การใช้งานเครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ (Dissdolved Oxygen Meter)
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ ออกซิเจนในน้ำ | Dissdolved Oxygen
◼ ประเภทของเครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ | Dissdolved Oxygen Meter
◼ ข้อมูลเพิ่มเติม
ออกซิเจนมีความสำคัญในการดำรุงชีวิตของ มนุษย์ สัตว์ และพืช หากปราศจากออกซิเจนสิ่งมีชีวิตจะตายในไม่กี่นาที ออกซิเจนพบได้ในอากาศ และน้ำซึ่งมีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ 20.9% และน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยของปลา และสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ควรมีค่าออกซิเจนละลายในน้ำ 9.5 – 12 mg/L ดังนั้นการเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง หรือเพาะพันธ์สัตว์น้ำ จึงควรมีเครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ (Dissdolved Oxygen Meter) ไว้ใช้ตรวจวัดเสมอ
ออกซิเจนในน้ำ | Dissdolved Oxygen
ปริมาณออกซิเจนในน้ำ มีหน่วยอัตราส่วนเปรียบเทียบคือ มิลลิกรัมต่อลิตร (1 mg/L = 1 ppm) ปกติออกซิเจนในน้ำมีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้
● การสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ ออกซิเจนในน้ำจะมีค่ามากที่สุดในช่วงเวลาบ่าย เนื่องจากแพลงก์ตอนและพืชน้ำจะสังเคราะห์แสงในเวลากลางวัน จากการสังเคราะห์แสงพืชจะดายออกซิเจนออกมา จึงทำให้เวลากลางวันในน้ำมีปริมาณออกซิเจนสูงขึ้น
*ค่าออกซินเจนในน้ำจะมีค่าต่ำสุดในช่วงเวลาก่อนรุ่งเช้า หรือก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น สังเกตุได้จากการที่ปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำในช่วงเวลากลางคืน หากแหล่งน้ำที่สัตว์น้ำอาศัยอยู่มีค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissdolved Oxygen) น้อยกว่า 3 mg/L สัตว์น้ำจะขาดออกซิเจน และตายในที่สุด
● ลมที่พัดผ่านผิวน้ำ ได้นำพาออกซิเจนในอากาศลงสู่น้ำ พบค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissdolved Oxygen)บริเวณผิวน้ำมากกว่าบริเวณใต้น้ำ (ระดับความลึกส่งผลกับระดับของออกซิเจนที่ละลายในน้ำนั้นเอง)
การเพิ่มค่าออกซิเจนในน้ำ (Dissdolved Oxygen) ที่นิยมกันในการทำการเพาะเลี้ยงสัตว์ หรือทำฟาร์มประมงคือการใช้ เครื่องเติมอากาศแบบกังหันตีน้ำ เพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ
ปริมาณออกซิเจนในน้ำที่เหมาะสมต่อการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำควรมีมากกว่า 5 mg/L เป็นอย่างน้อย (อายุของสัตว์น้ำในแต่ละช่วง ต้องการระดับค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ Dissdolved Oxygen แตกต่างกัน)
ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissdolved Oxygen) อยู่ที่ระหว่าง 2.5 to 4.9 mg/L ส่งผลให้การเจริญเติบโต และเจริญพันธุ์ของสัตว์น้ำมีอัตราลดลง
ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissdolved Oxygen) อยู่ที่ระหว่าง 0.1 to 2.4 mg/L สัตว์น้ำอาจไม่สามารถดำรงชีวิต เพื่อเป็นการป้องกันจึงควรมั่นตรวจวัดค่าออกซิเจนในน้ำเสมอ
ประเภทของเครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ | Dissdolved Oxygen Meter
เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ แบบปากกา | Pen Type
ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก พกพาได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งานวัดค่าออกซิเจนในน้ำ เช่น ตู้เลี้ยงปลาสวยงาม บ่อเลี้ยงปลาขนาดเล็ก โรงเรียนและวิทยาลัย เนื่องจากเซนเซอร์กับตัวเครื่องมักติดกัน ไม่เหมาะกับการวัดในบ่อที่ระดับน้ำลึก หรือ บ่อน้ำขนาดใหญ่
จุดเด่น คือใช้งานง่าย สามารถใช้งานได้ด้วยมือเดียว
เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ แบบพกพา | Portable Type
ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่กว่าแบบปากกา มีโพรบแยกจากตัวเครื่องสายโพรบออกแบบมาให้มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 4 เมตร เพื่อรองรับการวัดในบ่อที่มีระดับลึก เช่น บ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกุ้ง ตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบ อุตสาหกรรม พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรืองานที่ต้องการทราบค่าออกซิเจนในน้ำ เป็นต้น
จุดเด่น คือโพรบวัดค่าออกซิเจนสามารถย่อนลงในน้ำเหมาะกับการวัดค่าออกซิเจนที่ในน้ำ (Dissdolved Oxygen) ในบ่อน้ำลึก
“การวัดค่าออกซิเจนในน้ำต้องวัดในบ่อ หรือ แหล่งน้ำเท่านั้น ไม่แนะนำให้ตักน้ำตัวอย่างมาวัดค่า เพราะระดับความลึกส่งผลกับค่าการวัด”
Related Product(s)