บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เราคือผู้นำด้านเครื่องมือวัดทุกชนิด

การหาค่าแรงม้า (HP) และค่าทางไฟฟ้าของมอเตอร์

กำลังม้า แรงม้า หรือ horsepower (hp) นั้น ริเริ่มขึ้นครั้งแรกในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้ม้าเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนเครื่องจักร โดย “เจมส์ วัตต์””นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง กำลังม้า (horsepower, hp) คือ กำลังของม้า 1 ตัวหรืออัตราการทำงานของม้า 1 ตัว เช่น เครื่องยนต์ 10 hp สามารถทำงานเท่ากับม้า 10 ตัว 1 กำลังม้า คือ งาน 33,000 ฟุต-ปอนด์ต่อหนึ่งนาที (ft-lb/min) จากรูปจะเห็นการเปรียบเทียบกำลังม้าเป็นกำลังไฟฟ้า  ประมาณ               1 hp = 745.7 W  เพราะฉะนั้น      10 hp = 745.7 x 10…

Memory HiCorder คืออะไร และแตกต่างจาก Oscilloscope อย่างไร

Memory HiCorder คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดและแสดงผลกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณไฟฟ้าในรูปแบบดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประมวลผลข้อมูลและแสดงผลบนหน้าจอ และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์หรือจัดเก็บได้ในรูปแบบดิจิทัลเช่นกันกับ Digital Oscilloscope แต่มีคุณลักษณะพิเศษของเครื่อง Memory Hicorder คือความสามารถในการรับสัญญาณอินพุตจำนวนมากโดยไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณแบบแยกส่วน หรือกังวลเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นระหว่างสัญญาณ เครื่อง Memory Hicorder สามารถจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกไว้ใน SSD ในตัว, การ์ด CF หรือแฟลชไดรฟ์ USB โดยทั่วไป Input unit แต่ละ unit จะมีช่องอินพุต 2 ช่อง และอุปกรณ์สามารถรองรับอินพุตสูงถึง 1000 V DC (700 V AC) และยังสามารถเป็น unit ที่วัดความเครียดไดนามิก เทอร์โมคัปเปิล ลอจิก และอินพุตอื่นๆ โดยการสลับ Input unit ได้อีกด้วย การเชื่อมต่อเครื่องเข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เฟซ USB หรือ LAN ทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลและควบคุมเครื่องมือจากระยะไกลได้   แอปพลิเคชัน…

คู่มือการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV)อย่างปลอดภัย

Battery Electric Vehicle: BEV (รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่) คือรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ทำงานโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวและชาร์จจากแหล่งภายนอก ช่วงแรงดันไฟฟ้าที่ BEV ใช้งานนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การใช้แรงดันไฟฟ้าที่สูงอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน หากไม่มีการตรวจเช็ครถยนต์ไฟฟ้าของคุณให้ใช้งานได้อย่างปกติ เพราะฉะนั้นบทความนี้เราจะพูดถึงขั้นตอนการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย   การปิดระบบ HV (High Voltage) ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ก่อนดำเนินการทดสอบและวัดค่าไฟฟ้า ต้องปิดระบบ High Voltage ของรถโดยถอดปลั๊กหรือสวิตช์ออกจากระบบแบตเตอรี่ก่อนดำเนินการทดสอบหรือตรวจวัด เพื่อความปลอดภัย และอย่าลืมตรวจสอบ DTC (Digital Trouble Codes) เพื่อดูข้อผิดพลาดของเครื่องยนต์  * การถอดชิ้นส่วนไฟฟ้าแรงสูงเป็นงานที่เป็นอันตราย ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่กฎหมายกำหนดพร้อมการฝึกอบรมการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ สำหรับรายละเอียดโปรดปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย     การวัดอุณหภูมิของแบตเตอรี่ HV เพื่อความปลอดภัยในการวัดอุณหภูมิพื้นผิวของแบตเตอรี่ HV เราควรเลือกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส  ในการตรวจสอบนี้ให้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง  เครื่องมือที่ใช้: เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด FT3701 โดย FT3701 เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดที่มีเลเซอร์มาร์คเกอร์สองจุดที่วัดอุณหภูมิพื้นผิวโดยเฉลี่ยภายในวงกลมที่เกิดจากจุดสองจุด        …

การทดสอบ DC HiPot

เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดการใช้งาน Lithium-ion batteries เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ผู้ผลิต Lithium-ion batteries จึงต้องทดสอบความเป็นฉนวนของ Battery เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ฺBattery ผลิตออกมานั้นมีค่าความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน   การทดสอบ DC HiPot คือการปล่อยแรงดันไฟฟ้าสูงให้กับผลิตภัณฑ์ และตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วที่เกิดขึ้น แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบ HiPot นั้นอาจสูงกว่าแรงดันไฟฟ้าของผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบได้ถึง 10 เท่า(แล้วแต่มาตราฐาน) การปล่อยแรงดันไฟฟ้าจะถูกปล่อยระหว่างอินพุตหลักกับแชสซี (โครงของตัวเครื่องด้านนอก) ของผลิตภัณฑ์  แรงดันไฟฟ้าและเวลาในการทดสอบนั้นขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ และมาตราฐานของผลิตภัณฑ์นั้นๆเป็นตัวกำหนด   คุณภาพของแบตเตอรี่ที่ดีควรได้รับการทดสอบตามมาตรฐานสากล – HIOKI DC Hipot Tester ST5680 DC Hipot รุ่น ST5680 มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานสากล มีประสิทธิภาพตรงตามการทดสอบ DC Hipot และการทดสอบความต้านทานของฉนวนที่หลากหลายในการผลิตแบตเตอรี่คุณภาพสูง ปลอดภัยและเชื่อถือได้   ตรวจสอบประสิทธิภาพของฉนวนด้วยรูปคลื่นและค่าต่างๆ (ฟังก์ชันแสดงรูปคลื่น) ST5680 เป็นเครื่องทดสอบ DC Hipot…

ความต้านทานภายในแบตเตอรี่คือ

ความต้านทานภายใน (Internal Resistance of Battery) หรือ เรียกสั้นๆว่า IR เป็นหนึ่งในพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงความสามารถของแบตเตอรี่ในการรับกระแสไฟฟ้า เมื่อค่าความต้านทานภายในต่ำ แบตเตอรี่จะสามารถรับกระแสไฟได้มาก ในทางกลับกัน แบตเตอรี่ที่มีความต้านทานภายในสูงจะจ่ายกระแสไฟได้น้อยลง ภาพแสดงตัวอย่างวงจรภายในของแบตเตอรี่ แรงดันแบตเตอรี่ถูกกำหนดโดยความต้านทานภายในและกระแสไฟขาออก เช่น สมมติว่าเรามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่เท่ากับ E0 = 10 V ความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ RDC คือ 1 Ω และโหลด R คือ 9 Ω หากความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ RDC คือ 1 Ω และโหลด R คือ 9 Ω แสดงว่าแรงดันแบตเตอรี่คือ 9 V ตามหลักการแล้ว ความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ควรเป็นศูนย์ แต่ในความเป็นจริงแล้วแบตเตอรี่จะมีความต้านทานภายในอยู่เสมอ ความต้านทานภายในยิ่งสูง การสูญเสียพลังงานก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ “ความร้อน” จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสูญเสียพลังงาน และความร้อนนี้ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพด้วยเช่นกัน   การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิตแบตเตอรี่…

ทำไมค่าไฟฟ้าแพง

อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย คิดยังไง? บิลค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป การไฟฟ้าจะแบ่งใช้งานเป็นประเภทที่ 1 และจะมีการแยกย่อยออกไปอีกตามรายละเอียดการใช้งานและประเภทของมิเตอร์ดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1.1 อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน 15 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมงแรก) (หน่วยที่ 1 – 15) หน่วยละ  2.3488 บาท 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25) หน่วยละ 2.9882 บาท 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35) หน่วยละ 3.2405 บาท 65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100) หน่วยละ 3.6237 บาท 50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101…

คำนำหน้าหน่วยSI

ในมาตรฐานการวัดหน่วยต่างๆเราจะใช้คำนำหน้าหรือคำอุปสรรค (Prefix) เป็นการบอกถึงขนาดของหน่วยนั้นๆ ซึ่งตามาตรฐานการวัดแห่งชาติหรือ International System of Units (ระบบ SI) จะมีคำหน้าหน้าดังนี้   Factor Name Symbol 1,000,000,000,000,000,000,000,000 ยอตตะ yotta Y 1,000,000,000,000,000,000,000 เซตตะ zetta Z 1,000,000,000,000,000,000 เอกซะ exa E 1,000,000,000,000,000 เพตะ peta P 1,000,000,000,000 เทระ tera T 1,000,000,000 จิกะ giga G 1,000,000 เมกะ mega M 1,000 กิโล kilo k 100 เฮกโต hecto h 10 เดคา deca da…

การวัดลำดับเฟสไฟฟ้ากระแสสลับ

ระบบไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ระบบ  ระบบไฟฟ้า 1 เฟส ระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้าที่ 220-230 โวลท์ ที่ความถี่ 50 Hz โดยประกอบด้วยสายไฟ 2 สายคือ สายที่มีไฟ จะมีตัวอักษรที่เขียนกำกับอยู่เป็นตัว L (Line) และสายนิวทรอลหรือที่เรียกว่าสายศูนย์จะมีการเขียนกำกับไว้เป็นตัว N (Neutral)   หากไม่มีตัวอักษรกำกับอยู่บนสายไฟฟ้า และเราต้องการทราบว่าสายเส้นไหนเป็นสาย L (Line) และสายเส้นไหนเป็นสาย N (Neutral) เราสามารถใช้ ปากกาวัดไฟ Voltage Detector  ทดสอบได้ โดยหากนำปากกาวัดไฟไปแตะหากมีแสง LED และเสียงเตือน คือมีไฟฟ้าไหลผ่านคือสาย L นั่นเอง HIOKI 3481-20 เครื่องตรวจหากระแสไฟฟ้า (Voltage Detector) มีขนาดเล็ก พกพาง่าย ตรวจสอบไฟฟ้ากระเเสสลับ แบบไม่สัมผัสแรงดันไฟฟ้า ช่วงการวัด 40 V-…

HIOKI & IMV TU SEMINAR

บริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับเกียรติให้จัดสัมมนาฝึกอบรมสินค้าและผลิตภัณฑ์ของ FLIR, IMV และ HIOKI ซึ่งได้แก่ กล้องถ่ายภาพความร้อน, เครื่องวัดความสั่นสะเทือนและเครื่องวัดค่าไฟฟ้าต่างๆ ให้แก่คณะนิสิตและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไฟฟ้ากระแสตรง(DC) และกระแสสลับ(AC) แตกต่างกันอย่างไร?

การทำความรู้จักหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ ไฟฟ้ากระแสตรง(DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) นั้นเป็นเรื่องพื้นฐานเลยทีเดียวก็ว่าได้ เพราะเป็นหัวใจหลักในการเลือกซื้อเครื่องมือวัดไฟ หรือเลือกฟังก์ชั่นในการใช้งานเครื่องมือวัดไฟนั้นเอง.. ซึ่งอย่างที่เราทุกคนเข้าใจกันดีว่าในประเทศไทยของเรา อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างที่ทำออกมา รองรับ การใช้งานกับไฟบ้านหรือกับไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)  ซึ่งมีค่าแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 220 โวล์ ส่วนไฟฟ้าที่อยู่ในพวกแผงวงจร หรือไฟฟ้าที่มาจากถ่านไฟฉายนั้น เป็นไฟฟ้ากระแสตรง(DC) นั้นเอง