รังสีแกมมา
รังสีแกมมา
เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นที่สุดในสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมีย่านความ ยาวคลื่นประมาณ 0.1nm ถึงน้อยกว่า 10-5 nm ในความเป็นจริงช่วงความยาวคลื่นของรังสีแกมมาส่วนหนึ่งคาบเกี่ยวกับรังสีเอกซ์ ดังนั้น ช่วงความยาวคลื่นที่คาบเกี่ยวกันจะจัดเป็นรังสีชนิดใดย่อมขึ้นกับแหล่งกำเนิดของรังสีดังกล่าว
รังสีแกมมาเป็นกัมมันตภาพรังสี (radioactivity) ที่เกิดจากสภาวะความไม่เสถียรภายในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุที่เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี (radioisotope elements) เบคเคอร์เรล (Antonine
Henri Becquerel, 1852-1908) เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ค้นพบกัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุยูเรเนียม ซึ่งมีรังสีทั้งที่เป็นอนุภาค (รังสีอแอลฟา, รังสีบีตา) และรังสีที่เหมือนกับรังสีเอกซ์ ซึ่งต่อมาเรียกรังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงนี้ว่า รังสีแกมมา (gamma rays)
ปัจจุบัน รังสีแกมมาที่ได้จากไอโซโทปกัมมันตรังสีนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในวงการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม ในทางการแพทย์ใช้รังสีแกมมาทำลายเซลล์มะเร็ง ใช้วินิจฉัยโรคในร่างกาย หรือติดตามการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ใช้สารไอโซโทปของธาตุไอโอดินศึกษาการทำงานของต่อมไทรอยด์ ในทางอุตสาหกรรมเกษตรใช้รังสีแกมมาอาบผลผลิตทางการเกษตร เช่นผลไม้ ให้ปราศจากแมลง และเก็บไว้ได้นาน ก่อนบรรจุส่งออกจำหน่าย ด้วยเหตุที่รังสีแกมมามีพลังงานสูงสามารถทะลุทะลวงวัสดุหนาๆได้จึงใช้รังสีชนิดนี้วิเคราะห์โครงสร้างภายในเช่นเดียวกันกับรังสีเอกซ์ แต่สะดวกกว่ารังสีเอกซ์ตรงที่เครื่องกำเนิดมีขนาดเล็กกว่าเคลื่อนย้ายได้สะดวก ไม่ต้องมีระบบระบายความร้อนเหมือนเครื่องฉายรังสีเอกซ์
วิทยาการทางดาราศาสตร์ใช้รังสีแกมมาวิเคราะห์ อวกาศ ดวงดาว และแกแลกซี เช่นเดียวกับการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ เพื่อดูว่าแหล่งใดในจักรวาลให้รังสีแกมมาออกมา กล้องโทรทัศน์ที่มีเครื่องตรวจจับรังสีแกมมาติดตั้งครั้งแรกกับดาวเทียม Explorer XI และต่อมาติดตั้งในดาวเทียม CGRO ทำให้การศึกษาโครงสร้างดาว และแกแลกซีได้รายละเอียดมากขึ้น เช่น ดูภาพของดวงอาทิตย์ หลุมดำ หรือดาวนิวตรอนได้ลึกขึ้นซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่น
รังสีแกมมาเป็นรังสีอันตราย การนำรังสีชนิดมาใช้งานต้องระมัดระวังเป็นอันมาก โดยเฉพาะการใช้รังสีแกมมาและการเก็บแหล่งกำเนิดรังสีชนิดนี้ต้องอยู่ในการควบคุมของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด วัสดุที่ใช้กั้นรังสีชนิดนี้เป็นแผ่นตะกั่วหนา หรือกำแพงคอนกรีต ส่วนจะเป็นวัสดุชนิดใดหรือหนาเท่าไรขึ้นกับการออกแบบเพื่อใช้งาน เช่น ถ้าใช้สำหรับวิเคราะห์ หรือเครื่องมือตรวจจับภาคสนามจะบรรจุไอโซโทปที่ให้รังสีแกมมาในกล่องบุด้วยตะกั่วหนาที่มีหน้าต่างปิดเปิดอย่างมิดชิด ส่วนในโรงงานฉายรังสีนิยมเก็บแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาที่ให้ความแรงรังสีสูงไว้ในห้องใต้ดินที่มีระบบป้องกันรังสีเป็นอย่างดี แล้วมีระบบกลไกอัตโนมัติผลักให้แหล่งกำเนิดรังสีดังกล่าวขึ้นมาในห้องฉายรังสีเมื่อต้องการใช้งาน
สามาวัดค่าได้จากเครื่องวัดรังสี สารกัมมันตรังสี Radiation Monitor รุ่น TM-91
ตอบสนองไว ตรวจจับความเข้มข้น รังสีเบตา (Beta) และรังสีแกมมา (Gamma)
ฟังก์ชั่นตั้ง Alarm พร้อมเสียงเตือน
Related Product(s)