การวัด RT60 ด้วยเครื่องวิเคราะห์เสียง NTi รุ่น XL2
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!
◼ Reverberation time RT60 คืออะไร
◼ ตารางเเสดงค่า RT60 ที่เหมาะสม ตามมาตรฐาน ISO 3382
◼ T20, T30 คืออะไร
◼ อุปกรณ์ในการวัดค่า RT60
◼ ทดสอบการวัด RT60 ด้วยเเหล่งกำเนิดอะไรได้บ้าง?
◼ ขั้นตอนการวัด RT60 ด้วย XL2
◼ การวิเคราะห์ผลทดลอง
◼ ตัวอย่าง รีพอร์ตการวัดค่า RT60
◼ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Reverberation time RT60 คืออะไร
Reverberation time คือ เวลาการสะท้อนกลับของเสียง หรือเวลาของเสียงก้องกลับไปกลับมา จนกว่าคลื่นเสียงจะเงียบ ภายในเสียงสะท้อนนั้นจะมีค่า RT60 อยู่ ซึ่ง RT60 ก็คือเวลาการสะท้อนกลับของเสียงที่คงเหลืออยู่ เมื่อต้นกำเนิดเสียงหยุดลงเเล้ว หรือ เวลาที่ลดระดับเสียงลง 60 dB
ตัวอย่างเช่น
วัดค่าจากเเหล่งกำเนิดเสียงได้ค่าสูงสุด ( Max ) อยู่ที่ 90 dB ฟังก์ชั่น RT60 จะวิเคราะห์เสียงลดลงอีก 60 dB จากเสียงสูงสุด ( Max ) ดังนั้นช่วงการวัดของฟังก์ชั่น RT60 ก็คือ 90-30 dB เเละวิเคราะห์เสียงเหล่านั้นด้วย T20,T30
รูปที่ 1 เเสดงค่า RT60
ตารางเเสดงค่า RT60 ที่เหมาะสม ตามมาตรฐาน ISO 3382
Location | Volume | Recommended RT60 |
สตูดิโอการบันทึกเสียง | <50 m3 | 0.3s |
ห้องเรียน | <200 m3 | 0.4-0.6s |
ออฟฟิต | <1,000 m3 | 0.5-1.1s |
หอประชุม | <5,000 m3 | 1.0-1.5s |
ฮอลจัดคอนเสิร์ต | <20,000 m3 | 1.4-2.0s |
ในโบสถ์ | – | 2-10s |
*ข้อมูลอ้างอิงจากเวปไซส์ NTi-audio http://www.nti-audio.com/en/functions/reverberation-time-rt60.aspx
T20, T30 คืออะไร
เมื่อต้นกำเนิดเสียงหยุดลง เสียงสะท้อนในฟังก์ชั่น RT60 จะลดลง เเต่เสียงรบกวนยังคงเท่าเดิม การที่จะวิเคราะห์เสียงสะท้อนลดลง 60 dB นั้นไม่สามารถทำได้ จึงจำเป็นต้องเเบ่งเสียงออกเป็นช่วงๆ เพื่อใช้หาค่า RT60
T20 จะเเบ่งช่วงเสียงออกเป็น 20dB 3 ส่วน เเต่จะวิเคราห์เสียงสะท้อนที่ 20 dB เเรก เเละนำผลที่ได้มาคูณด้วย 3 เพื่อให้การสะท้อนของเสียงลดลงเป็นค่า Linear
T30 จะเเบ่งช่วงเสียงออกเป็น 30dB 2ส่วนเเต่จะวิเคราห์เสียงสะท้อนที่ 30 dB เเรก เเละนำผลที่ได้มาคูณด้วย 2 เพื่อให้การสะท้อนของเสียงลดลงเป็นค่า Linear
รูปที่ 2 เเสดงค่า T20,T30
อุปกรณ์ในการวัดค่า RT60
หากผู้ใช้งานมีไมโครโฟน Class 2 ก็สามารถนำมาใช้กับเครื่องวัดเสียง Xl2 ได้ด้วย ซึ่ง เครื่องวัดเสียง Xl2 สามารถรองรับไมโครโฟนได้ ดังนี้ Class 1 ( ICE 61672 ) = M2230, M2211, M2215 Class 2 ( ICE 61672 ) = M4260
3 ซอฟต์เเวร์ Extended Acoustic Pack
Extended Acoustic Pack นอกจากจะใช้ฟังก์ชั่น RT60 ได้เเล้ว ยังสามารถใช้ฟังก์ชั่น RTA ( Real-time analyzer ) เเละ ฟังก์ชั่น FFT ( Fast Fourier Transform analyzer )ได้อีกด้วย หรือหากต้องการใช้ฟังก์ชั่นอื่นๆ เพิ่มเติมสามารถดูได้จากตาราง Standard-Optional Features ด้านล่าง
Standard-Optional Features
ทดสอบการวัด RT60 ด้วยเเหล่งกำเนิดอะไรได้บ้าง?
เเหล่งกำเนิดที่ 1 เช่น เสียงยิงปืน เสียงขณะลูกบอลลูนเเตก เสียงจากวัตถุกระทบกัน
เเหล่งกำเนิดที่ 2 เช่น เสียง Pink Noise ( เสียง Pink Noise จะมีในเเผ่น CD ของซอฟต์เเวร์ ซึ่งสามารถเปิดกับลำโพง เพื่อทำการทดสอบ RT60 )
การใช้เสียง Pink Noise จะต้องใช้กับลำโพงขนาดใหญ่ หากผู้ใช้งานไม่มีลำโพง เเนะนำให้ใช้เสียงจากเเหล่งกำเนิดที่ 1 เช่น เสียงยิงปืน เสียงขณะลูกบอลลูนเเตก เสียงจากวัตถุกระทบกัน
ขั้นตอนการวัด RT60 ด้วย XL2
Overview
รูปที่ 3 Overview
ขั้นตอนการวัด
1. เตรียมเครื่องวิเคราะห์เสียง โดย ติดตั้งไมโครโฟน เข้ากับตัวเครื่อง
2. ติดตั้งไมโครโฟนในระยะห่างจากเเหล่งกำเนิดเสียงอย่างน้อย 2 เมตร เเละในรัศมี 2 เมตรจะต้องไม่มีอะไรกัน เพื่อให้รับเสียง RT60 ได้อย่างสมบูรณ์
3. ตรวจสอบพื้นเสียง
ภายในฟังก์ชั่น RT60 สามารถเช็คสัญญาณรบกวนได้ โดยดูได้จาก Actual Real-time Spectrum (รูปที่ 4 หมายเลข 6 ) หากเสียงสัญญาณรบกวนมากเกินไป จะทำให้การประสิทธิภาพในการวัดเสียงสะท้อน RT60 ลดลง
รูปที่ 4 เเสดงผลในหน้า Run
4. ตั้งระดับ Level Maker
Level Maker เป็นการวัดสัญญาณรบกวนในห้องเงียบ ตั้งระดับโดย คลิ๊กปุ่ม Set ( รูปที่ 4 หมายเลข 1 ) จะเป็นการเซ็ต Level Maker โดยอัตโนมัติ หน้าจอจะเเสดงเป็นสีเทา (รูปที่ 4 หมายเลข 7 ) ซึ่งเส้นสีเทา คือค่าที่สูงกว่าเสียงในขญะนั้น 35 dB. เเละเสียง RT60 จะต้องสูงกว่า Level Maker
5. เริ่มบันทึก
ในการกดปุ่ม “Start” 1 ครั้ง เครื่องจะ standby เพื่อรอเสียง เมื่อมีเสียง RT60 เครื่องจะทำการวัดโดยอัตโมมัติ เเละเเสดงจำนวนครั้ง (รูปที่ 4 หมายเลข 5 ) ตามเสียง RT60 ที่วัดได้จนกว่าจะกดปุ่ม “Stop”
6. จำลองเสียง RT60
ยกตัวอย่างการจำลองเสียง RT60 ด้วยการเจาะลูกบอลลูน เมื่อเราเจาะลูกบอลลูนเเตก 1 ครั้ง XL2 จะทำการวัดเสียง 1 ข้อมูล (รูปที่ 5 หมายเลข 2 ) เเละเมื่อเราเจาะลูกบอลลูนเเตกอีก 1 ครั้ง เครื่องจะทำการวัดค่าอีก 1 ข้อมูล เเละทำผลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์
รูปที่ 5 เเสดงผลเสียงสะท้อนที่สมบูรณ์
เสียงที่เกิน Level Maker หน้าจอจะเเสดงเครื่องหมายถูก (รูปที่ 5 หมายเลข 1 ) นั่นคือเสียง ณ ความถี่นั้นๆ มีการสะท้อนที่สมบูรณ์
หลังจากเราทำการวัดค่าRT60 เรียบร้อยเเล้ว ก็จะได้ค่าตามความถี่ต่างๆ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ผลต่อไป
การวิเคราะห์ผลทดลอง
รูปที่ 6 เเสดงผลในหน้า Result
รูปที่ 7 เเสดงผลในหน้า Result
จากการทดลอง ในรูปที่ 6 เเละ 7 เป็นการวัดค่า RT60 จำนวน 5 ครั้งเเละผลที่ได้ในรูปที่ 6 คือ ค่า Uncertainty = 33.5% เเละ RT60(T20) = 1.06S ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของการวัดทั้ง 5 ครั้ง เเละผลการวัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วน Correlation 100% เเละ RT60(T20) = 1.11S ในรูปที่ 7 คือผลของการวัดครั้งที่ 1 (สามารถดูเลือกดูได้ทั้ง 5 ครั้ง ) ซึ่งผลการวัดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ข้อมูลที่ได้หลังจากการวัดค่า RT60 คือ Measurement Result selection , Uncertainty , Correlation Factor in %
– Measurement Result selection
เมื่อเราได้ค่า RT60 มาเเล้ว สามารถดูค่าความดังของเสียงในช่วงความถี่ต่างๆได้ รวมไปถึงการดูค่าล่าสุด เเละค่าเฉลี่ยของเสียงที่ทำการวัดไว้
– Uncertainty
คือ ค่าความไม่เเน่นอนของการวัด ซึ่งจะเเสดงอยู่ในหน้าผลการเฉลี่ย (รูปที่ 6 หมายเลข 17 ) ตัวอย่างเช่น การวัดค่าของเสียง 5 ครั้ง XL2 จะคำนวณหาค่าความไม่เเน่นอนของการวัด เราสามารถเลือกดูได้ในช่วงความถี่เสียงที่เราต้องการ โดยค่าความไม่เเน่นอนน้อยๆ ผลการการวัดจะดี ซึ่งถ้าความถี่เสียงต่ำ โดยปกติความไม่เเน่นอนของการวัดจะสูง
– Correlation Factor in %
คือ ความสัมพันธ์ของเสียงสะท้อนที่ลดระดับอย่าง Linear หลังจากต้นกำเนิดเสียงหยุดลงซึ่งค่า Correlation ที่สมบูรณ์จะอยูในช่วง 80-100 % ค่า Correlation Factor in % จะเเสดงอยู่ในหน้า Single Test Cycle Results
ตัวอย่าง รีพอร์ตการวัดค่า RT60
เมื่อ Save ค่า RT60 เรียบร้อยเเล้วสามารถนำตัวเครื่องมา Connect เข้ากับคอมพิวเตอร์ เเละสามารถดูรีพอร์ตได้เเบบอัตโนมัติผ่านโปรเเกรม Excel
Related Product(s)