ก๊าซออกซิเจน และทำให้เกิดการระเบิดที่ความเข้มข้น 50,000 ส่วนในล้านส่วน หรือ มากกว่า 5 % ในบรรยากาศ ก็เพียงพอที่จะจุดระเบิดได้ แหล่งกำเนิดของก๊าซมีเทน คือ ข้าวที่หมักชื้น บ่อบำบัดน้ำเสีย จากการหมักของโดยแบคทีเรียแบบไร้อากาศ พื้นที่บำบัดขยะ เป็นต้น
ทางในการรับสัมผัสส่วนใหญ่ คือ ทางการหายใจ เช่น หายใจ เมื่อไปอยู่ในที่มีรอยรั่วหรือรอยแตกระหว่างข้อต่อท่อต่างๆ หรือหายใจเอามีเทนจากถังหมัก หรือบ่อระบายน้ำเสีย เป็นต้น เมื่อหายใจเข้าไปจะมีผลกระทบต่อสุขภาพแบบเฉียบพลัน หากหายใจเอาก๊าซออกซิเจนที่ต่ำกว่า 15 % ในบรรยากาศ อาจจะรู้สึกอ่อนเพลีย วิงเวียนและปวดศีรษะ ซึมเศร้า สับสน ชัก หมดสติ อาจมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ส่วนอาการเรื้อรัง เกิดขึ้นหายใจเอาก๊าซมีเทนเข้าสู่ร่างกายระยะเวลายาวนาน จะทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายไม่มาก คาดว่าเป็นสารไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่มีข้อมูลผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์
ประโยชน์ก๊าซมีเทน
ก๊าซมีเทน ถูกนำมาใช้อย่างมากสำหรับเป็นก๊าซหุงต้มเพื่อให้ความร้อนในการประกอบอาหาร และใช้เป็นก๊าซเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ต่างๆ
โดยสรุปมีเทนเป็นก๊าซไวไฟที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่มีอันตรายต่อมนุษย์มากทั้งจากการระเบิดและผลกระทบต่อสุขภาพ หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านี้และมีผู่เสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรหมั่นตรวจสอบสิ่งแวดล้อมโดยรอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา