เครื่องวัดความสั่นสะเทือน

การสั่นสะเทือน คือการเคลื่อนที่ของมวลไปทุกทิศทางในตำแหน่งอยู่กับที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างเครื่องจักร ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่ติดตั้งและทำงานอยู่ในโรงงานทั่วไป ซึ่งหากมีอุปกรณ์ภายในเกิดการสึกหรอ จะส่งผลให้เครื่องจักรนั้นมีการสั่นสะเทือนที่มากกว่าปกติ ทำให้อาจจะเกิดการเสียหายที่รุนแรงต่อเครื่องจักรได้

การวัดความสั่นสะเทือนนั้นมี 2 ขั้นตอนก่อนการวัด คือวิธีการวัด (Determine the method) และ Class ของเครื่องจักร, มอเตอร์ (JIS/ISO)

ขั้นตอนที่ 1. วิธีการวัด (Determine the method) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วิธี

  • ⇛ Acceleration (mm/s2) ใช้วัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรที่มีความถี่ (Frequency) สูงกว่า 1,000Hz แต่โดยส่วนมากมักจะใช้วัดและวิเคราะห์ความสั่นสะเทือนและการชำรุดเสียหายของชิ้นส่วนภายใน
  • ⇛ Velocity (mm/s) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการวัดมากที่สุด โดยใช้ในการวัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร ที่มีความถี่ปานกลางระหว่าง 10 ถึง 1,000Hz ซึ่งใช้วิเคราะห์ความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรทั่วไป เช่น มอเตอร์, ปั้ม, พัดลม เป็นต้น
  • ⇛ Displacement (mm) ใช้วัดความสั่นสะเทือนที่มีความถี่ต่ำกว่า 10Hz นิยมวัดแบบ Peak to Peak

ขั้นตอนที่ 2. Class ของเครื่องจักร, มอเตอร์ (JIS/ ISO) ที่แบ่งออกเป็น 4 Class

ตามมาตรฐาน JIS B 0906 ใช้ค่าสั่นสะเทือนของ Velocity RMS ในการประเมิน

  • ⇛ Class 1 เครื่องจักรขนาดเล็ก มีกำลังต่ำกว่า 15kw
  • ⇛ Class 2 เครื่องจักรขนาดกลาง มีกำลังตั้งแต่ 15 ถึง 75kw หรือเครื่องจักรทีมีกำลังตั้งแต่ 75 ถึง 300kw ที่ติดตั้งบนฐานยืด
  • ⇛ Class 3 เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ติดตั้งบนฐาน
  • ⇛ Class 4 เครื่องจักรขนาดใหญ่และมีเทอร์โบ ติดตั้งบนฐาน
เครื่องวัดความสั่นสะเทือน
เครื่องวัดและบันทึกแรงกระแทก
อุปกรณ์เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน
หน้าจอแสดงผลค่าความสั่นสะเทือน

บทความเกี่ยวกับเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Measurement)

แนะนำและสาธิตการใช้งานเครื่องวัดความสั่นสะเทือน Vibration Meter CardVibro Air 2 รุ่น VM-2012 ให้กับโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์

LEGATOOL เราได้ออกไปสาธิตและแนะนำการใช้งานรวมไปถึงทดลองการใช้งานจริงของเครื่องวัดความสั่นสะเทือน Vibration Meter CardVibro Air 2 รุ่น VM-2012 ให้กับบริษัท เอ็นที เซอิมิทซุ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งฟอร์มูล่าเป็นผู้ผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทยได้มีความสนใจสินค้าในกลุ่มเครื่องวัดความสั่นสะเทือน แต่ต้องการให้แน่ใจว่าจะสามารถใช้งานได้จริงและเหมาะกับการใช้งาน

ความสําคัญของการศึกษาการสั่นสะเทือน

ความสําคัญของการศึกษาการสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือน (Vibration) หมายถึงการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของวัตถุเมื่อเทียบกับจุดอ้างอิงที่ อยู่นิ่ง โดยการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของวัตถุอาจจะเป็นการเคลื่อนที่โดยอิสระ หรือมีแรงบังคับตลอดเวลา ให้เคลื่อนที่ก็ได้ การสั่นสะเทือนสามารถพบได้ทั่วไปในชีวิตประจําวัน และในงานทางวิศวกรรมมากมาย ตัวอย่างการสั่นสะเทือนที่พบได้บ่อย เช่น การสั่นสะเทือนในรถยนต์

การทดสอบการสั่น

การทดสอบการสั่น การเคลื่อนที่ไปมาของวตัถุรอบจุดสมดุลในช่วงหนึ่ง ไม่ว่าการเคลื่อนที่น้นั จะเกิดขึ้นใน แบบซ้ำ ตัวเองหรือไม่ก็ตาม เราเรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การสั่น (Vibration) หรือการแกว่ง (Oscillation) เช่น การแกว่งไป–มาของชิงช้า หรือลูกตุ้มนาฬิกา การเคลื่อนที่ของลูกสูบใน เครื่องยนต์เป็นต้น การสั่นของวตัถุต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีทั้งที่ก่อให้เกิดประโยชน์และที่ทำ ให้เกิดโทษ ตัวอย่าง การเทสความสั่นสะเทือนของตัวรถจักรยานยนต์

การสั่นสะเทือนคืออะไร

การสั่นสะเทือนคือ การเคลื่อนที่ของมวลทุกทิศทุกทางในตำเเหน่งอยู่กับที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างเครื่องจักร ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่ติดตั้งทำงานอยู่ในโรงงานทั่วๆไป เช่น การหมุนของเพลาในบูช หรือแบริ่งกาบ จะหมุนที่จุดศูนย์กลางของบูช,แบริ่ง ถ้าเเบริ่งสึกหรอจะทำให้มีระยะห่างมาก การเคลื่อนที่ของเพลาในทุกทิศทางก็มากเช่นกัน ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน หรือ การเคลื่อนที่กลับของแบริ่งแท่นรองรับ โดยการสั่นสะเทือนสามารถ

รีวิวเครื่องวัดความสั่นสะเทือน รุ่น VB-8206SD ยี่ห้อ Lutron

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน รุ่น VB-8206SD ยี่ห้อ Lutron คุณสมบัติเด่นๆของเครื่องวัดความสั่นสะเทือน รุ่น VB-8206SD – เซ็นเซอร์แบบแม่เหล็ก Magnatic base – ครอบคลุมช่วงความถี่ 10 Hz ถึง 1 kHz มาตรฐาน ISO2954 – ฟังก์ชั่นการวัด Acceleration, Velocity, Displacement – บันทึกข้อมูลด้วย SD Card – รีพอร์ตในรูปแบบของไฟล์ Excel

การวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน Vibration ด้วยเครื่องวัดความสั่นสะเทือน

การวิเคราะห์ความสั่นสะเทือนเครื่องจักรด้วยเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (อ้างอิงตาม ISO 2372, CDI 2056 and ISO 2954) Step 1. เลือกวิธีการวัด Determine the method Acceleration (mm/s2) ใช้วัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรที่ความถี่ Frequency สูงกว่า 1,000 Hz แต่โดยส่วนมากมักจะใช้วัดและวิเคราะห์ความสั่นสะเทือนและการชำรุดเสียหายของลูกปืน (Bearing) Velocity (mm/s) นิยมใช้วัดมากที่สุด ใข้วัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรที่มีความถี่ปานกลาง (10 – 1,000 Hz) ใช้วิเคราะห์ความสั่วสะเทือนของเครื่องจักรโดยทั่วไป เช่น มอเตอร์ ปั้ม พัดลม